วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การใช้เรื่องเล่าประกอบการสื่อสาร

          เชื่อว่าทุกคนคงเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเล่ากันมาพอสมควร บ้างก็ในในฐานะผู้เล่า แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะผู้ฟัง ผู้ดู หรือผู้อ่าน เริ่มด้วยการฟังนิทานในสมัยเด็ก โตขึ้นมาหน่อยก็จะได้อ่านเรื่องเล่าในรูปของวรรณคดีหรือเรื่องสั้นประกอบการเรียน พอโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ซื้อหาหนังสือที่ตนชอบมาอ่านเพื่อความบันเทิงตามอัธยาศัย เรื่องเล่าไม่ว่าจะอยู่ในรูปนิทาน นิยาย ประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ หรือข้อมูลข่าวสารจึงเป็นเหมือนเครื่องจรรโลงความตื่นเต้นให้กับชีวิตที่ซ้ำซากจำเจ บางคนใช้เวลามากกว่าค่อนคืนเพื่อติดตามเรื่องเล่าที่ตนอ่านค้างไว้ หรือถ่างตาดูหนังผ่านทีวีหรือเคเบิล แต่บางคนกลับสนุกกับการเมาท์มอยเรื่องราวของคนอื่นในตอนเช้าโดยใช้เหตุผลว่าเป็นการอัพเดทข่าวสารก่อนเริ่มงาน

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การวางแผนการสื่อสาร

          คุณคงเคยได้รับข้อความอะไรสักอย่างที่ทำให้รู้สึกว่าผู้ส่ง ช่างไม่คิดเลยว่าคุณอยากรู้หรืออยากได้ยินเรื่องเหล่านั้นหรือไม่ หรือแม้เวลาเข้าไปนั่งฟังการบรรยายงานขององค์กรคุณเอง ก็คงมีบ้างที่คุณอาจรู้สึกว่า ทำไมมัวแต่ขี่ม้ารอบค่าย เกาไม่ถูกที่คันสักที หรือแม้ในเวลาที่คุณทำหน้าที่เป็นผู้พูดเองก็อาจรู้สึกได้ว่าผู้ฟังไม่ได้ให้ความสนใจในสิ่งที่คุณพยายามจะพูดหรือชี้แจงเลย เหตุการณ์หรือปฏิกิริยาเหล่านี้ อย่างน้อยก็ต้องสร้างความหงุดหงิดบ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าหนักกว่านั้น อาจทำให้ฟิวส์ขาดหรือเม้งแตกซึ่งย่อมส่งผลเสียที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะต้องการสื่อเรื่องราวปกติสามัญประจำวันหรือข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในองค์กร ต้องเริ่มจากการวางแผนที่ดีก่อนเสมอ

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การจัดทำแผนกลยุทธ์

          กลยุทธ์ คือ แผนงานที่นำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติการที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

          กลยุทธ์เกี่ยวข้องกับการกำหนดวิธีการ คือ กำหนดว่าจะต้องทำอะไรบ้างจึงจะบรรลุเป้าหมาย จะจัดหรือใช้ทรัพยากรอะไร เท่าไร อย่างไร การสร้างกลยุทธ์เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงในองค์กร อาจอยู่ในรูป “แผนงาน” หรือ “การปรับโครงสร้างกระบวนการทำงานขององค์กร” ให้สามารถปฏิบัติตามแผนงานได้เป้นผลสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ความเครียด ใครเป็นคนสร้าง



