วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

Affinity Diagram

 


การจัดระเบียบข้อมูลจำนวนมาก

          ในการบริหารงานโครงการและการทำวิจัย เราจะพบข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากมาย ข้อมูลแต่ละชุดอาจมีมิติที่หลากหลายทั้งด้านเวลา ปริมาณ คุณภาพ ความสอดคล้องและไม่สอดคล้องซึ่งอาจสร้างความสับสนวุ่นวายจนหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ Jiro Kawakita นักมานุษยวิทยาชาวญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาเครื่องมือชื่อ Affinity diagram ขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อลดความยุ่งยากดังกล่าว เครื่องมือนี้ช่วยให้เราสามารถแยกแยะข้อมูลจำนวนมากออกเป็นกลุ่มจนมองเห็นประเด็นสำคัญ (common theme) ของข้อมูลแต่ละกลุ่มอันนำไปสู่ข้อสรุปและหาทางออกของปัญหาได้

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566

Affiliate Marketing

 

การตลาดแบบเครือข่าย

          Affiliate marketing หรือการตลาดแบบเครือข่าย คือรูปแบบการตลาดที่บุคคลภายนอก เช่น blogger หรือ YouTuber เรียกรวม ๆ ว่า affiliate หรือ publisher ทำการโปรโมตสินค้าบริการของเจ้าของสินค้าผ่าน website หรือสื่อสังคมของตน โดยผู้โปรโมตจะได้รับค่านายหน้าตามเงื่อนไขของเจ้าของสินค้า นอกจากนั้น Affiliate marketing ยังมีความหมายรวมไปถึงระบบการตลาดแบบเครือข่ายของเจ้าของสินค้าเองด้วย การตลาดเครือข่ายมีความตื่นตัวอย่างมากหลังจากที่ Amazon ได้รณรงค์ทางการตลาดด้วยการสร้าง website และ link ที่ผุ้สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสามารถนำ link ดังกล่าวไปวางไว้ใน website หรือสื่อสังคมของตน เมื่อลูกค้าเข้ามาคลิก link ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่ website ของ Amazon เพื่อดูรายละเอียดและสั่งซื้อสินค้ากับ Amazon ได้โดยตรง

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

Adrenaline in Workplace

 


คุณและโทษของอดรีนาลีนในการทำงาน

          อดรีนาลีน (adrenaline) หรือ epinephrine เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเมื่อตระหนักถึงภัยหรือสิ่งเร้า ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ อัตราการเต้นของหัวใจและแรงดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เหงื่อออก หายใจถี่ มีปริมาณโลหิตและอ็อกซิเจนในอวัยวะและกล้ามเนื้อมากขึ้น การหลั่งอดรีนาลีนเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดและหลุดพ้นจากสภาวะกดดันที่เป็นอันตราย เมื่อร่างกายหลั่งอดรินาลีน บุคคลจะมีความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นตัว มีความสุข บางคนถึงขั้นเสพติด เข้าทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงเพราะอยากมีความรู้สึกดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น ขับรถแข่ง, โดดจากเครื่องบินหรือหน้าผาสูง, โหนรอกข้ามป่าหรือหุบเหว ฯลฯ

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ADL Matrix

 


ตารางกลยุทธ์ธุรกิจแบบ ADL

          ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ จำเป็นต้องพิจารณาวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมว่าอยู่ในสถานะใด คู่แข่งเป็นอย่างไร และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ใช้อยู่เหมาะกับสถานะของอุตสาหกรรมและสภาพการแข่งขันหรือไม่ บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดบริษัทหนึ่ง คือ Arthur D Little ได้เสนอเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากปัจจัยหลักสองประการ คือ

     o สถานภาพการแข่งขัน (Competitive Position) ของธุรกิจว่ามีความสามารถในการแข่งขันมากน้อยในระดับใด

     o ธุรกิจอยู่ในช่วงใดของวงจรชีวิตอุตสาหกรรม (Industry Maturity)

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ADDIE Model of Instructional Design

 


การออกแบบหลักสูตรและการสอนด้วย 
ADDIE Model

          ADDIE model เป็นเครื่องมือออกแบบการสอนที่ช่วยให้ HR และผู้ให้การฝึกอบรมสามารถสร้างหลักสูตรการสอนและการฝึกอบรมขึ้นใช้ภายในองค์กร ADDIE เป็นโมเดลที่พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1975 โดย the Centre for Educational Technology at Florida State University เพื่อใช้ในกองทัพสหรัฐฯ และได้รับความนิยมนำไปใช้เป็นโมเดลการออกแบบการสอนในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชนอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566

Adaptive Leadership

 

ทักษะผู้นำในการประเมินผลกระทบของสภาพแวดล้อมและปรับมาตรการแก้ไขให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง

          มีองค์กรมากมายที่เคยประสบความสำเร็จแต่ก็รักษาความสำเร็จนั้นไว้ไม่ได้เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้กับพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โกดัก ซึ่งเคยประสบความสำเร็จอย่างมากกับสินค้าของตน คือ ฟิล์มถ่ายภาพ แต่จากการไม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับวิวัฒนาการการถ่ายภาพแบบดิจิทัล จึงต้องขายสิทธิบัตรของตนเป็นจำนวนมากเพื่อให้พ้นจากการล้มละลาย องค์กรทั้งหลายที่ต้องการหลีกเลี่ยงชะตากรรมดังกล่าว ควรศึกษาทักษะความสามารถของผู้นำในเชิงรุกซึ่งเรียกว่า 4A หรือ adaptive leadership ประกอบด้วย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566

Activity-Based Management (ABM)

 


