วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563

7 Degrees of Freedom of Growth [McKinsey]


ทางเลือก 7 ประการในการขยายธุรกิจ 
เรียงลำดับตามความซับซ้อน
ของปัญหาและอุปสรรค

          มีวิธีการมากมายที่องค์กรสามารถนำมาใช้เพื่อขยายกิจการของตนให้เติบโตก้าวหน้า แต่น่าเสียดายที่ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยกลับติดยึดอยู่กับวิธีเดิม ๆ ที่เคยใช้มาในอดีตและวนเวียนใช้แต่วิธีการดังกล่าว ความคุ้นชินกับอุปาทานเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งกีดขวางหรือจำกัดโอกาสที่ธุรกิจจะได้เติบโตมากขึ้นไปอีกอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น เพื่อเปิดมุมมองที่กว้างขวางขึ้น ผู้บริหารจึงควรพิจารณาหนทางอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และมีความเป็นไปได้เป็นการเพิ่มเติมด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563

7 C's of Effective Communication


คุณสมบัติ 7 ประการของ
การสื่อสารที่ประสบผลสำเร็จ

          7 C’s of Communication คือรายการตรวจสอบ (checklist) ที่ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารและเพิ่มโอกาสให้ผู้รับข้อมูลได้เข้าใจข้อมูลตรงตามความตั้งใจของผู้สื่อสาร เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ได้ทั้งกับการสื่อสารด้วยวาจา เช่น การประชุม, การทำ presentation, การอภิปรายความคิดเห็นกับทีมงาน และกับการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การเขียน email, การเขียนรายงาน แต่เพื่อให้มั่นใจว่าการสื่อสารนั้นมีคุณสมบัติที่จะสร้างผลสำเร็จตามความมุ่งหมายได้อย่างแท้จริง ควรนำหลัก 7 C’s of Communication มาตรวจสอบข้อมูลที่สื่อสารว่ามีองค์ประกอบครบถ้วนตามหลักการสื่อสารที่ดีหรือไม่

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

6-Step Problem Solving Model


รูปแบบการแก้ปัญหา 6 ขั้นตอน

          รูปแบบการแก้ปัญหาที่นำมาเขียนนี้ เน้นการแก้ปัญหาด้วยข้อมูลแทนการใช้อารมณ์ความรู้สึกที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แม้จะเป็นรูปแบบที่สามารถนำมาใช้กับปัญหาได้ทุกประเภท แต่เหมาะสมกับการสืบค้นและแก้ไขปัญหาในการทำงานมากกว่าปัญหาส่วนบุคคลเพราะเน้นการร่วมพิจารณาเป็นกลุ่ม เช่น ทีมงานหรือคณะกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันค้นหาสาเหตุซึ่งเป็นรากเหง้าแท้จริงของปัญหาและกำหนดทางออกหรือการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ไม่ใช่ทางออกที่ฉาบฉวยหรือแบบขอไปที รูปแบบการแก้ปัญหานี้มีขั้นตอนเพียง 6 ขั้น ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการจดจำ แต่มีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมเพียงพอในการสืบค้นปัญหาและการแก้ไข

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

6-Box Model [Weisbord]


การตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์กร
จากองค์ประกอบทางการบริหาร 6 ประการ

          คงเป็นเรื่องยากที่จะระบุลงไปให้ชัดเจนว่าองค์กรของเรามีความไม่เหมาะสมในเรื่องใด, ทำงานได้เต็มศักยภาพตามที่ออกแบบมาหรือไม่, และมีช่องว่างระหว่างสถานะที่เป็น กับที่ควรเป็น อยู่ในเรื่องใด ทั้งนี้เพราะความไม่เหมาะสมเหล่านั้นเป็นสภาพที่แฝงตัวอยู่ มองเห็นไม่ชัดในระดับพื้นผิว ต่อเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจึงค่อยได้รู้ว่าปัญหานั้นมีความบกพร่องอยู่ในส่วนใด และบ่อยครั้งที่ความบกพร่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่อยู่กับองค์กรมาโดยตลอด เพียงแต่เราไม่รู้มาก่อนเท่านั้นว่ามีความบกพร่องนั้นอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

6 Thinking Hats and 6 Action Shoes [Edward de Bono]


เทคนิคการคิดจากมุมมองของหมวก 6 ใบและรองเท้า 6 คู่
          Edward de Bono เป็นผู้พัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า 6 thinking hats และ 6 Action Shoes เพื่อเปลี่ยนวิธีมองปัญหาโดยใช้การตรวจสอบข้อมูลและความคิดเห็นจากสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม หรือในหลายๆ กลุ่ม ด้วยมุมมองที่หลากหลายในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้การตัดสินใจที่นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

6 Stages of Delegation

กระบวนการ 6 ขั้นตอน
ในการมอบหมายงานให้ประสบผลสำเร็จ

          เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น งานที่ทำก็จะเพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้น ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งหน้าที่ซึ่งเคยใช้ปฏิบัติกันมาเป็นอย่างดีจะเริ่มสับสน ขาดความชัดเจน นอกจากงานจะมีปริมาณมากขึ้นแล้ว งานในหลายลักษณะยังต้องการทักษะความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะมากขึ้นด้วย ดังนั้น หากผู้บริหารและผู้นำแต่ละคนยังคงกอดงานเหล่านั้นไว้กับตัว ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้ การมอบหมายงานจึงเป็นเทคนิคการบริหารรูปแบบหนึ่งที่นำมาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในลักษณะจากบนลงล่าง คือจากผู้บังคับบัญชามอบให้ลูกน้อง และในระดับแนวราบ คือหัวหน้าทีมงานมอบให้สมาชิกทีมงาน การมอบหมายงานเป็นกระบวนการบริหารที่ท้าทายความสามารถของผู้นำ จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จึงจะได้ผลงานที่มีคุณภาพและปริมาณตามที่มุ่งหวัง

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

6 Silent Killers of Strategy Implementation [Beer and Eisenstat]



อุปสรรค 6 ประการที่ทำให้กลยุทธ์ไม่ประสบความสำเร็จ [Beer and Eisenstat]

