วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Dysfunctions of a Team [Lencioni]


            

พฤติกรรม 5 ประการ
ที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับทีมงาน

          มีคำกล่าวว่า เมื่อใดที่จัดทีมขึ้นทำภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงจะกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนเพียงใด ก็มักจะมีปัญหาการต่อล้อต่อเถียงระหว่างเพื่อนร่วมทีม ทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือไม่ไว้วางใจกัน บ่อยครั้งรุนแรงถึงขั้นทีมแตก คำกล่าวนี้ฟังดูเหมือนเป็นการการมองโลกในแง่ร้าย แต่ในทางปฏิบัติ มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ สาเหตุเพราะ สมาชิกแต่ละคนล้วนมีเป้าหมาย ความใฝ่ฝัน และทักษะ ที่แตกต่างกันออกไป แม้ว่าความหลากหลายจะเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกัน แต่มันก็อาจเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดได้เช่นกัน

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Disciplines of Learning Organizations [Senge]

     

วินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้

          Peter Senge เขียนหนังสือชื่อ “The Fifth Discipline” ในปี ค.ศ. 1990 และ “The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organization” ในปี ค.ศ. 1994 โดยสรุปรวมผลงานวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า องค์กรต่างๆ สร้างความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมบางองค์กรจึงสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ได้ดีกว่าองค์กรอื่น Senge ประมวลแนวปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นมาเป็นวินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ พร้อมให้นิยาม องค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) ว่าหมายถึง องค์กรซึ่งบุคคลสามารถขยายศักยภาพในการสร้างสรรค์สิ่งที่มุ่งหวังได้อย่างต่อเนื่อง เป็นองค์กรที่สนับสนุนความคิดใหม่ๆ ให้เติบโตงอกงาม ปลดปล่อยความใฝ่ฝันให้เป็นอิสระ และให้บุคคลทุกระดับในองค์กรได้รู้ว่าจะเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Canons of Rhetoric




หลัก 5 ประการในการจัดทำสุนทรพจน์

          Cicero (106 B.C. - 43 B.C.) นักสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ชาวโรมัน ได้เขียนหลัก 5 ประการในการจัดทำสุนทรพจน์ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ De Inventione เมื่อประมาณ 50 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปีที่ 95 ของคริสต์ศักราช นักสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ชาวโรมันอีกผู้หนึ่ง คือ Quintilian (35 B.C. - 24 A.D.) ได้ขยายหลักสุนทรพจน์ของ Cicero ให้ลงลึกในรายละเอียดและเขียนเป็นหนังสือรวม 12 เล่มชื่อ Institutio Oratoria หนังสือชุดนี้ได้ใช้เป็นตำราหลักในการศึกษาการจัดเตรียมและการกล่าวสุนทรพจน์สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

5 Basic Project Management Tips




คำแนะนำพื้นฐาน 5 ประการ
ในการบริหารงานโครงการ

          การบริหารงานโครงการ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายโครงการโดยใช้การวางแผน การจัดโครงสร้างการทำงาน การจูงใจ และการควบคุม บูรณาการทรัพยากรต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงาน กระบวนการบริหารโครงการประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม โดยมีคำแนะนำพื้นฐานในแต่ละกิจกรรม ดังนี้

4-Step Innovation Process [Weiss and Legrand]


กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอน

          สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมองนวัตกรรมว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้ประโยชน์ได้ไม่ทันคุ้มค่าใช้จ่าย ก็ตกยุค สู้คอยลอกเลียนคนอื่นแบบตามน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ได้ หรือบางคนก็คิดว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น หากมีพนักงานคนหนึ่งในบริษัทเกิดความคิดบรรเจิดบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เมื่อบริษัทนำไปใช้ เกิดเป็นที่ชอบใจของลูกค้า ก็เหมาเอาว่า นั่นเป็นผลสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4S Web Marketing Mix (WMM)


การพัฒนา website 
ด้วยส่วนผสมการตลาดแบบ 4S

          รูปแบบการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนับตั้งแต่ได้นำ internet เข้ามาใช้ในโลกธุรกิจ การค้าบนโลก online มีปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับการค้าแบบดั้งเดิม ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดขึ้นมาเรื่องหนึ่งคือ เข้าใจว่า เพียงแค่นำสินค้าและบริการขึ้นสู่ internet แล้ว กิจการของตนจะพบแต่ความสำเร็จ

