วงจรการเรียนรู้แบบ 4MAT
4MAT learning model เป็น model สร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจและเป็นแนวทางใหม่สำหรับการเรียนรู้ ในการสอนแบบเดิมๆ ผู้สอนอาจมุ่งเน้นไปที่การป้อนข้อเท็จจริงและข้อมูลเป็นหลักเพื่อตอบคำถามว่า อะไร (what) แต่ 4MAT model จะเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยคำถามว่าทำไม (why) เพื่อผู้สอนจะได้สามารถขยายความเข้าใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น โดยผู้สอนจะเริ่มด้วยการเชื่อมต่อ (connect) ผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ดึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขึ้นมา สร้างการเชื่อมโยงส่วนบุคคลให้เกิดเป็นแรงจูงใจและความรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่เรียน
ที่มาของแนวคิด
4MAT มีรากฐานส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดของ David Kolb เรื่องรูปแบบการเรียนรู้ (learning styles)
- พวกจับแพะชนแกะ (converger) ชอบเรียนรู้ด้วยการนำแนวคิดและประสบการณ์อันนั้นอันนี้มาปะติดปะต่อกัน
- พวกทำให้ต่างออกไป (diverger) ชอบเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลที่ได้มาคิดทบทวนหาข้อสรุป
- พวกซึมซับ (assimilator) ชอบเรียนรู้และทำความเข้าใจกับหลักและเหตุผลเชิงทฤษฎี
- พวกหาข้อยุติ (accommodator) ชอบเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาทดสอบว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่
Peter Honey และ Alan Mumford ได้เสนอรูปแบบการเรียนรู้ที่คล้ายกับของ Kolb แต่เปลี่ยนคำให้เข้าใจง่ายขึ้น ได้แก่
- นักคิด (reflector) ชอบเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะนำมาทำเป็นข้อสรุป
- นักทฤษฎี (theorist) ชอบทำความเข้าใจกับทฤษฎีที่รองรับเรื่องใดๆ ให้ถ่องแท้
- นักกิจกรรม (activists) ชอบเรียนรู้จากประสบการณ์ใหม่โดยไม่ติดยึดกับทฤษฎี
- นักปฏิบัติ (pragmatists) ชอบดูผลจากการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ สนใจเทคนิคการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติ ทฤษฎีค่อยมาทีหลัง
หากผู้สอนใช้เทคนิควิธีที่ตรงกับความชอบของผู้เรียน การเรียนรู้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว แต่หากผู้สอนใช้วิธีการสอนที่ต่างไปจากที่ผู้เรียนชอบ การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้ยากและผู้เรียนอาจไม่พอใจในการสอนนั้น ในส่วนของผู้สอน แม้จะชอบการสอนแบบหนึ่ง แต่ก็ต้องนำความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งอาจชอบอีกแบบหนึ่งมากกว่ามาพิจารณาด้วยจึงจะทำให้การสอนนั้นประสบผลสำเร็จ
เป็นกรอบการสร้างรูปแบบการสอนที่สามารถดึงผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนได้มากขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องผ่านไปทีละขั้น ตั้งแต่การตีความ การดูดซับข้อมูล การฝึกปฏิบัติ และการบูรณาการสิ่งที่ได้รับมาให้เกิดเป็นความรู้
- ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ของ Kolb
- แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีกซึ่งจัดการกับข้อมูลที่ได้รับด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน
4MAT model ประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 รูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีพลังเป็นการเฉพาะตัวอันเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างการสังเกตและกระบวนการจัดการข้อมูล เกิดเป็นขั้นตอนย่อย 2 ขั้นตอนในแต่ละรูปแบบ รวมทั้งสิ้น 8 ขั้นตอนใน 4 รูปแบบเรียงลำดับกันไปในวงจรการเรียนรู้ ผู้สอนจะใช้วงจรนี้กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน, ให้ข้อมูล ความรู้ และทฤษฎี, สนับสนุนผู้เรียนให้ใช้ความรู้และทักษะ, และผนึกความรู้ที่ได้เรียนไปให้ฝังแน่น
ที่มา: About Learning. (n.d.) 4MAT Overview จาก
ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562
บุคคลบันทึกข้อมูลใหม่เข้าในความทรงจำได้หลายวิธี แต่ในทุกวิธี จะมีความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ และการคิด ร่วมอยู่ด้วยเสมอ
o ประสบการณ์ (experience) คือ การรับรู้ในความรู้สึก อารมณ์ และความทรงจำ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในขณะนั้น