        ความเครียด เป็นความกดดันที่เกิดเมื่อเรารู้สึกไม่มั่นใจว่าจะสามารถผ่านปัญหาอุปสรรคที่เผชิญอยู่ได้หรือไม่ ความเครียดจะส่งผลทางบวกหรือทางลบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถควบคุมความเครียดที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ความเครียดจะส่งผลในทางบวกหากเราสามารถควบคุมความรู้สึกที่กดดันนั้นได้ พลังที่สร้างขึ้นมาเพื่อเอาชนะความเครียดจะเป็นพลังที่หาไม่ได้ในเวลาปกติ นักกรีฑาที่สมาธิดีๆ สามารถใช้พลังจากความเครียดให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน พวกเขามักจะทำสถิติในการแข่งขันได้ดีกว่าในเวลาซ้อม แต่เมื่อใดที่เรารับเอาความเครียดมาไว้กับตัว ไม่พยายามที่จะเอาชนะหรือไม่สามารถเอาชนะความรู้สึกกดดันได้ ความเครียดจะส่งผลในทางลบ สร้างความล้มเหลวไม่เป็นท่าในเรื่องง่ายๆได้ เช่น การออกมาพูดในที่ชุมชน หากเรารับความกดดันที่จิตใจสร้างขึ้นมา อัดมันลงไปในสมองของเราว่า คนฟังคอยจ้องจับผิดอยู่, เรื่องที่จะพูด ตัวเองก็รู้ไม่ค่อยลึกซึ้ง, พูดไปจะเป็นที่ยอมรับของผู้ฟังหรือไม่, จะมีคนลุกขึ้นสอบถามแล้วตอบไม่ได้หรือไม่ ฯลฯ หากเป็นเช่นนั้น เราก็จะเกิดกลัวจนสั่นสะท้านไปทั้งตัว น้ำเสียงก็จะสั่นเครือไปตามจินตนาการที่สร้างขึ้นมา เงื่อนไขที่เราสร้างขึ้นมานี้เองคือความเครียด ยิ่งคิดก็ยิ่งน่ากลัว ยิ่งถ้าเรื่องที่พูดเป็นเรื่องที่ผูกพันกับความสำเร็จของงานที่มีความสำคัญ เช่นการออกมาเป็นพิธีกรในงานเปิดตัวสินค้า ความกลัวความล้มเหลวจะยิ่งเกาะติดกลายเป็นความหวาดหวั่นจนแทบจะเดินกลับเข้าเวทีไปเลย

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จะเป็นนักขายที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร


         
          นักขายหลายคนมีความรู้สึกคล้ายๆ กันว่า การขายเป็นเรื่องยากและต้องใช้ความอดทนค่อนข้างมากกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะต้องรับแรงกดดัน ไม่ว่าจากการบ่ายเบี่ยง ยกเหตุผลนานาประการของลูกค้าเพื่อปฏิเสธการซื้อ, การตั้งเป้าหมายของหัวหน้างานขายที่สูงและขยับเพิ่มขึ้นเป็นระยะจนมองไม่เห็นทางที่จะทำให้สำเร็จ, การแข่งขันกับนักขายคนอื่นที่ขายสินค้าตัวเดียวกันในพื้นที่เดียวกัน ฯลฯ นอกจากแรงกดดันต่างๆ ที่ต้องอดทนให้ได้แล้ว นักขายยังต้องเรียนรู้เทคนิคการขายเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมออีกด้วย 
          
          กฎ 12 ข้อที่นำมาเสนอต่อไปนี้ รวบรวมมาจากประสบการณ์ของนักขายชั้นนำของโลกหลายท่าน หากนักขายท่านใดหมั่นฝึกฝนจนกลายเป็นบุคลิกภาพของตน ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถขึ้นเป็นนักขายที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ที่มาของความเครียดในการทำงาน


        ความเครียดในการทำงานภายในองค์กร มีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากองค์กร และจากบุคคล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความเชื่อมั่นในตนเองของพนักงานและต่อคุณภาพของงานในความรับผิดชอบ ตัวอย่างที่มาของความเครียดซึ่งพบเห็นโดยทั่วไป เช่น การกำหนดมาตรฐานการทำงานแบบการสูญเสียเป็นศูนย์ (zero-defect), กำหนดเวลาที่ค่อนข้างเร่งรัด, แรงกดดันจากหัวหน้างานที่เพิ่มความต้องการไม่มีหยุด แม้กระทั่งแรงกดดันจากการทำงานกับทีมงานที่ไม่เข้าขากัน