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4P's and 4C's Marketing Model

            

ส่วนผสมการตลาด 4P's และ 4C's

          ส่วนผสมทางการตลาด (marketing mix) หรือรูปแบบการทำการตลาด (marketing model) เป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยทางการตลาดที่ส่งเสริมการขายสินค้าบริการให้แก่ลูกค้า แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องส่วนผสมทางการตลาด คือ 4P’s Marketing Model และในระยะต่อมา ได้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า 4C’s Marketing Model มีข้อติติงมากมายว่า 4P’s model ว่ามีข้อบกพร่องในเรื่องความครบถ้วนของมุมมองจนผู้ประกอบการบางรายหันมาใช้แต่ 4C's เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ในทางปฏิบัติ ควรนำทั้งสอง model มาพิจารณาร่วมกันในการวางกลยุทธ์และแผนการตลาด

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4MAT Learning Cycle Model [Bernice McCarthy]


วงจรการเรียนรู้แบบ 4MAT

          4MAT learning model เป็น model สร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจและเป็นแนวทางใหม่สำหรับการเรียนรู้ ในการสอนแบบเดิมๆ ผู้สอนอาจมุ่งเน้นไปที่การป้อนข้อเท็จจริงและข้อมูลเป็นหลักเพื่อตอบคำถามว่า อะไร (what) แต่ 4MAT model จะเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยคำถามว่าทำไม (why) เพื่อผู้สอนจะได้สามารถขยายความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น โดยผู้สอนจะเริ่มด้วยการเชื่อมต่อ (connect) ผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ดึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขึ้นมา สร้างการเชื่อมโยงส่วนบุคคลให้เกิดเป็นแรงจูงใจและความรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่เรียน

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4-Level of Training Evaluation Model [Kirkpatrick]


การประเมินผลการฝึกอบรม 4 ลำดับ
ของ Kirkpatrick 

          ผู้จัดการฝึกอบรม ย่อมต้องการรู้ว่าผู้รับการฝึกอบรมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้กลับไปใช้ในงานหรือไม่ และการนำความรู้ทักษะนั้นไปใช้ในการทำงานส่งผลต่อฐานะทางธุรกิจหรือบทบาทหน้าที่ที่องค์กรมีต่อสังคมหรือไม่เพียงใด การประเมินผลการฝึกอบรมของ Kirkpatrick หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Kirkpatrick Model สามารถให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และจะสามารถปรับปรุงการเรียนรู้ของพวกเขาต่อไปในอนาคตได้มากน้อยเพียงใดอีกด้วย Kirkpatrick Model เป็น model วิเคราะห์และประเมินผลโครงการฝึกอบรมที่รู้จักกันมากที่สุด โดยมีหัวข้อการพิจารณาที่ไล่เรียงกันไป 4 ลำดับ คือ Reaction, Learning, Behavior และ Result

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4-Frame Model [Bolman and Deal]


การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในองค์กร
จาก 4 มุมมอง 

          องค์กรเป็นองคาพยพที่ซับซ้อน เต็มไปด้วยบุคลากร แรงจูงใจ สมรรถนะ ข้อจำกัด ฯลฯ การมององค์กรในภาพรวม อาจทำให้ข้ามรายละเอียดที่สำคัญซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา Lee Bolman และ Terry Deal จึงได้เสนอแนวคิดเรื่อง Four-Frame Model ซึ่งแนะนำผู้บริหารให้ทำความเข้าใจองค์กรจากมุมมอง (หรือกรอบความคิด) ที่แตกต่างกัน 4 ด้าน วิธีนี้จะช่วยให้ผู้บริหารได้แง่คิดที่แตกต่างกันหลายๆ แบบในการจัดการกับปัญหา

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Types of Stress [Karl Albrecht]