o การคิด (conceptualization) คือ การแปลงประสบการณ์ให้อยู่ในรูปของความคิด ภาษา และลำดับความสำคัญ
ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างประสบการณ์ กับ การคิด มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเชื่อมต่อการรับรู้ของผู้เรียนเข้ากับการถ่ายทอดของผู้สอน
กระบวนการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนเข้าไปจัดการกับข้อมูลใหม่ การเข้าไปจัดการนี้ก็เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ แต่ทุกรูปแบบล้วนประกอบด้วยการทบทวนไตร่ตรอง และการปฏิบัติ
o การทบทวนไตร่ตรอง (reflection) คือ การแปลงข้อมูลด้วยการจัดโครงสร้างและลำดับ
o การปฏิบัติ (action) คือ การนำความคิดที่ได้ไปปรับใช้ ทดสอบ และกำกับการกระทำกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น
ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างการทบทวนไตร่ตรองและการกระทำ มีความสำคัญ เพราะเป็นการนำความคิดที่มีอยู่ภายในมากระตุ้นให้เกิดเป็นการกระทำ ส่งเสริมผู้เรียนให้ทดสอบความคิดของตนกับโลกแห่งความเป็นจริง และปรับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ
กระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน
วงจรการเรียนรู้แบบ 4MAT แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ระยะ (phase) แต่ละระยะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันซึ่งกำหนดโดยการทำงานของสมองสองซีก
4MAT model ที่สมบูรณ์ คือการบูรณาการการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เข้ากับการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาตามวงจรการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันของสมองสองซีกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้และการใช้ความคิดที่ซับซ้อนให้เกิดเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา
วงจรการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ตามแนวคิดแบบ 4MAT จะประกอบด้วย 8 ขั้นตอนใน 4 quadrant ไล่เรียงกันไปตามเข็มนาฬิกา
ที่มา: Ibid
Quadrant ที่ 1: การให้ความหมาย (Meaning)
o ประสบการณ์ (experience) คือ การรับรู้ในความรู้สึก อารมณ์ และความทรงจำ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในขณะนั้น
o การคิด (conceptualization) คือ การแปลงประสบการณ์ให้อยู่ในรูปของความคิด ภาษา และลำดับความสำคัญ
o การทบทวนไตร่ตรอง (reflection) คือ การแปลงข้อมูลด้วยการจัดโครงสร้างและลำดับ
o การปฏิบัติ (action) คือ การนำความคิดที่ได้ไปปรับใช้ ทดสอบ และกำกับการกระทำกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น
วงจรการเรียนรู้แบบ 4MAT แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ระยะ (phase) แต่ละระยะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันซึ่งกำหนดโดยการทำงานของสมองสองซีก
สมองซีกซ้าย | สมองซีกขวา |
|
|
4MAT model ที่สมบูรณ์ คือการบูรณาการการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เข้ากับการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาตามวงจรการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันของสมองสองซีกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้และการใช้ความคิดที่ซับซ้อนให้เกิดเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา
ที่มา: Ibid
1.1 การเชื่อมโยง (connect)
quadrant ที่หนึ่ง เป็นระยะแรกของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องการทราบความหมายว่าทำไม (Why?) พวกเขาจึงต้องมาเรียนรู้ เป้าหมายแรกของวงจรการเรียนรู้นี้ต้องการดึงให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้วยการเชื่อมโยง (connect) ประสบการณ์ของผู้เรียนเข้ากับเรื่องที่จะสอน อาจจะด้วยการให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์ของตนออกมาแลกเปลี่ยนกับผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนจะต้องจูงใจ ให้กำลังใจ สนับสนุนให้เกิดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในขั้นนี้ เป็นการใช้การหารือ (discussion method) เป็นหลัก ผู้เรียนจะใช้สมองซีกขวาของตนสร้างจินตภาพว่าจะสามารถได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยการนำตนเองเข้ามาเชื่อมโยงกับการเรียนการสอน