          ทุกองค์กรล้วนมีปัญหาในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและปัญหาในการพัฒนาการเรียนรู้ขององค์กรให้รับกับการเปลี่ยนแปลง Michael Beer และ Russel Eisenstat ศาสตราจารย์แห่ง Harvard Business School ได้ร่วมกันศึกษาปัญหาในการนำกลยุทธ์ขององค์กรในธุรกิจต่างๆ มากกว่า 200 ธุรกิจไปปฏิบัติ โดยวิเคราะห์แบบเจาะลึกใน 15 องค์กร เขาได้พบว่าองค์กรมีปัญหาอยู่ 6 ประการซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้องค์กรไม่สามารถนำกลยุทธ์ไปใช้ปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จและยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ขององค์กร เขากล่าวว่า ทุกคนในองค์กรล้วนตระหนักว่าปัญหาเหล่านี้มีอยู่จริง แต่ที่ไม่สามารถกำจัดมันออกไปได้เพราะปัญหาดังกล่าวได้ทำลายความไว้วางใจที่มีอยู่ต่อกัน ยิ่งปัญหาคงอยู่กับองค์กรนานเท่าไร ก็จะยิ่งฝังรากลึกและขยายอิทธิพลเป็นวัฏจักรความชั่วร้าย (vicious circle) ที่แก้ไขยากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ปัญหาดังกล่าวได้แก่

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

6 Sigma Principles



Six Sigma: แนวคิดและการนำไปปฏิบัติ

          Six Sigma คือแนวคิดและเทคนิคการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตและกระบวนการทำงาน (ต่อไปในบทความนี้ใช้คำว่ากระบวนการเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ) เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถลดงานที่บกพร่อง (defect), ความสูญเปล่า (waste), และความไม่แน่นอน (variation) ในกระบวนการได้จริง Dr. Mikel Harry ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของ Six Sigma ได้ร่วมกับ Bill Smith และทีมวิศวกรของบริษัท Motorolla พัฒนาแนวคิดนี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1986 จดลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1991 บริษัท Motorola ได้กำหนดให้ใช้ Six Sigma เป็นแนวทางการผลิตสินค้าของบริษัท ส่งผลให้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการต่างๆ ของบริษัทจนถึงปี 2005 ได้มากกว่า 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

6 Rules for Success [Schwarzenegger]


กฎ 6 ข้อแห่งความสำเร็จ

          เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก Arnold Schwarzenegger กันดี เขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จทั้งการเป็นแชมป์โลกกีฬาเพาะกาย ดาราฮอลลิวูด ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนในตลาดการเงิน เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านั้นคือ กฎ 6 ข้อแห่งความสำเร็จที่เขาสร้างขึ้นมาเองและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน แม้กฎที่ว่านี้จะมีบางส่วนขัดแย้งกับกฎทางสังคมอยู่บ้าง แต่ Arnold ยืนยันว่ากฎที่เขาสร้างขึ้นมาทั้ง 6 ข้อนี้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายได้จริง

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Problem Behaviors [Waldroop and Butler]


พฤติกรรม 6 ประการ
ที่เป็นปัญหากับทีมงาน

          คนเรา ถึงจะมีความรู้สามารถมากมายเพียงใด ก็อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่สร้างปัญหาให้กับคนอื่นได้โดยไม่ตั้งใจ เช่น จุกจิกในรายละเอียดต่างๆ มากเกินไป, กลัวคนอื่นทำไม่ได้อย่างใจจึงกวาดงานมาทำเองจนล้น, หรือต้องการให้งานมีความสำคัญจึงปั่นงานธรรมดาๆ ให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตโดยไม่จำเป็น พฤติกรรมดังกล่าวอาจมาจากความหวังดีของเจ้าของพฤติกรรมที่ต้องการให้งานสมบูรณ์ถูกต้องด้วยมาตรฐานสูงสุดโดยไม่ทันได้นึกถึงผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ผู้บริหารและผู้นำ (ต่อไปจะใช้คำว่าผู้นำอย่างเดียวเพื่อความกระชับของเนื้อหา) จะต้องสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเหล่านี้และเข้าจัดการแก้ไขทันทีก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาของทีมงานหรือขององค์กร

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Principles of Influence [Cialdini]


หลัก 6 ประการที่มีอิทธิพลให้รู้สึกคล้อยตาม

          Dr. Robert Cialdini เป็นนักจิตวิทยาที่พยายามทำความเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ เขาใช้เวลาเกือบสามปีในการทำวิจัยเชิงจิตวิทยาโครงการฝึกอบรมนักขายและนักการตลาดเพื่อให้รู้ว่าบุคคลในงานอาชีพดังกล่าวทำให้ผู้อื่นยอมรับข้อเสนอของพวกเขาได้อย่างไร ผลงานวิจัยถูกนำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Influence: The Psychology of Persuasion (1984) ซึ่งได้ใช้เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์จิตวิทยาสังคมที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจซื้อต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน Cialdini เชื่อว่า มีหลักทั่วไป 6 ประการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ได้แก่

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Emotional Leadership Styles [Goleman]


ภาวะผู้นำ 6 รูปแบบที่ส่งผลต่อ
อารมณ์ความรู้สึกของทีมงาน

          เชื่อว่าหลายท่านที่อ่านบทความนี้คงมีผู้นำที่ชื่นชมอยู่ในใจบ้างไม่มากก็น้อย ความรู้สึกชื่นชมที่ว่านี้ น่าจะไม่ใช่มาจากฐานะตำแหน่งของผู้นำ แต่มาจากการที่ผู้นำนั้นสามารถใช้ภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาส สร้างบรรยากาศความกระตือรือร้นให้ทีมงานอยากทะยานออกไปปฏิบัติภารกิจในความรับผิดชอบให้สำเร็จโดยเร็ว มีความสุขในการทำงาน ภูมิใจที่ได้แสดงความคิดเห็นและเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานซึ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในทางตรงข้าม ก็อาจมีผู้อ่านหลายท่านมีความรู้สึกด้านลบกับผู้นำซึ่งแม้จะมีการแสดงออกที่นุ่มนวลเปิดกว้าง แต่ทีมงานกลับเต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง หรือไม่พอใจผู้นำที่ชอบแต่สั่งๆ ในเวลาที่ควรรับฟังความคิดเห็นของทีมงาน หรือผู้นำที่ไม่ยอมตัดสินใจในเวลาที่ควรใช้ความเด็ดขาด

