วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Dimensions of a Learning Organization [Schein]


หลัก 10 ประการเพื่อการพัฒนา
วัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร

          Edgar Schein มีความเห็นว่า องค์กรจะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อสามารถพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ให้รับการเปลี่ยนแปลงได้แล้วเท่านั้น Schein ให้การเรียนรู้ในองค์กรมีลำดับความสำคัญสูงกว่าเรื่องอื่น ๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงของธุรกิจ การผลิต ประสิทธิภาพ หรือแม้กระทั่งความอยู่รอดของธุรกิจเพราะเขามองว่าทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นผลมาจากความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร Schein ได้กำหนดคุณสมบัติหรือหลัก 10 ประการเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรไว้ในหนังสือของเขา ชื่อ The Organizational Culture and Leadership

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565

16 Personality Factors (16 PF) Test [Cattell]

 


ปัจจัย 16 ประการ
ในการทดสอบบุคลิกภาพบุคคล

          Raymond Cattell นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีและฟิสิกส์ ได้หันความสนใจมาศึกษาจิตวิทยาในทศวรรษที่ 1920 ซึ่งในตอนนั้น เขารู้สึกผิดหวังที่พบว่าจิตวิทยาเป็นสาขาความรู้ที่เต็มไปด้วยนามธรรม ทฤษฎีและแนวคิดก็ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและยังแทบไม่มีพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีด้านบุคลิกลักษณะส่วนใหญ่จะอิงกับหลักปรัชญาและการคาดการณ์เป็นการส่วนตัว หรือไม่ก็พัฒนาขึ้นมาโดยคนในวงการแพทย์ เช่น Jean Charcot และ Sigmund Freud ซึ่งได้สร้างทฤษฎีบุคลิกภาพขึ้นมาตามสัญชาติญาณความรู้สึกและจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่มีความผิดปกติในด้านสติปัญญา (psychopathology) เป็นหลัก

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565

20 Mile March [Collins and Hansen]


ปฏิบัติตามแผนงานทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

          ในปลายทศวรรษที่ 2000 Jim Collins และ Morten T. Hansen รวมทั้งนักวิจัยอีกประมาณ 20 คน ได้พยายามตอบคำถามทางธุรกิจข้อหนึ่งที่ว่า ทำไมบางบริษัทจึงสามารถผ่านความไม่แน่นอน หรือบางครั้งถึงขนาดวิกฤติทางธุรกิจไปได้ ในขณะที่บริษัทอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ กลุ่มฯ ได้คัดเลือกบริษัทที่มีผลประกอบการดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ถึงสิบเท่าหรือมากกว่า จำนวน 7 บริษัทมาศึกษา และได้พบคำตอบที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ สิ่งที่ปรมาจารย์ทางธุรกิจได้พร่ำสอนว่าเป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างระหว่างธุรกิจที่ประสบและไม่ประสบความสำเร็จ เช่น นวัตกรรม, ความคิดสร้างสรรค์, หรือความสามารถในการปรับตัวให้รับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างความแตกต่าง แต่สิ่งที่เป็นหัวใจในความสำเร็จที่แท้จริงของบริษัทเหล่านี้คือ ความเคร่งครัดในวินัย (fanatic discipline)

12 Principles of the Network Economy [Kelly]

 


ลักษณะสำคัญ 12 ประการ
ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเครือข่าย

          Kevin Kelly เขียนบทความชื่อ New Rules for the New Economy ลงพิมพ์ในนิตยสาร Weird ฉบับเดือน กันยายน ค.ศ. 1997 โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลัก 12 ประการที่ใช้เพื่อสร้างการเจริญเติบโตในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง เขากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบ analogue มาเป็นระบบ digital หรือที่เรียกว่า digital revolution ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวขวัญกันครึกโครม แต่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งซึ่งดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และเป็นการปฏิวัติที่มีความรุนแรงมากกว่า digital revolution นั่นคือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเครือข่าย หรือ Network Economy ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกแผ่นดิน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จัดระเบียบชีวิตของผู้คนทั้งโลกขึ้นมาใหม่อย่างที่ลำพัง hardware และ software ของคอมพิวเตอร์ไม่เคยทำได้ มันมีโอกาสที่เด่นชัดและมีกฎเกณฑ์ใหม่ของมันเอง มีแต่ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎใหม่ของมันเท่านั้นที่จะก้าวต่อไปได้

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Ways to Overcome a Fear of Networking

 


