วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

3 Component Model of Commitment [Meyer and Allen]



องค์ประกอบ 3 ประการของ
ความรู้สึกผูกพันในการทำงาน

          หากคุณเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัท คงไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่คุณจะมีความรู้สึกมุ่งมั่น ทำกิจการของคุณหรือที่อยู่ในความดูแลของคุณให้ประสบความสำเร็จ เพราะคุณจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากความมุ่งมั่นนั้น แต่มันคงจะไม่ง่ายที่จะสร้างความรู้สึกเช่นนั้นให้เกิดขึ้นกับทุกคนในบริษัทหรือองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพนักงานระดับกลางหรือระดับล่างซึ่งไม่ได้มีความคาดหวังอะไรเช่นเดียวกับคุณ และอาจยื่นใบลาออกไปเมื่อไดก็ได้ คุณจึงควรค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่่ทำให้พนักงานมีความรู้สึกผูกพันที่จะทำงานกับบริษัทต่อไปนานๆ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

2-Factor Theory of Emotion [Schachter and Singer]




    ทฤษฎีอารมณ์จากเหตุสองปัจจัย
          
          นักวิจัยได้พยายามค้นหาเหตุผลเพื่ออธิบายว่า อารมณ์ของมนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีผลต่อการสั่งการของสมองหรือสติปัญญาของมนุษย์อย่างไร ทำให้มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดและอารมณ์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 หลายทฤษฎี ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติใหญ่ทางความคิดด้านจิตวิทยา หนึ่งในทฤษฎีแรกๆ ที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนี้ คือ ทฤษฎีอารมณ์จากเหตุสองปัจจัย (Two-Factor Theory of Emotion) ของนักวิจัยสองท่าน คือ Stanley Schachter และ Jerome E. Singer ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า อารมณ์เป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสองปัจจัย คือ ความตื่นตัวทางร่างกาย (physiological arousal) กับ การลงความเห็นทางปัญญา (cognitive label) โดยความตื่นตัวทางร่างกายจะได้รับการตีความตามปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจของบุคคลในแต่ละสถานการณ์ ส่งผลให้เกิดเป็นอารมณ์หรือความรู้สึก

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

2-Factor Theory [Frederick Herzberg]




ทฤษฎีสองปัจจัย 

          ทฤษฎีนี้ นอกจากจะชื่อว่า 2-Factor Theory แล้ว ยังเรียกกันในชื่ออื่นๆ อีก เช่น Herzberg’s Motivation-Hygiene Theory, Motivator-Hygiene Theory และ Dual-Factor Theory เป็นทฤษฎีที่ Frederick Herzberg นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1959

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

0-Based Budgeting (ZBB)


การจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ 

          Zero-Based Budgeting (ZBB) หรือ การจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ เป็นวิธีการงบประมาณที่สวนทางกับวิธีที่ทำกันมาแต่เดิมอย่างสิ้นเชิง ในการจัดทำงบประมาณแบบเดิมนั้น ผู้บริหารจะเริ่มด้วยการทบทวนงบประมาณของปีที่ผ่านมาและแก้ไขรายรับรายจ่ายตามผลการปฏิบัติงานที่ประมาณการไว้ งบประมาณของปีที่แล้วจึงถือเป็นฐาน (base line) หรือจุดตั้งต้นของการจัดทำงบประมาณในปีปัจจุบัน แต่ในงบประมาณฐานศูนย์ ผู้บริหารทุกคนจะต้องแจกแจงงบประมาณรายจ่ายแต่ละรายการที่จะใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ปรับตัวเลขงบประมาณของปีที่แล้ว ฐานของงบประมาณแบบ zero-based budgeting จึงเป็นศูนย์ โดยไม่สนใจว่าได้เคยจัดสรรงบประมาณให้รายการใดมาก่อนหน้าแล้วจำนวนเท่าไรและงบประมาณปีนี้จะสูงหรือต่ำกว่าปีที่แล้วกี่เปอร์เซ็นต์

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

0 Defects [Philip B. Crosby]


สิ่งบกพร่องเป็นศูนย์     

          ความบกพร่องในเรื่องคุณภาพ จะมีค่าใช้จ่ายฝังรวมอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสมอ ที่เห็นได้ชัด คือ เวลาและทรัพยากรที่มีคุณค่าซึ่งต้องเสียไปกับผลผลิตที่มีข้อบกพร่อง และชื่อเสียงขององค์กรที่ต้องเสียไปกับสินค้าที่มีข้อบกพร่องนั้น การกำจัดความบกพร่องดังกล่าวต้องใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย สิ่งที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจ จึงอยู่ที่ว่า จะกำจัดสิ่งบกพร่องทั้งหลายให้หมดไปไม่ว่าจะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเท่าไร หรือจะยอมรับสิ่งบกพร่องนั้นและอยู่กับมันไปหากมีปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์ความบกพร่องรวมอยู่ไม่มากนัก Philip B. Crosby ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพในโครงการ Pershing rocket ของบริษัท Martin เป็นผู้เสนอทางออกในการตัดสินใจดังกล่าวด้วยปรัชญาที่เรียกว่า สิ่งบกพร่องเป็นศูนย์ (Zero Defects) ในหนังสือชื่อ Quality is Free (1979) ปรัชญาดังกล่าวมีหลักคิดที่ว่า เมื่อสิ่งบกพร่องเป็นแหล่งกำเนิดของค่าใช้จ่าย หากสามารถทำสิ่งบกพร่องให้เป็นศูนย์ หรือสร้างเหตุป้องกันไม่ให้สิ่งบกพร่องเกิดขึ้น ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ อันเป็นผลพวงจากความบกพร่อง คุณภาพของสินค้าที่ไม่มีสิ่งบกพร่อง จึงเป็นคุณภาพที่ได้มาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การป้องกันแก้ไขการล่วงเกินและคุกคามทางเพศในงาน