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Change Approaches [Kotter and Schlesinger]


6 แนวทางในการบริหาร
การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

          การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี คู่แข่งรายใหม่ กฎระเบียบทางราชการ ล้วนเป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่การจะปรับเปลี่ยนเช่นว่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ เพราะในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมจะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบอยู่บ้างไม่มากก็น้อย และเป็นธรรมดาอยู่เองที่บุคคลเหล่านี้จะออกมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรือต่อรองให้การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลกระทบเชิงลบต่อตนน้อยที่สุด

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Categories of Intervention [Heron]

 


การให้ความช่วยเหลือแนะนำ
ใน 6 รูปแบบ [Heron]

          ในการทำงาน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหน้าที่หรือธุรกิจอุตสาหกรรมประเภทใด ล้วนมีโอกาสได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือคำแนะนำจากคุณในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง การให้ความช่วยเหลือของคุณอาจจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของพวกเขาและยังมีผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การมีเทคนิคการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้รับ จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ทั้งต่อความสำเร็จของงานและการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal skill)

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563

5-Step Strategy Model [Lafley and Martin]


การสร้างกลยุทธ์ด้วยการตอบชุดคำถาม 5 ข้อ

          กลยุทธ์ธุรกิจแตกต่างจากการวางแผนธุรกิจโดยทั่วไปตรงที่ กลยุทธ์มุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ส่วนแผนธุรกิจมุ่งทำเป้าหมายของกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ความสำเร็จของธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจการผูกขาดที่มีอยู่เพียงรายเดียวในตลาดหรือเป็นธุรกิจที่มีสินค้าบริการที่ดีที่สุดในโลก สินค้าบริการที่พบเห็นได้ทั่วไปก็สามารถสร้างความสำเร็จในทางธุรกิจได้ ขอเพียงมีกลยุทธ์ที่สร้างความเป็นต่อ (edge) เหนือคู่แข่งและนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า จะพัฒนากลยุทธ์ที่ว่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

5S System


ระบบ 5ส เครื่องมือเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          5S หรือ 5ส คือระบบการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการทำพื้นที่ทำงานให้สะอาด ไม่รกไปด้วยข้าวของที่ไม่ได้ใช้ มีความปลอดภัย มีความเป็นระเบียบ เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีคุณภาพทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพื่อให้บุคคลทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่เสียเวลาไปกับการค้นหา, เคลื่อนไหวร่างกายในการหยิบจับสิ่งของเครื่องใช้ในการทำงาน, หรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ระบบ 5ส เหมาะกับการผลิตที่เน้นไม่ให้เกิดความสูญเปล่า (lean manufacturing) ควบคุมด้วยการมองเห็น (visual control) และเป็นพื้นฐานเริ่มแรกในการสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

5E Instructional Model



5 ลำดับขั้นการเรียนการสอน
ที่ควรนำมาใช้ปฏิบัติ

          รูปแบบการสอนแบบ 5E เป็นกลยุทธ์การสอนที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างทั้งความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และปูทางให้กับการพัฒนาทักษะโดยใช้การตั้งคำถาม (inquiry) เป็นพื้นฐานในการให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้หรือฝึกฝน มาทดลองปฏิบัติหรือแสวงหาคำตอบ เกิดเป็นการเรียนรู้จากความเข้าใจที่ผู้เรียนค่อยๆ สร้างสมขึ้นมา โดยผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยแนะนำแก้ไขและเสริมต่อในส่วนที่จำเป็น ต่างจากการสอนแบบเดิมที่ใช้การป้อนความรู้จากผู้สอนเป็นหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

5 Whys



การค้นหาสาเหตุปัญหาด้วยการตั้งคำถาม "ทำไม" 5 ครั้ง

          ปัญหาที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่ามี อาจเกิดขึ้นกับบุคคล ทีมงาน หรือกระบวนการทำงานได้ทุกเมื่อ บ่อยครั้งที่สิ่งซึ่งเราคิดว่าเป็นตัวปัญหา กลับเป็นเพียงอาการภายนอกที่คลุมปัญหาที่แท้จริงไว้ภายในเปรียบเหมือนการไอซึ่งไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นเพียงอาการของไข้หรือหลอดลมอักเสบ การแก้ปัญหาตามอาการที่เกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและสะดวก แต่หากการแก้ไขนั้นไม่ได้แก้ที่สาเหตุ ปัญหานั้นก็อาจจะหวนกลับมาเกิดซ้ำได้อีก

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

5 Stages of Grief [Ross and Kessler]


5 ลำดับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
ต่อความสูญเสียในชีวิต

          Elisabeth Kubler-Ross นักจิตวิทยาชาวสวิส-อเมริกัน และ David Kessler ได้นำเสนอแนวคิดที่ว่า ผู้ป่วยหนักที่ใกล้จะเสียชีวิต และผู้ที่สูญเสียบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก จะมีสภาระอารมณ์ที่สับสนและเปลี่ยนแปลงไปเป็นห้าลำดับ เริ่มตั้งแต่การปฏิเสธไม่ยอมรับกับเรื่องที่เกิดขึ้น, ความโกรธเพื่อระบายความอัดอั้น, การต่อรองเพื่อแลกกับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น, ความสิ้นหวัง ท้อแท้, และการยอมรับความเป็นจริงของชีวิต แม้สภาวะทางอารมณ์ทั้งห้านี้จะอ่านพบได้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นทฤษฎี ในทางจิตวิทยามองแนวคิดนี้ว่าอาจมีคุณค่าอยู่บ้างในอดีต แต่ค่อนข้างจะล้าสมัยสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Stages of Decline [Jim Collins]