การบริหารข้อมูลฐานกิจกรรม

          การบริหารข้อมูลฐานกิจกรรม (Activity-Based Management: ABM) หมายถึงการวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการทำกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing: ABC) มาวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (value-chain analysis) โดยมีพื้นฐานความคิดว่าทุกกิจกรรมจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าบริการไม่ต่ำกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลที่ได้จากต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) จึงนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักสองประการ ได้แก่

     (1) เพื่อใช้เป็นต้นทุนของสินค้าบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนทางอ้อมซึ่งจะมีความจำเพาะเจาะจงกับตัวสินค้าบริการมากกว่าวิธีการคิดต้นทุนแบบเดิมซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยกับสินค้าบริการทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มต้นทุน (cost pool) เดียวกัน

     (2) เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนา (ABM) สินค้า, กระบวนการผลิต ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบริษัทให้มีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่ง ๆ ขึ้น กิจกรรมใดที่สร้างคุณค่า ก็พัฒนาเสริมเติมความแข็งแกร่งให้มากขึ้น กิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าบริการ ก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือตัดทิ้งไป

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

Activity-Based Costing [Robert Kaplan]

 


ต้นทุนฐานกิจกรรม

          ในช่วงทศวรรษที่ 1970 Robert Kaplan แห่ง Harvard Business School ได้เสนอแนวทางการคิดต้นทุนสินค้าแบบใหม่ที่เรียกว่า Activity-Based Costing (ABC) แก่วงการอุตสาหกรรมเพื่อแก้ปัญหาการคิดต้นทุนแบบเดิม โดยได้ร่วมกับ Robin Cooper เขียนบทความอธิบายกระบวนการและข้อดีของ ABC จำนวนมากเผยแพร่ให้ผู้สนใจในช่วงทศวรรษที่ 1980 หลักการสำคัญคือการกระจายต้นทุนทางอ้อม เช่น การให้บริการลูกค้า, ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร, ค่าประกันภัย ฯลฯ ตามฐานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเป้าหมายแทนการใช้ค่าเฉลี่ยโดยรวม จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ต้นทุนสินค้าในส่วนของต้นทุนทางอ้อม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตัวสินค้า (fair share) มากขึ้นกว่าวิธีการคิดต้นทุนแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ มีหลายองค์กรที่ได้นำ ABC ไปใช้ แต่ไม่นานก็ยกเลิกและหันกลับไปใช้วิธีคิดต้นทุนแบบเดิม สาเหตุหลักคือประสบปัญหาค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูล Robert Kaplan จึงได้เสนอ ABC ในแนวใหม่ (Time-Driven ABC) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ส่งผลให้ ABC กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง บทความนี้จึงได้นำ ABC ทั้งสองแนวคิดมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นความแตกต่าง

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566

Activity Log


บันทึกกิจกรรม

          เวลาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เมื่อผ่านไปแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก เราทุกคนจึงควรใช้มันอย่างมีเป้าหมายและคุ้มค่า แต่ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะปล่อยเวลาให้เสียเปล่าไปวันละหลายชั่วโมงโดยไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ถ้ายิ่งเป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของเวลา ก็มักจะปล่อยมันให้หมดสิ้นไปราวกับเป็นทรัพยากรที่มีใช้อย่างไม่จำกัด สาเหตุหลักก็คงเนื่องมาจากการใช้เวลา เป็นเรื่องส่วนตัวของใครของมัน หากมิใช่ผู้บังคับบัญชาที่กำลังรองาน หรือพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเราแล้ว ก็คงไม่มีใครจะมาสนใจว่าเราจะใช้เวลาได้อย่างมีคุณค่าหรือไม่ มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือเพื่อนร่วมงานที่เข้างานมาพร้อมกัน ได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนทิ้งห่างกันไปแบบไม่เห็นฝุ่น บทความนี้จึงอยากชักชวนให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับเวลาก่อนที่ทุกสิ่งจะสายเกินไปโดยนำ activity log มาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาความคุ้มค่าของเวลาในแต่ละวัน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

Active Listening

 


การฟังอย่างตั้งใจ

          การฟังอย่างตั้งใจ เป็นทักษะประเภท soft skill ที่เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้ดีจริงนั้นกลับเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม ประโยชนที่ได้จากการฟังอย่างตั้งใจมีมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ใช้เวลาและความพยายามในการฝึกฝนค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นทักษะที่ทุกคนควรจะพัฒนาขึ้นมาให้เป็นคุณสมบัติประจำตัว การฟังอย่างตั้งใจ (active listening) หมายถึง การมีสมาธิทำความเข้าใจกับ “สิ่งที่ผู้พูดสื่อสารออกมา” ทั้งเนื้อหาและเจตนา และตอบสนองความเข้าใจนั้นอย่างเหมาะสม ตรงกันข้ามกับการฟังผ่าน ๆ (passive listening) ซึ่งจะไม่สามารถจับประเด็นเนื้อหาใด ๆ จากผู้พูด หรืออาจเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงหรือเจตนาของผู้พูด “สิ่งที่ผู้พูดสื่อสารออกมา” มีความหมายครอบคลุมทั้งข้อมูลที่เป็นถ้อยคำ (verbal message) และที่ไม่เป็นถ้อยคำหรืออวจนภาษา (non-verbal message) เช่น พฤติกรรม น้ำเสียง และภาษากายที่ผู้พูดแสดงออกในระหว่างการพูด เช่น การผงกศีรษะ การสบตากับผู้ฟัง ฯลฯ การตั้งใจสังเกตอวจนภาษา จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาและเจตนาที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสารได้ดีกว่าการรับฟังแต่เพียงข้อมูลที่เป็นถ้อยคำ