การใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ
ผู้ที่เคยอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้เรื่อง “การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ” (5 Levels of Leadership) ของ John C. Maxwell อาจเกิดคำถามหรือความสับสนขึ้นในใจว่า ตกลง ภาวะผู้นำมี 3 หรือ 5 ระดับกันแน่ จึงขอทบทวนเพื่อป้องกันความสับสนไว้ ณ ที่นี้ว่า 5 Levels of Leadership ของ John C. Maxwell เป็นการแบ่งผู้นำตามระดับ การพัฒนาภาวะผู้นำ คือ เริ่มจากผู้นำระดับหนึ่ง “ผู้นำโดยตำแหน่ง” ซึ่งยังไม่ถือว่ามีการพัฒนาอะไรเพราะใครก็ตามที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ก็จะมีสถานะความเป็นหัวหน้า หรือผู้นำโดยตำแหน่ง ที่ลูกน้องจะต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว ต่อเมื่อพัฒนาไปถึงผู้นำระดับห้า จึงถือว่าเป็นผู้นำที่ได้รับการจดจำและเป็นสุดยอดของความเป็นผู้นำ ส่วนการใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ (3 Levels of Leadership Model) ของ James Scouller เป็นเรื่อง การนำภาวะผู้นำไปใช้ในระดับที่แตกต่างกัน สามระดับ
การใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ (3 Levels of Leadership) เป็นงานเขียนของ James Scouller ในหนังสือของเขาชื่อ The Three Levels of Leadership (2011) โดยมุ่งหมายให้ใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกฝนพัฒนาผู้นำที่ต้องการเติบโตก้าวหน้าและมีคุณสมบัติความเป็นผู้นำที่ดีขึ้นทั้งด้านภาพลักษณ์ (leadership presence), ความรู้ทางเทคนิค (know-how), และทักษะ นอกจากนั้นยังมุ่งหมายให้ผู้นำมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำรวมถึงพฤติกรรมหลักๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา หนังสือเล่มนี้จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการใช้ภาวะผู้นำกับทีมงานหรือองค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ที่อยู่ในฐานะผู้นำให้เป็นผู้นำอย่างแท้จริงอีกด้วย
การใช้ภาวะผู้นำในสามระดับนี้ ได้รวมจุดแข็งที่มีอยู่ในทฤษฎีผู้นำซึ่งรู้จักกันมาแต่เดิม ได้แก่ Traits Theory, Behavioral Ideals Theory, Situational Theory, Functional Theory และชี้ให้เห็นข้อจำกัดที่มีอยู่ในทฤษฎีดังกล่าว นอกจากนั้น แนวคิดเรื่องการใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ ยังได้ปูพื้นฐานให้กับผู้นำที่ต้องการนำหลักปรัชญาเรื่อง servant leadership มาปรับใช้เพื่อให้ได้เป็นผู้นำที่แท้จริง Leadership Model | จุดแข็ง | จุดอ่อน |
Trait-based | ให้ความสำคัญกับบุคลิกภาพ โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่า ผู้นำที่มีบุคลิกภาพโดดเด่นมักสร้างความแตกต่างในความเป็นผู้นำและได้รับความไว้วางใจจากผู้ตามได้มากกว่าผู้นำที่ไม่มีบุคลิกภาพดังกล่าว |
นักวิจัยด้านภาวะผู้นำทั้งหลายยังไม่ได้ข้อยุติว่าบุคลิกภาพพื้นฐานของผู้นำที่ดีเป็นอย่างไร และยังเห็นว่า Trait-based theory น่าจะเหมาะกับการใช้คัดเลือกผู้นำที่ตนชอบ มากกว่าจะนำมาใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้นำ |
Behavioral ideals | เป็นแนวคิดที่ว่า ผู้นำควรให้ความสำคัญกับงานและคนอย่างเท่าเทียมกัน ผู้นำควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้ว่าจะ สามารถรักษาสมดุลนี้ให้เหมาะสมได้อย่างไร |
การให้ความสำคัญกับงานและคนอย่างสมดุล อาจไม่เหมาะสมในบางสถานการณ์ ถึงจะส่งผู้นำให้เข้ารับการอบรมเพียงใด แต่ก็คงไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อลึกๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ของของผู้นำได้ว่าในสถานการณ์ใดควรให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่ากัน |
Situational / Contingency | มีแนวคิดว่า ผู้นำควรปรับพฤติกรรมของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์, ประสบการณ์, ความมุ่งมั่น และความเชื่อมั่นของผู้ตาม ผู้ที่เพิ่งขึ้นมาเป็นผู้นำ จึงควรศึกษาสถานการณ์และเรียนรู้การใช้พฤติกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น |
แนวคิดนี้ไม่ได้ช่วยพัฒนาภาวะผู้นำ เพียงแต่ช่วยในการคัดเลือกผู้นำที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ แนวคิดที่ว่าผู้นำสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสถานการณ์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงไม่ได้ไม่ว่าผู้นำนั้นจะได้รับการฝึกอบรมมาอย่างไร เพราะบุคคลมักจะติดยึดอยู่กับความเชื่อและอุปนิสัยของตนจนไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แนวคิดเรื่องผู้นำตามสถานการณ์อาจใช้ได้ผลกับผู้นำบางคนซึ่งเป็นส่วนน้อย แต่ใช้ไม่ได้กับผู้นำส่วนใหญ่ |