องค์กรตกต่ำได้ในห้าระยะ

          การศึกษาว่าองค์กรจะล้มได้อย่างไร อาจไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้บริหารที่มุ่งแต่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่ แต่สำหรับ Jim Collins เขามองว่า การรู้ว่าองค์กรกำลังอยู่ในระยะการเสื่อมถอยหรือตกต่ำหรือไม่ หากใช่ จะฟื้นคืนกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่หรือความแข็งแกร่งเช่นเดิมได้อย่างไร มิสิ่งใดที่ควรทำและไม่ควรทำ เป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เขาจึงได้เขียนแนวคิดเรื่อง องค์กรตกต่ำได้ในห้าระยะ ไว้ในหนังสือชื่อ How the Mighty Fall ด้วยความเชื่อว่า องค์กรทุกองค์กรมีโอกาสตกต่ำลงได้ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่เพียงใด การตกต่ำจะเกิดขึ้นเป็นห้าระยะจากภายใน ความตกต่ำขององค์กรในความหมายของ Collins ไม่ได้ดูที่ผลประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ดูที่ความเสื่อมถอยในพลังขององค์กรด้วย โดยในสามระยะแรก องค์กรอาจจะยังมีผลประกอบการที่น่าพอใจ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพ้นจากระยะที่สาม ความตกต่ำขององค์กรจึงสะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Stages of Corporate Ethical Development [Reidenbach and Robin]


การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมองค์กร

ใน 5 ขั้นตอน

          เชื่อว่าผู้อ่านคงได้เคยทราบข่าวธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเด็กในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและให้สินค้าของตนมีความได้เปรียบเรื่องราคาในตลาด บางธุรกิจอาจไม่ถึงขั้นจ้างแรงงานเด็กด้วยตนเอง แต่ซื้อสินค้าจาก supplier ทั้งๆ ที่รู้ว่า supplier นั้นใช้แรงงานเด็กด้วยเหตุผลเพียงว่า ราคาถูก หรือคิดเข้าข้างตนเองว่า ที่ไหนๆ ก็ทำเหมือนกัน ที่น่าเป็นห่วงก็คือ มีหลายธุรกิจที่คิดและปฏิบัติเช่นนี้ พวกเขาให้ความสำคัญกับผลกำไรมากกว่าคุณค่าในความเป็นมนุษย์ และเห็นความก้าวหน้าทางธุรกิจมีค่าสูงกว่าคุณค่าด้านจริยธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Product Levels [Philip Kotler]

 


คุณค่า 5 ระดับที่มีอยู่ในตัวสินค้า [Kotler]
          
          Philip Kotler ได้เขียนแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่า 5 ระดับที่มีอยู่ในตัวสินค้า ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Marketing Management ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1967 โดยเขาได้แบ่งคุณค่าที่ลูกค้ามีให้กับสินค้าออกเป็น 5 ระดับ เหมือนชั้นของโลก คือมีแกนกลางเป็นชั้นในสุด และไล่ระดับออกมาจนถึงเปลือกโลกเป็นชั้นนอกสุด Kotler มีความเห็นว่า ลูกค้าให้คุณค่าน้อยที่สุดที่ตัวสินค้าเองซึ่งเป็นระดับในสุดหรือระดับแกนกลาง และจะให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้นตามลำดับไล่ออกมาจนถึงชั้นนอกสุด เป็นคุณค่าทางจิตวิทยาที่พอกพูน (wrap around) เพิ่มบวกเข้าไปในตัวสินค้า เช่น การบรรจุหีบห่อ การจัดส่ง การสนับสนุน การให้บริการ และคำแนะนำ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงควรทำความเข้าใจในคุณค่าของสินค้าบริการแต่ละชั้น และกำหนดกลยุทธ์ว่าจะเน้นการสร้างความแตกต่างของคุณค่าสินค้าในชั้นใดจึงจะต่าง (differentiated) ไปจากสินค้าบริการรายอื่นและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้า

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 P’s of Strategy Model [Mintzberg]

 

การพัฒนากลยุทธ์ตามหลัก 5 P

          ในการกำหนดกลยุทธ์ เรามักใช้วิธีระดมความคิดเพื่อค้นหาโอกาสและนำมาวางแผนว่าจะได้รับประโยชน์จากโอกาสนั้นได้อย่างไร กลยุทธ์มีความมุ่งหมายไปที่ความสำเร็จในอนาคต ใช้เวลาและคุณสมบัติหลายด้านขององค์กรในการนำไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าการแข่งขันจะเป็นปัจจัยที่สำคัญทางธุรกิจ แต่การพัฒนากลยุทธ์โดยมุ่งความสำคัญไปแต่เรื่องการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ผู้พัฒนากลยุทธ์จำเป็นต้องนำวัฒนธรรม ความสามารถ และการพัฒนาทั้งหลายที่มีอยู่ในองค์กรมาร่วมในการพิจารณาด้วย กลยุทธ์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีความอ่อนไหว กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลในวันนี้ อาจใช้อะไรไม่ได้เลยเมื่อเวลาผ่านไป ความสำเร็จของกลยุทธ์ นอกจากจะขึ้นกับการวางแผนและการปฏิบัติแล้ว ยังขึ้นอยู่กับตลาดและการเปลี่ยนแปลงซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม ธุรกิจที่ต้องการความสำเร็จจึงต้องหมั่นปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้รับกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Levels of Leadership [John C. Maxwell]

 

การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ
          
          เราพบเห็นผู้นำได้ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจ โคชกีฬา หรือแม้แต่ครูสอนหนังสือในห้องเรียน ก็ล้วนเป็นผู้นำในความหมายของการนำพาผู้ตามให้บรรลุเป้าหมายทั้งของตนเอง ทีมงาน และองค์กรที่ตนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ความเป็นผู้นำจึงเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้า (growth) ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม, ผลิตภาพที่ผู้นำและผู้ตามร่วมกันสร้างขึ้นมา รวมถึงการพัฒนาผู้ตามให้มีความเป็นผู้นำ

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Key Team Performance Factors

