วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Stages of Decline [Jim Collins]


องค์กรตกต่ำได้ในห้าระยะ

          การศึกษาว่าองค์กรจะล้มได้อย่างไร อาจไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้บริหารที่มุ่งแต่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่ แต่สำหรับ Jim Collins เขามองว่า การรู้ว่าองค์กรกำลังอยู่ในระยะการเสื่อมถอยหรือตกต่ำหรือไม่ หากใช่ จะฟื้นคืนกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่หรือความแข็งแกร่งเช่นเดิมได้อย่างไร มิสิ่งใดที่ควรทำและไม่ควรทำ เป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เขาจึงได้เขียนแนวคิดเรื่อง องค์กรตกต่ำได้ในห้าระยะ ไว้ในหนังสือชื่อ How the Mighty Fall ด้วยความเชื่อว่า องค์กรทุกองค์กรมีโอกาสตกต่ำลงได้ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่เพียงใด การตกต่ำจะเกิดขึ้นเป็นห้าระยะจากภายใน ความตกต่ำขององค์กรในความหมายของ Collins ไม่ได้ดูที่ผลประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ดูที่ความเสื่อมถอยในพลังขององค์กรด้วย โดยในสามระยะแรก องค์กรอาจจะยังมีผลประกอบการที่น่าพอใจ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพ้นจากระยะที่สาม ความตกต่ำขององค์กรจึงสะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Stages of Corporate Ethical Development [Reidenbach and Robin]


การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมองค์กร

ใน 5 ขั้นตอน

          เชื่อว่าผู้อ่านคงได้เคยทราบข่าวธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเด็กในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและให้สินค้าของตนมีความได้เปรียบเรื่องราคาในตลาด บางธุรกิจอาจไม่ถึงขั้นจ้างแรงงานเด็กด้วยตนเอง แต่ซื้อสินค้าจาก supplier ทั้งๆ ที่รู้ว่า supplier นั้นใช้แรงงานเด็กด้วยเหตุผลเพียงว่า ราคาถูก หรือคิดเข้าข้างตนเองว่า ที่ไหนๆ ก็ทำเหมือนกัน ที่น่าเป็นห่วงก็คือ มีหลายธุรกิจที่คิดและปฏิบัติเช่นนี้ พวกเขาให้ความสำคัญกับผลกำไรมากกว่าคุณค่าในความเป็นมนุษย์ และเห็นความก้าวหน้าทางธุรกิจมีค่าสูงกว่าคุณค่าด้านจริยธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Product Levels [Philip Kotler]

 


คุณค่า 5 ระดับที่มีอยู่ในตัวสินค้า [Kotler]
          
          Philip Kotler ได้เขียนแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่า 5 ระดับที่มีอยู่ในตัวสินค้า ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Marketing Management ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1967 โดยเขาได้แบ่งคุณค่าที่ลูกค้ามีให้กับสินค้าออกเป็น 5 ระดับ เหมือนชั้นของโลก คือมีแกนกลางเป็นชั้นในสุด และไล่ระดับออกมาจนถึงเปลือกโลกเป็นชั้นนอกสุด Kotler มีความเห็นว่า ลูกค้าให้คุณค่าน้อยที่สุดที่ตัวสินค้าเองซึ่งเป็นระดับในสุดหรือระดับแกนกลาง และจะให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้นตามลำดับไล่ออกมาจนถึงชั้นนอกสุด เป็นคุณค่าทางจิตวิทยาที่พอกพูน (wrap around) เพิ่มบวกเข้าไปในตัวสินค้า เช่น การบรรจุหีบห่อ การจัดส่ง การสนับสนุน การให้บริการ และคำแนะนำ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงควรทำความเข้าใจในคุณค่าของสินค้าบริการแต่ละชั้น และกำหนดกลยุทธ์ว่าจะเน้นการสร้างความแตกต่างของคุณค่าสินค้าในชั้นใดจึงจะต่าง (differentiated) ไปจากสินค้าบริการรายอื่นและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้า

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 P’s of Strategy Model [Mintzberg]

 

การพัฒนากลยุทธ์ตามหลัก 5 P

          ในการกำหนดกลยุทธ์ เรามักใช้วิธีระดมความคิดเพื่อค้นหาโอกาสและนำมาวางแผนว่าจะได้รับประโยชน์จากโอกาสนั้นได้อย่างไร กลยุทธ์มีความมุ่งหมายไปที่ความสำเร็จในอนาคต ใช้เวลาและคุณสมบัติหลายด้านขององค์กรในการนำไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าการแข่งขันจะเป็นปัจจัยที่สำคัญทางธุรกิจ แต่การพัฒนากลยุทธ์โดยมุ่งความสำคัญไปแต่เรื่องการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ผู้พัฒนากลยุทธ์จำเป็นต้องนำวัฒนธรรม ความสามารถ และการพัฒนาทั้งหลายที่มีอยู่ในองค์กรมาร่วมในการพิจารณาด้วย กลยุทธ์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีความอ่อนไหว กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลในวันนี้ อาจใช้อะไรไม่ได้เลยเมื่อเวลาผ่านไป ความสำเร็จของกลยุทธ์ นอกจากจะขึ้นกับการวางแผนและการปฏิบัติแล้ว ยังขึ้นอยู่กับตลาดและการเปลี่ยนแปลงซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม ธุรกิจที่ต้องการความสำเร็จจึงต้องหมั่นปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้รับกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Levels of Leadership [John C. Maxwell]