Functional | เป็นการให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ผู้นำทำแล้ว จะประสบความสำเร็จ (function) ตามแนวคิดนี้ ผู้นำสามารถเรียนรู้กิจกรรมดังกล่าวได้ด้วยการเข้ารับการฝึกอบรม |
แนวคิดเรื่อง functional leadership ล้วนมีข้อบกพร่อง เช่น Action Centered Leadership Model ของ Adair ซึ่งกล่าวถึงหน้าที่ของผู้นำสามประการ คือ บรรลุภารกิจ, พัฒนาทีมงาน และพัฒนาบุคคล ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการมีวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้นำต่างไปจากผู้บริหาร หรือ Five Leadership Practices Model ของ Kouzes and Posner ก็มีสมมุติฐานว่าผู้นำทุกคนสามารถปรับตัวให้มีพฤติกรรมดังกล่าวได้ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง หลายคนไม่สามารถทำได้เพราะติดยึดกับความเชื่อและนิสัยที่มีอยู่เดิม |
Scouller กล่าวว่า ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของกระบวนการทำงานใน 4 เรื่อง คือ
1. กำหนดความมุ่งหมายและทิศทางที่สร้างแรงบันดาลใจ (Motivating purpose) ให้บุคคลทำภารกิจด้วยความเต็มใจ
2. ให้ความสำคัญกับวิธีการ การดำเนินการ และความก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย (Task, progress results)
3. สร้างและรักษาความสามัคคีของทีมงาน (Upholding group unity)
4. ติดตามเฝ้าดูความสัมฤทธิผลของสมาชิกแต่ละคน (Attention to individuals)
- Scouller แตกการทำภารกิจให้สำเร็จ ของ Adair ออกเป็นสองภารกิจย่อย คือ จูงใจให้มุ่งสู่เป้าหมาย (motivating purpose) และติดตามความก้าวหน้าของผลการดำเนินงาน (task, progress results)
- มองการทำภารกิจทั้งสี่ในรูป กระบวนการ คือชี้ให้เห็นว่า ภารกิจเหล่านั้นต้องจัดทำเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “ภาวะผู้นำ” กับ “ผู้นำ” ได้
เกี่ยวข้องกับการสร้างทีมงาน เช่น การประชุม หรือการสร้างพลังในการทำงานให้เกิดขึ้นกับองค์กรโดยรวม เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ การทำให้มั่นใจว่าทีมงานมีความมุ่งหมายร่วมกันในการทำภารกิจให้สำเร็จ สร้างบรรยากาศความไว้วางใจและความสมัครสมานสามัคคี รวมไปถึงการสร้างการยอมรับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ เป็นการใช้ภาวะผู้นำในกระบวนการที่ 1-3
การใช้ภาวะผู้นำในระดับ public นี้ ผู้นำต้องรักษาสมดุลระหว่างความมุ่งหมาย (purpose) และ การทำภารกิจ (task) ผู้นำบางคนให้ความสำคัญกับความมุ่งหมาย แต่มองข้ามความสำคัญในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทีมงาน (team spirit) ขณะที่ผู้นำบางคนให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีมโดยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับ ว่าเป็นไปตามที่มุ่งหมายไว้หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น การใช้ภาวะผู้นำในระดับ public ก็จะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรและมักจะทำให้เกิดปัญหาในการทำงานเป็นทีม
เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสมาชิกทีมงานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทำงานเป็นทีม (team spirit) จะเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่สมาชิกทีมงานแต่ละคนก็เป็นมนุษย์ที่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่น ความยืดหยุ่น ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่แตกต่างกัน สมาชิกแต่ละคนจึงต้องการการเอาใจใส่จากผู้นำหรือหัวหน้าทีมไม่ต่างไปจากที่ทีมงานต้องต้องการ
ผู้นำจะต้องปรับทัศนคติของสมาชิกทีมงานที่มีต่อเป้าหมายของภารกิจ (task) และพัฒนาทีมงานให้มีความรู้ความสามารถ (individual) ทั้งในการปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จตามเป้าหมาย และการบำรุงรักษาผลการปฏิบัติให้ยั่งยืนต่อไป เป็นการนำภาวะผู้นำในกระบวนการที่ 2 และ 4 มาใช้ในระดับบุคคล
คือ กำหนดความมุ่งหมายและเป้าหมาย (purpose) , กำหนดภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ (task) , สร้างความสามัคคีและความพร้อมของทีมงาน (group unity), พัฒนาความรู้ความสามารถและแก้ไขปัญหาของสมาชิกทีมงานเป็นรายบุคคล (individual) เป็นการนำภาวะผู้นำในกระบวนการทั้งสี่ มาใช้ในระดับ personal