            


ปัจจัย 5 ประการเพื่อความสำเร็จของทีมงาน

          การพัฒนาผลการปฏิบัติงานของทีมงาน ทำได้สองแนวทาง

     1.  สร้างพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับทีมงาน
          
เป็นการนำงานเขียนที่มีชื่อเสียงของ Patrick Lencioni ในหนังสือ The Five Dysfunctions of a Team ซึ่งกล่าวถึงพฤติกรรม 5 ประการที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับทีมงาน มาพิจารณาในมุมกลับ ทำให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรสร้างให้มีขึ้นกับสมาชิกทีมงาน

     2.  การแก้ไขปัญหาทางการบริหารที่ส่งผลกระทบต่อทีมงาน
          
เป็นการประมวลความบกพร่องหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของทีมงานอันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการบริหารของผู้บริหารหรือหัวหน้าทีม และนำเสนอหนทางแก้ไข

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Functions of Management [Fayol]



หน้าที่ 5 ประการทางการบริหาร 

          Henri Fayol วิศวกรและผู้บริหารอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับการยอมรับให้เป็นบิดาการบริหารงานสมัยใหม่ และบิดาสำนักการบริหารเชิงระบบ ได้นำเสนอทฤษฎีการบริหารธุรกิจที่เรียกว่า Fayolism เพื่อให้ความรู้ด้านการบริหาร เขาเห็นว่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมได้พัฒนาและมีความความซับซ้อนมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องมีการบริหารที่เป็นมืออาชีพมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้เขียน หลักการบริหาร 14 ประการ (14 Principles of Management) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1916 และจากประสบการณ์ความสำเร็จในฐานะผู้บริหารกิจกรรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ขนาดใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส เขาได้แจกแจงกิจกรรมในธุรกิจอุตสาหกรรมออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมด้านเทคนิค, การค้า, การเงิน, ความปลอดภัย, บัญชี, และการบริหาร

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Forces [Porter]


ปัจจัย 5 ประการที่สร้างพลังการแข่งขัน
ในธุรกิจอุตสาหกรรม

          ศาสตราจารย์ Michael E. Porter แห่ง Harvard Business School ได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า Five Forces และนำเผยแพร่ในวาiสาร Harvard Business Review เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1979 และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Competitive Strategy, Techniques for Analyzing Industries and Competitors ในปี 1980 เพื่อใช้เป็นกรอบประเมินสภาพความรุนแรง (intensity) ของการแข่งขันรวมทั้งโอกาสการเข้ามีส่วนร่วมทำกำไร (attractiveness) ในอุตสาหกรรม ตามแนวคิดนี้ จะมีปัจจัย 5 ตัวเป็นตัวกำหนดสภาพการแข่งขัน และอธิบายที่มาอันเป็นสาเหตุให้เกิดการแข่งขันของแต่ละปัจจัย Porter มุ่งหมายให้องค์กรนำเครื่องมือนี้ไปใช้ทำความเข้าใจสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมและนำสภาพการณ์ดังกล่าวมาประเมินเปรียบเทียบกับความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เข้าทำนองรู้เขารู้เราว่าสมควรที่ธุรกิจจะเข้าไปร่วมเป็นคู่แข่งรายใหม่ในอุตสาหกรรมนั้นหรือไม่ หรือหากทำธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นอยู่แล้ว ควรมีกลยุทธ์อย่างไร จะต้องเพิ่มความแข็งแกร่งของตนในเรื่องใดจึงจะสามารถสร้างความสามารถในการทำกำไรหรืออยู่รอดต่อไปในอุตสาหกรรมนั้นได้

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Dysfunctions of a Team [Lencioni]


            

พฤติกรรม 5 ประการ
ที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับทีมงาน

          มีคำกล่าวว่า เมื่อใดที่จัดทีมขึ้นทำภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงจะกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนเพียงใด ก็มักจะมีปัญหาการต่อล้อต่อเถียงระหว่างเพื่อนร่วมทีม ทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือไม่ไว้วางใจกัน บ่อยครั้งรุนแรงถึงขั้นทีมแตก คำกล่าวนี้ฟังดูเหมือนเป็นการการมองโลกในแง่ร้าย แต่ในทางปฏิบัติ มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ สาเหตุเพราะ สมาชิกแต่ละคนล้วนมีเป้าหมาย ความใฝ่ฝัน และทักษะ ที่แตกต่างกันออกไป แม้ว่าความหลากหลายจะเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกัน แต่มันก็อาจเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดได้เช่นกัน

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Disciplines of Learning Organizations [Senge]

     

วินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้

          Peter Senge เขียนหนังสือชื่อ “The Fifth Discipline” ในปี ค.ศ. 1990 และ “The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organization” ในปี ค.ศ. 1994 โดยสรุปรวมผลงานวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า องค์กรต่างๆ สร้างความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมบางองค์กรจึงสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ได้ดีกว่าองค์กรอื่น Senge ประมวลแนวปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นมาเป็นวินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ พร้อมให้นิยาม องค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) ว่าหมายถึง องค์กรซึ่งบุคคลสามารถขยายศักยภาพในการสร้างสรรค์สิ่งที่มุ่งหวังได้อย่างต่อเนื่อง เป็นองค์กรที่สนับสนุนความคิดใหม่ๆ ให้เติบโตงอกงาม ปลดปล่อยความใฝ่ฝันให้เป็นอิสระ และให้บุคคลทุกระดับในองค์กรได้รู้ว่าจะเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Canons of Rhetoric




หลัก 5 ประการในการจัดทำสุนทรพจน์

          Cicero (106 B.C. - 43 B.C.) นักสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ชาวโรมัน ได้เขียนหลัก 5 ประการในการจัดทำสุนทรพจน์ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ De Inventione เมื่อประมาณ 50 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปีที่ 95 ของคริสต์ศักราช นักสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ชาวโรมันอีกผู้หนึ่ง คือ Quintilian (35 B.C. - 24 A.D.) ได้ขยายหลักสุนทรพจน์ของ Cicero ให้ลงลึกในรายละเอียดและเขียนเป็นหนังสือรวม 12 เล่มชื่อ Institutio Oratoria หนังสือชุดนี้ได้ใช้เป็นตำราหลักในการศึกษาการจัดเตรียมและการกล่าวสุนทรพจน์สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Basic Project Management Tips