1.2 สนใจในเรื่องที่จะเรียน (attend)
ในขั้นนี้ กิจกรรมที่สำคัญยังเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ผู้เรียนจะได้รับการขอร้องให้มองข้าม ไม่ติดยึดกับประสบการณ์ของตนเอง การพูดคุยถึงประสบการณ์ของผู้อื่นจึงเป็นการพูดคุยที่มีความหมายมากขึ้น หมดปัญหาเรื่องการยกตนข่มท่าน สามารถจับประเด็นความหมายที่แฝงอยู่ในประสบการณ์นั้นๆ ผู้เรียนเริ่มจะได้เรียนรู้การบูรณาการสาระสำคัญของเรื่องราวต่างๆ ในขั้นนี้ สมองซีกซ้ายของผู้เรียนจะจัดประสบการณ์แต่ละเรื่องให้มีโครงสร้าง แยกประเด็น จัดลำดับ จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ผู้สอนจะนำมาถ่ายทอดในลักษณะเดียวกับที่ตั้งใจฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียนอื่นๆ
Quadrant ที่ 2: การให้แนวคิด (Concept)
2.1 สร้างให้เกิดภาพ (image)
เมื่อสามารถดึงผู้เรียนเข้ามีส่วนร่วมด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และผู้เรียนได้เริ่มเข้าใจการจัดโครงสร้างของเรื่องราวแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการให้ผู้เรียนได้รู้ว่าพวกเขาจะได้เรียนรู้อะไร (What?) ผู้เรียนจะต้องไตร่ตรองเรื่องราวที่ผู้สอนนำมาบรรยายให้ลึกกว่าที่ใช้ไปในการรับฟังประสบการณ์ของเพื่อน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ใช้สมองซีกขวาเปลี่ยนความคิดที่อาจจำกัดตัวอยู่แต่ในกรอบตายตัว (concrete) ให้มีความยืดหยุ่นเป็นนามธรรม (abstract) เมื่อประสบการณ์หรือความคิดส่วนตัวของผู้เรียนไม่ติดยึดอยู่แต่ในกรอบ ก็จะสามารถทำความเข้าใจทฤษฎีที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ช่วยผู้เรียนใช้สมองซีกขวาสร้างภาพในเนื้อหาสาระของสิ่งที่เรียน เพิ่มความน่าสนใจในสิ่งที่จะศึกษาเรียนรู้
2.2 บอกเนื้อหาที่จะเรียนรู้ (inform)
2.2 บอกเนื้อหาที่จะเรียนรู้ (inform)
เมื่อผู้เรียนเริ่มมีภาพในใจว่าตนจะได้เรียนรู้อะไรแล้ว ขั้นต่อไปคือการให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่เป็นแนวคิดหลัก (information method) ข้อมูลดังกล่าวควร
เป้าหมายของการเรียนรู้ในขั้นนี้ คือการทำให้เกิดแนวคิด มีนิยามความหมายที่ชัดเจน เป็นความรู้สำหรับผู้เรียน
Quadrant ที่ 3: การฝึกฝน (Practice)
- เกี่ยวข้องกับแนวคิดหลักและประสบการณ์ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่องและจดจำได้ง่าย
- นำไปสู่การสืบค้นศึกษาเพิ่มเติมของผู้เรียน
เป้าหมายของการเรียนรู้ในขั้นนี้ คือการทำให้เกิดแนวคิด มีนิยามความหมายที่ชัดเจน เป็นความรู้สำหรับผู้เรียน
3.1 ฝึกปฏิบัติ (practice)
เมื่อผู้เรียนได้รับเนื้อหาสาระในการเรียนแล้ว ก็จะเกิดคำถามว่าจะนำไปใช้อย่างไร (How?) ผู้เรียนจะเริ่มรู้สึกว่าตนได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมาและใช้สมองซีกขวาในการจัดโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหา และต้องการนำความรู้และทักษะมาฝึกปฏิบัติให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ตนคิดกับการปฏิบัติจริง มีช่องว่างที่ยังไม่ได้เรียนรู้หรือข้ามไปบ้างหรือไม่ ผู้สอนจึงควรใช้โอกาสนี้ทำ workshop หรือถ้าเป็นเรื่องทักษะ ก็ควรให้โอกาสผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ความเข้าใจของตน
3.2 ขยายขอบเขตความรู้ความเข้าใจ (extend)
เมื่อผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมาในระดับหนึ่ง เป็นการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้เรียนรู้ให้เป็นความรู้ในแนวทางของตน ผู้สอนอาจช่วย (coaching method) ผู้เรียนสร้างโครงการใดๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระความรู้ที่ได้เรียนไปเพื่อขยายขอบเขตความรู้ความเข้าใจให้กว้างขวางขึ้น เป็นการใช้สมองซีกขวาของผู้เรียนสร้างงานในจินตภาพที่กว้างขวางมากไปกว่าที่ได้เรียน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดมากกว่าการท่องจำ สามารถปะติดปะต่อข้อมูล ตั้งคำถาม ตั้งสมมุติฐาน ลองผิดลองถูก ทดสอบทดลอง และสรุปผล
Quadrant ที่ 4: การปรับใช้ (Adaptation)
4.1 การกลั่นกรอง (refine)
หลังจากผ่านการฝึกปฏิบัติแล้ว ผู้เรียนจะต้องทำการวิเคราะห์สิ่งที่พวกเขาได้วางแผนเป็นการเพิ่มเติมไปกว่าที่ได้เรียนรู้มาในขั้นก่อน เป็นการตอบคำถามว่า จะเป็นอย่างไรถ้า (What if?) ในขั้นนี้เป็นการใช้สมองซีกซ้ายวิเคราะห์ข้อมูล กลั่นกรองสาระที่ได้เรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในการวิเคราะห์