ภาวะความเป็นผู้นำของตัวผู้นำ (Personal Leadership) เป็นภาวะผู้นำที่ส่งผลกระทบต่อภาวะผู้นำทั้งสี่กระบวนการ แม้ว่าผู้นำจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติแต่ละกระบวนการด้วยตนเอง แต่ผู้นำก็จะต้องสามารถแสดงความเป็นผู้นำ (leadership presence) ให้เป็นที่ยอมรับแก่สมาชิกทีมงาน, มีความรู้ความเข้าใจในทางเทคนิค, มีทักษะในการบริหาร, มีทัศนคติที่ดีต่อทีมงาน, และสามารถนำหลักทางจิตวิทยามาใช้ในการควบคุมตนเองและทีมงานได้อย่างเหมาะสม ความสามารถในการควบคุมตนเองอย่างมีวินัย (self-mastery) เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาพความเป็นผู้นำที่แสดงออกมา (leadership presence) รวมถึงทัศนคติและความเข้าใจที่มีต่อคนอื่น
ที่จริง การใช้ภาวะผู้นำทั้งสี่ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้นำที่พบเห็นได้ทั่วไปในทฤษฎีการทำหน้าที่ของผู้นำ (functional leadership theory) แต่การนำภาระหน้าที่ทั้งสี่มาบูรณาการเข้ากับการใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีอยู่เฉพาะในทฤษฎีภาวะผู้นำของ Scouller เท่านั้น จึงถือว่า Scouller เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมความคิดเรื่องรูปแบบภาวะผู้นำในอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ทุกแนวคิดย่อมมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย หรือจุดอ่อน อยู่ในตัว ดังนี้
จุดเด่นของแนวคิด
o เป็นแนวคิดที่รวมจุดแข็งที่มีอยู่ในทฤษฎีผู้นำอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นจุดอ่อนหรือข้อจำกัดที่มีอยู่ในทฤษฎีเหล่านั้น
o การพัฒนาตนให้เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ใช้แนวทางตามปรัชญา servant leadership และความเป็นตัวตนที่แท้จริงของผู้นำ
o หัวใจในการพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ อยู่ที่การตรวจสอบความเชื่อ อารมณ์ นิสัยตามธรรมชาติ และความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้นำ
จุดอ่อนของแนวคิด
o แนวทางการพัฒนาตนเองดังกล่าว อาจเป็นเรื่องสุดวิสัยสำหรับบางคน
o ไม่มีแนวทางการสนับสนุนใดๆ ในการพัฒนาความเป็นผู้นำตามแนวคิดของ Scouller การพัฒนาตามแนวคิดนี้จึงใช้การควบคุมตนเองเป็นหลัก
o เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ ยังต้องการการทบทวนเพื่อความมั่นใจในประสิทธิผลของการนำไปใช้
บทความที่เกี่ยวข้องซึ่งขอแนะนำให้อ่านประกอบ
ภาวะผู้นำทั้งระดับ public และ private เป็นภาวะผู้นำระดับนอก (outer) หรือระดับพฤติกรรม เป็นการที่ผู้นำใช้ความเป็นผู้นำของตนให้เกิดผลกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ หากเกิดผลกับบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เรียกว่า public หากเกิดผลกับบุคคลแต่ละคน เรียกว่า private
ส่วนภาวะผู้นำระดับ personal เป็นภาวะผู้นำระดับใน (inner) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ ความรู้ทางเทคนิค ทักษะ ความเชื่อ รวมไปถึงอารมณ์และการแสดงออกของนิสัยตามธรรมชาติของผู้นำ
ในบรรดาภาวะผู้นำทั้งสามระดับ Scouller มีความเห็นว่า ภาวะผู้นำในตัวผู้นำ (Personal Leadership) เป็นภาวะผู้นำที่สำคัญที่สุด เพราะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อคุณภาพของกระบวนการทำงานทั้งสี่ (purpose, task, group unity, individual) แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการใช้ภาวะผู้นำระดับ public และ private อีกด้วยo เป็นแนวคิดที่รวมจุดแข็งที่มีอยู่ในทฤษฎีผู้นำอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นจุดอ่อนหรือข้อจำกัดที่มีอยู่ในทฤษฎีเหล่านั้น
o การพัฒนาตนให้เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ใช้แนวทางตามปรัชญา servant leadership และความเป็นตัวตนที่แท้จริงของผู้นำ
o หัวใจในการพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ อยู่ที่การตรวจสอบความเชื่อ อารมณ์ นิสัยตามธรรมชาติ และความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้นำ
o แนวทางการพัฒนาตนเองดังกล่าว อาจเป็นเรื่องสุดวิสัยสำหรับบางคน
o ไม่มีแนวทางการสนับสนุนใดๆ ในการพัฒนาความเป็นผู้นำตามแนวคิดของ Scouller การพัฒนาตามแนวคิดนี้จึงใช้การควบคุมตนเองเป็นหลัก
o เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ ยังต้องการการทบทวนเพื่อความมั่นใจในประสิทธิผลของการนำไปใช้
- 5 Forms of Power [French & Raven]
- 5 Levels of Leadership [John C. Maxwell]
- Authentic Leadership
- Functional Leadership Model
- Servant Leadership
- Situational Leadership Model [Hersey-Blanchards]
- ผ่าทฤษฎีผู้นำ
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น