          
          สภาพปัญหาการล่วงเกินและคุกคามทางเพศ (sexual harassment) ในหน้าที่การงาน คือ การที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจเหนือกว่าในองค์กรใช้ความได้เปรียบในการให้คุณให้โทษ บังคับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ด้อยกว่าในหน้าที่การงานต้องยอมรับการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ การล่วงเกินและคุกคามทางเพศอาจไม่ได้มีการแตะเนื้อต้องตัว เช่น ใช้วาจาแทะโลม พูดทะลึ่งลามก ใช้สายตาสำรวจเรือนร่าง หรือการติดรูปที่แสดงออกในเรื่องเพศไว้อย่างเปิดเผยภายในห้องทำงานหรือใน intranet ขององค์กร หรืออาจถึงเนื้อถึงตัว เช่น การจับหรือแตะต้องส่วนต่างๆ ของร่างกายในลักษณะลวนลามหรือไม่ให้เกียรติ ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ด้อยกว่าในหน้าที่การงานจำเป็นต้องยอมรับการคุกคามดังกล่าวเพื่อแลกกับโอกาสในการได้ทำงานต่อไปโดยไม่ถูกกลั่นแกล้งหรือกดดัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การประเมินความต้องการและกำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม


          การวิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการศึกษาเนื้องานอย่างละเอียดเพื่อดูว่าพนักงานนั้นมีความต้องการทักษะอะไรเพื่อใช้ในการทำงาน ส่วนมากจะนำมาใช้กับพนักงานระดับล่างซึ่งหน่วยงานจะรับผู้ไม่มีประสบการณ์แล้วฝึกอบรมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อให้พนักงานใหม่นั้นได้เรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน การวิเคราะห์งานจึงเป็นกิจกรรมที่นำมาใช้เพื่อกำหนดความต้องการการฝึกอบรมของพนักงานใหม่

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การเป็นผู้นำที่ได้ใจคน ต้องมีพรสวรรค์เท่านั้นหรือ


          พรสวรรค์ในที่นี้ไม่ใช่ในความหมายของอัจฉริยะภาพที่หาได้ยากในโลก เช่น เด็กที่มีระดับความเฉลียวฉลาด (IQ) เกิน 180 หรือเด็กที่มีความสามารถในการพูดภาษาต่างชาติได้ 3-4 ภาษาแบบเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่อายุ 6 ขวบอะไรทำนองนั้น แต่หมายถึงความสามารถที่มักถูกนำมาใช้อ้างว่าตนขาดหายไป (อย่างไม่เป็นธรรม) เมื่อต้องเทียบกับคนอื่นที่สามารถทำได้ เช่น ความสามารถในการปราศรัยหรือบรรยายในมหาสมาคมหรือต่อหน้าคนเป็นร้อย ในสถานการณ์เช่นว่านี้ สิ่งที่ผู้พูดต้องการไม่ใช่มีแต่เพียงความกล้าหรือความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ยังรวมถึงความสามารถในการสื่อสารข้อความที่มีความชัดเจน เห็นภาพ และปลุกเร้าให้ผู้ฟังมีความคิดคล้อยตาม ถ้าผมจะบอกว่าสิ่งที่พูดมานี้เป็นเรื่องที่เรียนรู้กันได้ หลายคนก็ว่าเป็นไปไม่ได้ หลายคนยังเชื่ออย่างมั่นคงไม่เคยเปลี่ยนแปลงว่าคุณสมบัติหรือความสามารถที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ถึงจะเรียนรู้ก็แสดงออกได้ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่จูงใจ

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผล


         การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน (On the Job Training) หรือเรียกให้สั้นกันว่า On Job Training (OJT) เป็นกระบวนการพื้นฐานในการพัฒนาบุคคลากร บางสถานประกอบการโดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็ก อาจมีการฝึกอบรมประเภทนี้อยู่เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปแล้ว เมื่อสถานประกอบการได้สำรวจหรือพบความจำเป็นที่ต้องให้การฝึกอบรม ก็จะนำความต้องการหรือเป้าหมายนั้นมาออกแบบโครงการฝึกอบรมอันประกอบด้วยเนื้อหาหลักสูตรและรูปแบบการให้การฝึกอบรม ปกติจะใช้การฝึกอบรมแบบชั้นเรียน (classroom training) เป็นการให้การฝึกอบรมระยะสั้นที่เน้นแนวคิดและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นการปูพื้น และใช้การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงานเป็นการสะสมความรู้ในระยะยาว