 

การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ
          
          เราพบเห็นผู้นำได้ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจ โคชกีฬา หรือแม้แต่ครูสอนหนังสือในห้องเรียน ก็ล้วนเป็นผู้นำในความหมายของการนำพาผู้ตามให้บรรลุเป้าหมายทั้งของตนเอง ทีมงาน และองค์กรที่ตนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ความเป็นผู้นำจึงเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้า (growth) ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม, ผลิตภาพที่ผู้นำและผู้ตามร่วมกันสร้างขึ้นมา รวมถึงการพัฒนาผู้ตามให้มีความเป็นผู้นำ

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Key Team Performance Factors

            


ปัจจัย 5 ประการเพื่อความสำเร็จของทีมงาน

          การพัฒนาผลการปฏิบัติงานของทีมงาน ทำได้สองแนวทาง

     1.  สร้างพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับทีมงาน
          
เป็นการนำงานเขียนที่มีชื่อเสียงของ Patrick Lencioni ในหนังสือ The Five Dysfunctions of a Team ซึ่งกล่าวถึงพฤติกรรม 5 ประการที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับทีมงาน มาพิจารณาในมุมกลับ ทำให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรสร้างให้มีขึ้นกับสมาชิกทีมงาน

     2.  การแก้ไขปัญหาทางการบริหารที่ส่งผลกระทบต่อทีมงาน
          
เป็นการประมวลความบกพร่องหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของทีมงานอันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพในการบริหารของผู้บริหารหรือหัวหน้าทีม และนำเสนอหนทางแก้ไข

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Functions of Management [Fayol]



หน้าที่ 5 ประการทางการบริหาร 

          Henri Fayol วิศวกรและผู้บริหารอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับการยอมรับให้เป็นบิดาการบริหารงานสมัยใหม่ และบิดาสำนักการบริหารเชิงระบบ ได้นำเสนอทฤษฎีการบริหารธุรกิจที่เรียกว่า Fayolism เพื่อให้ความรู้ด้านการบริหาร เขาเห็นว่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมได้พัฒนาและมีความความซับซ้อนมากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องมีการบริหารที่เป็นมืออาชีพมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้เขียน หลักการบริหาร 14 ประการ (14 Principles of Management) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1916 และจากประสบการณ์ความสำเร็จในฐานะผู้บริหารกิจกรรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ขนาดใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส เขาได้แจกแจงกิจกรรมในธุรกิจอุตสาหกรรมออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมด้านเทคนิค, การค้า, การเงิน, ความปลอดภัย, บัญชี, และการบริหาร

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

5 Forces [Porter]


ปัจจัย 5 ประการที่สร้างพลังการแข่งขัน
ในธุรกิจอุตสาหกรรม

          ศาสตราจารย์ Michael E. Porter แห่ง Harvard Business School ได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า Five Forces และนำเผยแพร่ในวาiสาร Harvard Business Review เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1979 และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Competitive Strategy, Techniques for Analyzing Industries and Competitors ในปี 1980 เพื่อใช้เป็นกรอบประเมินสภาพความรุนแรง (intensity) ของการแข่งขันรวมทั้งโอกาสการเข้ามีส่วนร่วมทำกำไร (attractiveness) ในอุตสาหกรรม ตามแนวคิดนี้ จะมีปัจจัย 5 ตัวเป็นตัวกำหนดสภาพการแข่งขัน และอธิบายที่มาอันเป็นสาเหตุให้เกิดการแข่งขันของแต่ละปัจจัย Porter มุ่งหมายให้องค์กรนำเครื่องมือนี้ไปใช้ทำความเข้าใจสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมและนำสภาพการณ์ดังกล่าวมาประเมินเปรียบเทียบกับความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เข้าทำนองรู้เขารู้เราว่าสมควรที่ธุรกิจจะเข้าไปร่วมเป็นคู่แข่งรายใหม่ในอุตสาหกรรมนั้นหรือไม่ หรือหากทำธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นอยู่แล้ว ควรมีกลยุทธ์อย่างไร จะต้องเพิ่มความแข็งแกร่งของตนในเรื่องใดจึงจะสามารถสร้างความสามารถในการทำกำไรหรืออยู่รอดต่อไปในอุตสาหกรรมนั้นได้