ความเครียด 4 ประเภท

          ทุกคนล้วนเคยมีความทุกข์จากความเครียดมาบ้างไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปตามลักษณะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ความเข้าใจความเครียด นับเป็นก้าวแรกที่จะเอาชนะมัน Dr. Karl Albrecht ที่ปรึกษาด้านการบริหาร ผู้บุกเบิกการฝึกอบรมเรื่องวิธีการลดความเครียดแก่นักธุรกิจ ได้อธิบายสถานการณ์ที่สร้างความเครียดให้กับบุคคลไว้ในหนังสือ Stress and the Manager (1979) โดยได้แบ่งความเครียดในการทำงานออกเป็น 4 ประเภท และแนะนำวิธีการกำจัดความเครียดแต่ละประเภท งานเขียนของเขาช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาเหตุของความเครียดแต่ละประเภทและวิธีจัดการกับมัน ส่งผลให้สามารถทำงานที่ให้ผลงานที่ดีขึ้น สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Responses to Good News [Gable]


วิธีการตอบสนองข่าวดีที่ได้รับ
ใน 4 รูปแบบ [Gable]

          ข่าวดีเกิดขึ้นทุกวัน และเมื่อเล่าออกไปแล้วได้รับคำชื่นชมหรือร่วมยินดีด้วย ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้นไปอีก จากผลการวิจัยพบว่า เราจะรู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสนองตอบของผู้ฟังต่อข่าวดีนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ฟังมักยินดีไปกับเรา แต่ก็มีไม่น้อยที่มีท่าทีไม่ยินดียินร้าย หรือบางครั้งถึงกับแสดงท่าทีตอบกลับที่ทำให้เราต้องเสียใจ

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 P's of Persuasion



หลัก 4 ประการในการเขียน
เอกสารประเภทชักชวน

          หลัก 4 ประการในการเขียนนี้ เน้นไปที่การเขียนเอกสารประเภทชักจูงโน้มน้าว เช่น บทโฆษณา หรือเอกสารเชิญชวนต่างๆ การเขียนงานให้มีพลังในการโน้มน้าวจิตใจของผู้อ่าน จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระที่เขียน เกิดอารมณ์คล้อยตามจนลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการ เช่น ถ้าเป็นบทโฆษณา ก็คือการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่โฆษณา

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Phases for Learning New Skills


การพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ใน 4 ขั้น

          การพัฒนาตนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน ต้องผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ในสี่ขั้นตอน เป็นเรื่องที่ลำบากเหนื่อยยากสำหรับทุกคน สิ่งที่ผู้เรียนรู้จำเป็นต้องมี คือ ความอดทน และความสม่ำเสมอในการเรียนรู้ 

4 Factors Theory of Leadership [Bowers and Seashore]


ทฤษฎี 4 ปัจจัยเพื่อการเป็นผู้นำ

          การศึกษาภาวะผู้นำในยุคแรก เริ่มด้วยการสังเกตบุคลิกลักษณะ (trait) ของบุคคลสำคัญหรือของผู้นำ และนำมาจัดทำเป็นรายการว่าผู้มีคุณสมบัติเช่นนี้จึงเรียกว่าผู้นำ หรือถ้าประสงค์จะเป็นผู้นำต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยที่ทำในระยะต่อมา ไม่พบความเชื่อมโยงที่เด่นชัดระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับความเป็นผู้นำแต่อย่างใด การวิจัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษา จากการศึกษาบุคลิกลักษณะของผู้นำ มาเป็นศึกษาพฤติกรรมของผู้นำว่าต้องทำอย่างไรจึงสามารถสร้างความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานให้แก่ทีมงาน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Dimensions of Relational Work [Butler and Waldroop]