คำแนะนำพื้นฐาน 5 ประการ
ในการบริหารงานโครงการ

          การบริหารงานโครงการ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายโครงการโดยใช้การวางแผน การจัดโครงสร้างการทำงาน การจูงใจ และการควบคุม บูรณาการทรัพยากรต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงาน กระบวนการบริหารโครงการประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม โดยมีคำแนะนำพื้นฐานในแต่ละกิจกรรม ดังนี้

4-Step Innovation Process [Weiss and Legrand]


กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอน

          สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมองนวัตกรรมว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้ประโยชน์ได้ไม่ทันคุ้มค่าใช้จ่าย ก็ตกยุค สู้คอยลอกเลียนคนอื่นแบบตามน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ได้ หรือบางคนก็คิดว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น หากมีพนักงานคนหนึ่งในบริษัทเกิดความคิดบรรเจิดบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เมื่อบริษัทนำไปใช้ เกิดเป็นที่ชอบใจของลูกค้า ก็เหมาเอาว่า นั่นเป็นผลสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4S Web Marketing Mix (WMM)


การพัฒนา website 
ด้วยส่วนผสมการตลาดแบบ 4S

          รูปแบบการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนับตั้งแต่ได้นำ internet เข้ามาใช้ในโลกธุรกิจ การค้าบนโลก online มีปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับการค้าแบบดั้งเดิม ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดขึ้นมาเรื่องหนึ่งคือ เข้าใจว่า เพียงแค่นำสินค้าและบริการขึ้นสู่ internet แล้ว กิจการของตนจะพบแต่ความสำเร็จ

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4P's and 4C's Marketing Model

            

ส่วนผสมการตลาด 4P's และ 4C's

          ส่วนผสมทางการตลาด (marketing mix) หรือรูปแบบการทำการตลาด (marketing model) เป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยทางการตลาดที่ส่งเสริมการขายสินค้าบริการให้แก่ลูกค้า แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องส่วนผสมทางการตลาด คือ 4P’s Marketing Model และในระยะต่อมา ได้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า 4C’s Marketing Model มีข้อติติงมากมายว่า 4P’s model ว่ามีข้อบกพร่องในเรื่องความครบถ้วนของมุมมองจนผู้ประกอบการบางรายหันมาใช้แต่ 4C's เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ในทางปฏิบัติ ควรนำทั้งสอง model มาพิจารณาร่วมกันในการวางกลยุทธ์และแผนการตลาด

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4MAT Learning Cycle Model [Bernice McCarthy]


วงจรการเรียนรู้แบบ 4MAT

          4MAT learning model เป็น model สร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจและเป็นแนวทางใหม่สำหรับการเรียนรู้ ในการสอนแบบเดิมๆ ผู้สอนอาจมุ่งเน้นไปที่การป้อนข้อเท็จจริงและข้อมูลเป็นหลักเพื่อตอบคำถามว่า อะไร (what) แต่ 4MAT model จะเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยคำถามว่าทำไม (why) เพื่อผู้สอนจะได้สามารถขยายความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น โดยผู้สอนจะเริ่มด้วยการเชื่อมต่อ (connect) ผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ดึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขึ้นมา สร้างการเชื่อมโยงส่วนบุคคลให้เกิดเป็นแรงจูงใจและความรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่เรียน

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4-Level of Training Evaluation Model [Kirkpatrick]


การประเมินผลการฝึกอบรม 4 ลำดับ
ของ Kirkpatrick 

          ผู้จัดการฝึกอบรม ย่อมต้องการรู้ว่าผู้รับการฝึกอบรมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้กลับไปใช้ในงานหรือไม่ และการนำความรู้ทักษะนั้นไปใช้ในการทำงานส่งผลต่อฐานะทางธุรกิจหรือบทบาทหน้าที่ที่องค์กรมีต่อสังคมหรือไม่เพียงใด การประเมินผลการฝึกอบรมของ Kirkpatrick หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Kirkpatrick Model สามารถให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และจะสามารถปรับปรุงการเรียนรู้ของพวกเขาต่อไปในอนาคตได้มากน้อยเพียงใดอีกด้วย Kirkpatrick Model เป็น model วิเคราะห์และประเมินผลโครงการฝึกอบรมที่รู้จักกันมากที่สุด โดยมีหัวข้อการพิจารณาที่ไล่เรียงกันไป 4 ลำดับ คือ Reaction, Learning, Behavior และ Result

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4-Frame Model [Bolman and Deal]


การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในองค์กร
จาก 4 มุมมอง 

          องค์กรเป็นองคาพยพที่ซับซ้อน เต็มไปด้วยบุคลากร แรงจูงใจ สมรรถนะ ข้อจำกัด ฯลฯ การมององค์กรในภาพรวม อาจทำให้ข้ามรายละเอียดที่สำคัญซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา Lee Bolman และ Terry Deal จึงได้เสนอแนวคิดเรื่อง Four-Frame Model ซึ่งแนะนำผู้บริหารให้ทำความเข้าใจองค์กรจากมุมมอง (หรือกรอบความคิด) ที่แตกต่างกัน 4 ด้าน วิธีนี้จะช่วยให้ผู้บริหารได้แง่คิดที่แตกต่างกันหลายๆ แบบในการจัดการกับปัญหา

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Types of Stress [Karl Albrecht]