10 วิธีเอาชนะความกลัวเมื่อต้องเข้าสังคม

          คุณมีพฤติกรรมอย่างไรเวลาเข้าที่ประชุม หรือร่วมงานเลี้ยงในชมรมอาชีพ หรือในการเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ คุณเดินเข้าไปในกลุ่มผู้คนและสร้างความคุ้นเคยอย่างเป็นธรรมชาติ หรือค่อยๆ กระมิดกระเมี้ยนขอเข้าไปร่วมกลุ่มโดยรับรู้ได้ในความเป็นส่วนเกินของตนเอง การเข้าร่วมกลุ่มร่วมสังคมเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับหลายๆ คน อาจเป็นเพราะความคิดมาก เก็บตัว ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขี้อาย ผ่านประสบการณ์ที่เลวร้ายมา หรือเพิ่งเริ่มมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ในการเข้าสังคม แม้ว่าความกลัวการเข้าสังคมเป็นเรื่องยากที่จะกำจัดมันออกไป ก็ยังนับว่าโชคดีที่ความสามารถในการเข้าสังคมไม่ใช่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นทักษะที่ใครๆ ก็เรียนรู้ได้ คุณไม่จำเป็นต้องมีลีลาที่นุ่มนวล หรือมีท่าทีที่โอ่อ่าผ่าเผยอะไรนักหนา ขอเพียงแต่คุณใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้อง คุณก็ประสบความสำเร็จในการเข้าสังคมได้

10 Ways to Make Bad Day Better

 


10 วิธีที่ช่วยให้วันที่เลวร้ายของคุณ ดีขึ้น

          ไม่มีใครที่ทั้งชีวิตมีแต่ความราบรื่นสดใส หรือมีแต่วันที่เลวร้ายหดหู่ จะต่างกันก็ตรงที่ วันที่ร้ายๆ ของแต่ละคนอาจมีมากน้อยกว่ากัน หนักหนาสาหัสกว่ากัน และจากสาเหตุเรื่องราวที่ต่างกัน เมื่อใดที่คุณรู้สึกว่ามันช่างเป็นวันที่เลวร้ายสำหรับคุณ ความรู้สึกนั้นจะทำให้ทุกสิ่งกลายเป็นปัญหาที่ดูเหมือนไม่มีทางออก แก้ไขไม่ได้ หรือที่เรียกกันว่า “จิตตก”

10 Ways to Get a Better Night's Sleep

 

วิธีปฏิบัติ 10 วิธีที่ช่วยให้
นอนหลับได้สนิทและนานขึ้น

          นอกเหนือจากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง สดชื่นแจ่มใส ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลอย่างสำคัญต่อคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ จะมีประโยชน์ต่อการทำงานได้ก็ต่อเมื่อนำมาใช้อย่างมีสติ สามารถควบคุมอารมณ์ที่เข้ามารบกวนการใช้เหตุผล และมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงพอที่จะปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Schools of Thought [Henry Mintzberg]

 


ฐานความคิด 10 ฐานที่ใช้ในการสร้างกลยุทธ์

          Henry Mintzberg ศาสตราจารย์ด้านการบริหาร มหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา มีความเห็นว่า ในการสร้างหรือกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ผู้สร้างได้อาศัยฐานความคิดที่แตกต่างกันอยู่ 10 ฐาน (school of thought) อันเป็นที่มาของทฤษฎีการบริหารที่มีชื่อเสียงชื่อ the Theory of the 10 Management Roles หรือเรียกกันทั่วไปว่า 10 Schools of Thought ฐานความคิดทั้ง 10 ประกอบด้วย

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Recruitment Mistakes


ความผิดพลาด 10 ประการ
ในการรับพนักงานใหม่

          เราทุกคนล้วนเคยทำผิดพลาดกันมาแล้วทั้งสิ้น บางคนอาจได้เรียนรู้ในความผิดพลาด แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนได้ทำอะไรผิดไป โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกรับพนักงานใหม่ เช่น เมื่อเสร็จกระบวนการเลือกรับแล้ว คุณอาจรู้สึกมั่นใจเป็นอย่างมากว่า บุคคลที่คุณเลือกจะต้องเป็นทรัพยากรบุคคลที่สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร เพราะเขามีประวัติส่วนตัวดีเยี่ยม มีไหวพริบในการตอบคำถามและนำเสนอตนเองในการสอบสัมภาษณ์ได้อย่างโดดเด่น แต่แล้วบุคคลดังกล่าวกลับไม่ผ่านการประเมินในขั้นทดลองงาน เข้ากับทีมงานไม่ได้ และไม่สามารถสร้างงานในแขนงใดได้เลย คุณรู้ดีว่า การเปิดรับและเริ่มกระบวนการคัดเลือกใหม่เป็นการเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และโอกาสการทำงาน แต่คุณก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปิดรับใหม่ แต่ในเมื่อคุณไม่รู้ว่าได้ทำอะไรผิดพลาดไปในกระบวนการคัดเลือก คุณก็อาจกลับเข้าสู่วงจรเดิม คือ ได้คนที่ไม่เหมาะกับการทำงาน หรือได้คนที่ไม่ต้องการทำงานร่วมกับคุณ