ทักษะ 4 ประเภทในงานที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น

          ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal savvy) เข้าใจปัญหาของผู้ร่วมงานและสามารถเข้าไปจัดการกับความขัดแย้งที่สมาชิกในทีมมีต่อกัน เป็นคุณสมบัติที่เรามักพบเห็นได้ในตัวผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และผู้จัดการฝ่ายขาย แต่ที่จริงแล้ว คุณสมบัติเช่นว่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเกือบจะทุกเรื่องทางธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะแต่กับงานด้านทรัพยากรมนุษย์หรืองานขายเท่านั้น จากผลงานวิจัยตลอดระยะเวลา 18 ปีของ Thimothy Butler และ James Waldroop เพื่อหาคำตอบว่า นักธุรกิจได้พัฒนาตนเองขึ้นมาจนประสบความสำเร็จในงานอาชีพได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า บุคคลเหล่านั้นประสบความสำเร็จได้มากเมื่อได้ทำงานที่เขาให้ความสนใจอย่างจริงจัง ผลการศึกษานี้ได้ถูกนำมาปรับใช้ในการเพิ่มผลผลิตและการคัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยก่อนจะมอบหมายงานหรือก่อนจะรับบุคคลเข้าทำงาน จะศึกษาทดสอบว่าบุคคลนั้นมีความสนใจในงานที่จะได้รับมอบหมาย หรืองานที่มาสมัคร อย่างจริงจังหรือไม่เพียงใด และถือเป็นปัจจัยคัดสรรที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวุฒิหรือประวัติการศึกษา

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Dimensions of Management [Birkinshaw]

         

รูปแบบการบริหารใน 4 มิติ 
          
          การบริหารเป็นภารกิจที่ซับซ้อน ผู้บริหารต้องมีความยืดหยุ่นในการแสดงบทบาทหน้าที่ ต้องตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบการบริหารอย่างไรจึงจะสร้างความสำเร็จสูงสุดให้กับองค์กร การบริหารในบางรูปแบบอาจเป็นไปตามธรรมชาติการทำงานของผู้บริหาร ในขณะที่บางรูปแบบอาจเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับรูปแบบการบริหารของตนไปจนได้รูปแบบที่นำความสำเร็จมาสู่ทั้งทีมงานและองค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 Corners Model [Porter]


           

การวิเคราะห์คู่แข่งใน 4 มิติ

          หากคุณไม่มีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับคู่แข่ง ธุรกิจก็คงจะเป็นเรื่องง่ายๆ ตรงไปตรงมา หรือถ้าในตลาดไม่มีคู่แข่ง คุณก็แค่ทำสินค้าที่ลูกค้าต้องการ เพียงเท่านี้ก็ได้เงินและประสบความสำเร็จทางธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีองค์กรธุรกิจใดอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง ทุกตลาดล้วนมีการแข่งขัน (ยกเว้นธุรกิจที่ผูกขาดโดยนโยบายของรัฐ) ส่วนจะเข้มข้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากธุรกิจ หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจและมีผลกำไรปีแล้วปีเล่า สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคู่แข่งก็ทำงานหนักไม่น้อยไปกว่าคุณ ทุกคนล้วนเชื่อมั่นในจุดเด่นและความสามารถของตน คุณจึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะก้าวล้ำไปกว่าคู่แข่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

3-Factor Theory [Sirota]


ทฤษฎี 3 ปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจและความกระตือรือร้นในการทำงาน

          ความรู้สึกกระตือรือร้นในการทำงาน หมายถึงความมุ่งมั่นผูกพัน มีความพร้อมและเต็มใจที่จะทุ่มเทให้กับงาน บางคนเริ่มงานด้วยความกระตือรือร้นอย่างเต็มเปี่ยม อยากสร้างสรรค์ผลงาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความกระตือรือร้นนั้นกลับหมดไปอันเนื่องมาจากการปฏิบัติและสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีซึ่งมีอยู่ในองค์กร ผู้บริหารจึงต้องหาวิธีที่จะปลุกพนักงานที่กำลังจะหมดไฟเหล่านั้นให้กลับมามีความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจในการทำงาน มาตรการต่างๆ ในเรื่องการสร้างแรงจูงใจ เช่น การให้ความช่วยเหลือดูแล กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกฮึกเหิม ให้รางวัลตอบแทน จัดวินัยเชิงรุก หมุนเวียนพนักงานไปทำงานในหน่วยงานอื่น ล้วนถูกนำมาใช้ แต่กลับมักไม่ค่อยได้ผล จึงเกิดเป็นคำถามว่า ถ้าเช่นนั้น อะไรคือปัจจัยที่สามารถสร้างความกระตือรือร้นและแรงจูงใจให้แก่พนักงาน