ความเครียด 4 ประเภท

          ทุกคนล้วนเคยมีความทุกข์จากความเครียดมาบ้างไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปตามลักษณะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ความเข้าใจความเครียด นับเป็นก้าวแรกที่จะเอาชนะมัน Dr. Karl Albrecht ที่ปรึกษาด้านการบริหาร ผู้บุกเบิกการฝึกอบรมเรื่องวิธีการลดความเครียดแก่นักธุรกิจ ได้อธิบายสถานการณ์ที่สร้างความเครียดให้กับบุคคลไว้ในหนังสือ Stress and the Manager (1979) โดยได้แบ่งความเครียดในการทำงานออกเป็น 4 ประเภท และแนะนำวิธีการกำจัดความเครียดแต่ละประเภท งานเขียนของเขาช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาเหตุของความเครียดแต่ละประเภทและวิธีจัดการกับมัน ส่งผลให้สามารถทำงานที่ให้ผลงานที่ดีขึ้น สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Responses to Good News [Gable]


วิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับ
ใน 4 รูปแบบ [Gable]

          ข่าวดีเกิดขึ้นทุกวัน และเมื่อเล่าออกไปแล้วได้รับคำชื่นชมหรือร่วมยินดีด้วย ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปอีก จากผลการวิจัยพบว่า เราจะรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสนองตอบของผู้ฟังต่อข่าวดีนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ฟังมักยินดีไปกับเรา แต่ก็มีไม่น้อยที่มีท่าทีไม่ยินดียินร้าย หรือบางครั้งถึงกับแสดงท่าทีตอบกลับที่ทำให้เราต้องเสียใจ

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 P's of Persuasion



หลัก 4 ประการในการเขียน
เอกสารประเภทชักชวน

          หลัก 4 ประการในการเขียนนี้ เน้นไปที่การเขียนเอกสารประเภทชักจูงโน้มน้าว เช่น บทโฆษณา หรือเอกสารเชิญชวนต่างๆ การเขียนงานให้มีพลังในการโน้มน้าวจิตใจของผู้อ่าน จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระที่เขียน เกิดอารมณ์คล้อยตามจนลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการ เช่น ถ้าเป็นบทโฆษณา ก็คือการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่โฆษณา

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Phases for Learning New Skills


การพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ใน 4 ขั้น

          การพัฒนาตนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน ต้องผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ในสี่ขั้นตอน เป็นเรื่องที่ลำบากเหนื่อยยากสำหรับทุกคน สิ่งที่ผู้เรียนรู้จำเป็นต้องมี คือ ความอดทน และความสม่ำเสมอในการเรียนรู้ 

4 Factors Theory of Leadership [Bowers and Seashore]


ทฤษฎี 4 ปัจจัยเพื่อการเป็นผู้นำ

          การศึกษาภาวะผู้นำในยุคแรก เริ่มด้วยการสังเกตบุคลิกลักษณะ (trait) ของบุคคลสำคัญหรือของผู้นำ และนำมาจัดทำเป็นรายการว่าผู้มีคุณสมบัติเช่นนี้จึงเรียกว่าผู้นำ หรือถ้าประสงค์จะเป็นผู้นำต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยที่ทำในระยะต่อมา ไม่พบความเชื่อมโยงที่เด่นชัดระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับความเป็นผู้นำแต่อย่างใด การวิจัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษา จากการศึกษาบุคลิกลักษณะของผู้นำ มาเป็นศึกษาพฤติกรรมของผู้นำว่าต้องทำอย่างไรจึงสามารถสร้างความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานให้แก่ทีมงาน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Dimensions of Relational Work [Butler and Waldroop]


ทักษะ 4 ประเภทในงานที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น

          ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal savvy) เข้าใจปัญหาของผู้ร่วมงานและสามารถเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งที่สมาชิกในทีมมีต่อกัน เป็นคุณสมบัติที่เรามักพบเห็นได้ในตัวผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และผู้จัดการฝ่ายขาย แต่ที่จริงแล้ว คุณสมบัติเช่นว่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเกือบจะทุกเรื่องทางธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะแต่กับงานด้านทรัพยากรมนุษย์หรืองานขายเท่านั้น จากผลงานวิจัยตลอดระยะเวลา 18 ปีของ Thimothy Butler และ James Waldroop เพื่อหาคำตอบว่า นักธุรกิจได้พัฒนาตนเองขึ้นมาจนประสบความสำเร็จในงานอาชีพได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า บุคคลเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้มากเมื่อได้ทำงานที่เขาให้ความสนใจอย่างจริงจัง ผลการศึกษานี้ได้ถูกนำมาปรับใช้ในการเพิ่มผลผลิตและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยก่อนจะมอบหมายงานหรือก่อนจะรับบุคคลเข้าทำงาน จะศึกษาทดสอบว่าบุคคลนั้นมีความสนใจในงานที่จะได้รับมอบหมาย หรืองานที่มาสมัคร อย่างจริงจังหรือไม่เพียงใด และถือเป็นปัจจัยคัดสรรที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวุฒิหรือประวัติการศึกษา

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Dimensions of Management [Birkinshaw]

         

รูปแบบการบริหารใน 4 มิติ 
          
          การบริหารเป็นภารกิจที่ซับซ้อน ผู้บริหารต้องมีความยืดหยุ่นในการแสดงบทบาทหน้าที่ ต้องตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบการบริหารอย่างไรจึงจะสร้างความสำเร็จสูงสุดให้กับองค์กร การบริหารในบางรูปแบบอาจเป็นไปตามธรรมชาติการทำงานของผู้บริหาร ในขณะที่บางรูปแบบอาจเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับรูปแบบการบริหารของตนไปจนได้รูปแบบที่นำความสำเร็จมาสู่ทั้งทีมงานและองค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Corners Model [Porter]


           

การวิเคราะห์คู่แข่งใน 4 มิติ

          หากคุณไม่มีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับคู่แข่ง ธุรกิจก็คงจะเป็นเรื่องง่ายๆ ตรงไปตรงมา หรือถ้าในตลาดไม่มีคู่แข่ง คุณก็แค่ทำสินค้าที่ลูกค้าต้องการ เพียงเท่านี้ก็ได้เงินและประสบความสำเร็จทางธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีองค์กรธุรกิจใดอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง ทุกตลาดล้วนมีการแข่งขัน (ยกเว้นธุรกิจที่ผูกขาดโดยนโยบายของรัฐ) ส่วนจะเข้มข้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากธุรกิจ หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจและมีผลกำไรปีแล้วปีเล่า สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคู่แข่งก็ทำงานหนักไม่น้อยไปกว่าคุณ ทุกคนล้วนเชื่อมั่นในจุดเด่นและความสามารถของตน คุณจึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะก้าวล้ำไปกว่าคู่แข่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