10 Principles of Reinvention [Osborne and Gaebler]

 

หลัก 10 ประการในการปฏิรูป
งานราชการส่วนท้องถิ่น

          David Osborne และ Ted Gaebler ผู้เขียนหนังสือชื่อ Reinventing Government (1992) มีความเห็นว่า ระบบการทำงานของรัฐบาลอเมริกันซึ่งสร้างขึ้นมาในยุคอุตสาหกรรมและในช่วงวิกฤติการณ์ทางทหารและทางเศรษฐกิจ มีความเหมาะสมกับยุคและวิกฤติการณ์เหล่านั้น แต่ไม่ใช่รูปแบบรัฐบาลที่ดีที่สุดสำหรับยุคต่อมาซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนมีความต้องการเพิ่มขึ้นมากทั้งในเรื่องการให้บริการ ทางเลือกในการใช้บริการ และคุณภาพของการบริการ รัฐบาลจึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการจากเดิมซึ่งเป็นแบบราชการ ให้มีความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น คือ มีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ รวมทั้งปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีอะไรที่แปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา

10 Cs of Supplier Evaluation [Carter]

 


หลัก 10 ประการในการประเมิน Supplier

          มีคำสองคำที่มักนำมาใช้แทนกันจนหลายคนคิดว่ามีความหมายเดียวกัน คือคำว่า supplier และ vendor แต่ในความเป็นจริง สองคำนี้มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Common Negotiation Mistakes

 


ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ในการเจรจาต่อรอง

          ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จล้วนเคยผ่านการเจรจาต่อรองมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาสัญญา การขอมติในที่ประชุม หรือการตกลงเป้าหมายการทำงานกับทีมงาน ผู้บริหารที่เจรจาต่อรองไม่เป็นจะต้องรับภาระที่มากเกินสมควร อาจถึงขั้นสูญสูญเสียธุรกิจ หรือความเคารพนับถือจากทีมงาน หรืออาจไม่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างซึ่งควรจบลงได้ไม่ยากนักถ้าสามารถเจรจาต่อรอง

10 Fatal Leadership Flaws [Zenger and Folkman]


ข้อบกพร่องร้ายแรง 10 ประการ
ในความเป็นผู้นำ

          ผู้นำทุกคน ไม่ว่าจะเก่งกาจสามารถเพียงใด ดำรงตำแหน่งใด ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ปุถุชน ก็ย่อมจะต้องมีข้อบกพร่อง จะต่างกันก็เพียงแต่ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะหมั่นทบทวนค้นหาข้อบกพร่องของตนเองและจัดการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น การพยายามเป็นผู้สมบูรณ์แบบชนิดที่หาข้อบกพร่องไม่ได้เลย น่าจะเป็นเป้าหมายที่ทำให้สำเร็จไม่ได้ และไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอะไรที่จะต้องพยายามทำเช่นนั้น แต่การพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายที่ทำให้สำเร็จได้และจำเป็นต้องทำ เพราะในยามที่สถานการณ์ต่างๆ ราบรื่นเป็นปกติ ข้อบกพร่องของผู้นำอาจไม่ส่งผลกระทบต่อองค์กรมากนัก แต่ยามใดที่สถานการณ์เลวร้ายลง ข้อบกพร่องของผู้นำอาจสร้างความเสียหายที่ร้ายแรงแก่องค์กรได้

10 Common Leadership and Management Mistakes

 


ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ของผู้บริหารและผู้นำ

          มีผู้กล่าวว่า ความผิด ให้โอกาสในการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ แต่ที่จริงแล้ว ถ้าเราสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นโดยไม่เกิดความผิดขึ้นมาก่อนได้ ก็น่าจะดีกว่า ผู้บริหารมีเรื่องที่ต้องรับผิดชอบมากมาย ทั้งต่อองค์กรรวมถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้องและทีมงาน หากคุณเป็นผู้บริหาร คุณต้องพร้อมที่จะทบทวนทุกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหา ต้องตระหนักถึงจุดอ่อนที่มีอยู่ในระบบการทำงาน วางกลยุทธ์ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน

10 Common Email Mistakes


ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ในการใช้ Email

          จากผลการศึกษาของ McKinsey & Company พบว่า คนที่ทำงานในสำนักงานใช้เวลา 28% ของการทำงานไปกับการอ่านและตอบ email สถิตินี้อาจจะดูมากเกินจริง อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ email เป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การใช้ email เป็นวิธีที่เร็วและง่ายในการติดต่อกับสมาชิกทีมงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะกับผู้ที่อยู่ห่างไกล แต่ email ก็เป็นเครื่องมือสื่อสารที่อาจสร้างความเข้าใจผิดหรือถึงขนาดเป็นความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้ส่งได้โดยง่ายหากไม่ระวังความผิดพลาดต่างๆ รวมถึงมารยาทในการติดต่อ

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Common Decision - Making Mistakes

 


ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ในการตัดสินใจ

          การตัดสินใจในทางธุรกิจจำเป็นจะต้องมององค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจให้ครบถ้วน บ่อยครั้งที่ผู้บริหารตัดสินใจโดยมองแต่ผลดีในทางธุรกิจแต่กลับมองข้ามผลเสียที่จะเกิดกับพนักงาน

10 Commandments for Media Consumers


บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริโภคสื่อ

          บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้บริโภคสื่อ หรือ 10 Commandments for Media Consumers เป็นรายการตรวจสอบเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสื่อประเมินบทบาทของตนที่มีต่อสื่อสาธารณะได้อย่างถูกต้อง

10 Common Time Management Mistakes

ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ

         ในการบริหารเวลา          

          เวลาไม่เคยคอยใคร ผู้มีปัญหาเรื่องการบริหารเวลามักจะมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าทำงานไม่ทัน งานที่ได้รับมอบหมายมันช่างมากมายเกินกว่าที่จะทำให้เสร็จได้ และมีหลายชิ้นที่มาเสร็จเอาในวินาทีสุดท้าย หันไปทางไหนก็เจอแต่งานนั่นงานนี่เต็มไปหมด ชีวิตมีแต่ความเครียด หมดกำลังใจที่จะทำงาน และอยากลาออกไปหางานอื่นทำซึ่งน่าจะสบายกว่านี้

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565

10 Common Presentation Mistakes

 


ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ในการนำเสนองาน

          เชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานคงได้เคยนำเสนองาน (presentation) ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาบ้าง เช่น การนำเสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการฝึกอบรมทั้งแบบภายในและภายนอกองค์กร ในส่วนของผู้บริหาร ภารกิจที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง คือ การให้ข้อมูลหรือการแสดงวิสัยทัศน์และโน้มน้าวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องยอมรับในสิ่งเหล่านั้น การนำเสนองานที่มีความซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนจึงจำเป็นต้องหมั่นฝีกฝนทักษะการนำเสนองานและเรียนรู้ว่าอะไรเป็นข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยง

14 Points for Management [Deming]


ปรัชญาการบริหาร 14 ประการของ Deming

          William Edwards Deming (1900-1993) เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเรื่องการบริหารงานคุณภาพและการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม เขาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาการบริหาร 14 ประการไว้ในหนังสือชื่อ Out of the Crisis เพื่อให้ทราบว่ามีการปฏิบัติอะไรบ้างที่จำเป็นต้องทำในระบบการบริหารงานคุณภาพ แต่แทนที่ผู้อ่านจะเข้าใจเจตนาของเขาและรู้ว่าปรัชญาการบริหารทั้ง 14 ข้อนี้ เป็นระบบการบริหารงานคุณภาพที่ต้องทำไปพร้อมกันทั้งหมด กลับไปคิดว่า 14 ข้อนี้เป็นรายการให้เลือกใช้ตามความพร้อมหรือความถนัด Deming จึงได้เสนอแนวคิดเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อง คือ ระบบความรู้เชิงลึก (System of Profound Knowledge) ประกอบด้วยความรู้ 4 เรื่องที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ทั้งปรัชญาการบริหาร 14 และระบบความรู้เชิงลึกไปด้วยกัน จะช่วยให้ผู้เรียนรู้มีความเข้าใจในความเป็นระบบขององค์กรชัดเจนขึ้น และสามารถนำปรัชญาการบริหารนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบงานคุณภาพขององค์กรให้ประสบความสำเร็จได้