4.2 การนำไปใช้ (perform)
หลังจากได้วิเคราะห์ข้อมูลและแผนงานที่ตนสร้างขึ้นมาแล้ว ผู้เรียนจะนำสิ่งที่เรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกันในลักษณะเดียวกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในขั้น 1.1 และ 1.2 ผู้เรียนจะต้องอธิบายสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้มาทั้งหมดจากกระบวนการหรือวงจรการเรียนรู้ทั้งหมด ในลักษณะที่เป็นทั้งการประเมิน สรุป และจบการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ (self-discovery method)
ประเภทของผู้เรียนในวงจรการเรียนรู้
โดยเหตุที่ผู้เรียนแต่ละคนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ชื่นชอบเป็นการเฉพาะของตน ดังนั้น แม้ทุกคนจะผ่านวงจรการเรียนรู้ 8 ขั้นตอนมาเหมือนกัน แต่แต่ละคนก็จะมีการตั้งคำถามแตกต่างกันกับข้อมูลที่ได้รับ Bernice McCarthy จึงได้จำแนกผู้เรียนออกเป็น 4 ประเภทตามความชอบในแต่ละวงจรการเรียนรู้ของเธอ
(1) นักคิด (The imaginative learner)
ผู้เรียนประเภทนี้เป็นพวกที่ไวต่อความรู้สึกและใช้เวลาไปกับการคิดไตร่ตรองหาความหมายและเหตุผลให้กับการกระทำของตน ชอบการเข้ามีส่วนร่วม เป็นผู้เรียนที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทั้งของตนเองและของผู้อื่น ชอบการเข้าร่วมกิจกรรมและสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้เร็ว คำถามยอดฮิตของผู้เรียนประเภทนี้คือ ทำไมฉันจึงต้องเรียนรู้สิ่งนี้
(2) นักวิเคราะห์ (Analytical learner)
ผู้เรียนประเภทนี้จะตั้งใจฟัง คิด ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงและนำมาจัดเข้ากระบวนการให้เกิดเป็นแนวคิด เป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและทำการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นอิสระ คำถามยอดฮิตของผู้เรียนประเภทนี้คือ ฉันจะได้เรียนรู้อะไร
(3) นักทดลอง (Common sense learner)
ผู้เรียนประเภทนี้ชอบคิดและลงมือทำ สนุกกับผลการทดลอง การสร้าง ออกแบบความคิดที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ คำถามยอดฮิตของผู้เรียนประเภทนี้คือ ฉันจะเรียนรู้สิ่งนี้ได้อย่างไร
(4) นักปฏิบัติ (Dynamic learner)
ผู้เรียนประเภทนี้ชอบคิดและลงมือปฏิบัติโดยมุ่งสืบค้นความเป็นไปได้ที่จะยังมีเรื่องที่ไม่รู้ ซุกซ่อนอยู่ในส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งที่เรียนมา เพื่อจะได้จัดความรู้เสียใหม่ให้เป็นของตน ชอบลองผิดลองถูกและค้นหาคำตอบที่ตนสงสัยด้วยตนเอง คำถามยอดฮิตของผู้เรียนประเภทนี้คือ หากฉันลองทำอย่างนี้บ้าง จะได้เรียนรู้อะไร
4MAT leaning cycle model จึงเป็น model ที่มีคุณประโยชน์ในสามสถานะ คือ
· เป็นเครื่องมือออกแบบการสอนที่ช่วยให้ผู้สอนมีวิธีการสอนที่เป็นระบบ กระตุ้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วม สร้างความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน ปลูกฝังความคิดด้วยการทดลองปฏิบัติ และส่งเสริมให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
· เป็นเครื่องมือการพัฒนาที่ให้กรอบการประเมินคุณภาพของการเรียนรู้
· เป็น model การเรียนรู้ขององค์กรที่เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทความที่เกี่ยวข้องซึ่งขอแนะนำให้อ่านประกอบ
· เป็นเครื่องมือออกแบบการสอนที่ช่วยให้ผู้สอนมีวิธีการสอนที่เป็นระบบ กระตุ้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วม สร้างความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน ปลูกฝังความคิดด้วยการทดลองปฏิบัติ และส่งเสริมให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
· เป็นเครื่องมือการพัฒนาที่ให้กรอบการประเมินคุณภาพของการเรียนรู้
· เป็น model การเรียนรู้ขององค์กรที่เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- 5E Instructional Model
- 9 Levels of Learning [Gagne]
- 10 Dimensions of a Learning Organization [Schein]
- 70-20-10 Rule
- ABCD Learning Objectives Model
- Forced Connections
- Image Theory
- Learning and Information Skills
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น