3-Factor Theory [Sirota]


ทฤษฎี 3 ปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจและความกระตือรือร้นในการทำงาน

          ความรู้สึกกระตือรือร้นในการทำงาน หมายถึงความมุ่งมั่นผูกพัน มีความพร้อมและเต็มใจที่จะทุ่มเทให้กับงาน บางคนเริ่มงานด้วยความกระตือรือร้นอย่างเต็มเปี่ยม อยากสร้างสรรค์ผลงาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความกระตือรือร้นนั้นกลับหมดไปอันเนื่องมาจากการปฏิบัติและสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีซึ่งมีอยู่ในองค์กร ผู้บริหารจึงต้องหาวิธีที่จะปลุกพนักงานที่กำลังจะหมดไฟเหล่านั้นให้กลับมามีความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจในการทำงาน มาตรการต่างๆ ในเรื่องการสร้างแรงจูงใจ เช่น การให้ความช่วยเหลือดูแล กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกฮึกเหิม ให้รางวัลตอบแทน จัดวินัยเชิงรุก หมุนเวียนพนักงานไปทำงานในหน่วยงานอื่น ล้วนถูกนำมาใช้ แต่กลับมักไม่ค่อยได้ผล จึงเกิดเป็นคำถามว่า ถ้าเช่นนั้น อะไรคือปัจจัยที่สามารถสร้างความกระตือรือร้นและแรงจูงใจให้แก่พนักงาน

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3C Model [Ohmae]


ปัจจัยหลักสามประการในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด 

          3C Model คือ รูปแบบการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1982 โดย Kenichi Ohmae นักทฤษฎีองค์กรและนักกลยุทธ์ธุรกิจที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น เป็นรูปแบบธุรกิจที่มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยหลัก 3 ประการแห่งความสำเร็จ คือ ลูกค้า (Customer), องค์กร (Corporation), และ คู่แข่ง (Competitor) ปัจจัยทั้งสามนี้ต้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุลในรูปสามเหลี่ยมกลยุทธ์ จึงจะเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3 Levels of Strategy

       

กลยุทธ์ 3 ระดับในองค์กร

          ธุรกิจทุกประเภทย่อมต้องมีการแข่งขัน กลยุทธ์จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจและเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจหนึ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าธุรกิจอื่น ต่อให้คุณมีความคิดดีๆ ในการดำเนินธุรกิจและมีสินค้าที่น่าจะได้รับความนิยมเป็นอย่างดี แต่หากปราศจากกลยุทธ์เสียแล้ว ความคิดและสินค้าที่ดีเหล่านั้นก็อาจไม่สามารถสร้างความสำเร็จให้กับคุณได้ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายที่คุณก็คงพอจะนึกชื่อออกมาได้มากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ชั้นยอดทั้งสิ้น ความสำเร็จของบุคคลไม่ใช่สิ่งที่ได้มาด้วยความบังเอิญ ดังนั้นหากคุณประสงค์จะประสบความสำเร็จ คุณจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำในการทำธุรกิจ

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3 Levels of Leadership Model [James Scouller]


การใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ 

          ผู้ที่เคยอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้เรื่อง “การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ” (5 Levels of Leadership) ของ John C. Maxwell อาจเกิดคำถามหรือความสับสนขึ้นในใจว่า ตกลง ภาวะผู้นำมี 3 หรือ 5 ระดับกันแน่ จึงขอทบทวนเพื่อป้องกันความสับสนไว้ ณ ที่นี้ว่า 5 Levels of Leadership ของ John C. Maxwell เป็นการแบ่งผู้นำตามระดับ การพัฒนาภาวะผู้นำ คือ เริ่มจากผู้นำระดับหนึ่ง “ผู้นำโดยตำแหน่ง” ซึ่งยังไม่ถือว่ามีการพัฒนาอะไรเพราะใครก็ตามที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ก็จะมีสถานะความเป็นหัวหน้า หรือผู้นำโดยตำแหน่ง ที่ลูกน้องจะต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว ต่อเมื่อพัฒนาไปถึงผู้นำระดับห้า จึงถือว่าเป็นผู้นำที่ได้รับการจดจำและเป็นสุดยอดของความเป็นผู้นำ ส่วนการใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ (3 Levels of Leadership Model) ของ James Scouller เป็นเรื่อง การนำภาวะผู้นำไปใช้ในระดับที่แตกต่างกัน สามระดับ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3 Horizons of Growth [McKinsey]


การพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าใน 3 ช่วงเวลา
          
          Steve Coley ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์ของ McKinsey’s Chicago Office และคณะ ได้เสนอกรอบความคิดทางการบริหารที่เรียกว่า McKinsey’s Three Horizons of Growth ในหนังสือชื่อ “The Alchemy of Growth” สาระสำคัญของเนื้อหา คือการแบ่งช่วงเวลา (horizon) ของการพัฒนาธุรกิจออกเป็นสามช่วง แต่ละช่วง มีกิจกรรมหรือโครงการที่บริษัทจะต้องบริหารจัดการเพื่อรักษาความมั่นคงของธุรกิจในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็อาศัยความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันสร้างโอกาสการเติบโตก้าวหน้าของธุรกิจในอนาคตไปพร้อมกัน กิจกรรมหรือโครงการที่อยู่ในแต่ละช่วงเวลาจะต้องใช้การประเมินผลหรือตัวชี้วัดความสำเร็จที่แตกต่างกัน เพราะหากคุณนำแนวคิดของโครงการใหม่ที่อยู่ระหว่างการปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง มาเปรียบเทียบกับโครงการที่มีความมั่นคงและมีกำไรแล้ว โครงการใหม่ของคุณก็คงไม่มีโอกาสได้เกิดหรือประสบความสำเร็จได้เลย