การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ
เราพบเห็นผู้นำได้ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจ โคชกีฬา หรือแม้แต่ครูสอนหนังสือในห้องเรียน ก็ล้วนเป็นผู้นำในความหมายของการนำพาผู้ตามให้บรรลุเป้าหมายทั้งของตนเอง ทีมงาน และองค์กรที่ตนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ความเป็นผู้นำจึงเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้า (growth) ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม, ผลิตภาพที่ผู้นำและผู้ตามร่วมกันสร้างขึ้นมา รวมถึงการพัฒนาผู้ตามให้มีความเป็นผู้นำ
John C. Maxwell ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำ ได้อธิบายการพัฒนาภาวะผู้นำไว้ ในหนังสือของเขาชื่อ Developing the Leader Within You และได้ขยายความเพิ่มเติมในหนังสือชื่อ The 5 Levels of Leadership โดยชี้ให้เห็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตั้งแต่ระดับที่หนึ่งซึ่งเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง ผู้ตามจำใจต้องปฏิบัติตามเพียงเพื่อจะได้ไม่ต้องรับโทษ ไปจนถึงผู้นำระดับที่ห้าซึ่งผู้ตามปฏิบัติตามด้วยความรักและความศรัทธาโดยไม่คำนึงว่าผู้นำจะมีตำแหน่งหรือไม่ Maxwell อธิบายเหตุผลที่ทุกองค์กรล้วนต้องการมีผู้นำระดับที่ห้า และแนวทางที่จะพัฒนาขึ้นเป็นผู้นำในระดับนั้น
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ ได้แก่
ระดับที่หนึ่ง: ผู้นำโดยตำแหน่ง (Position)
เป็นระดับต่ำสุดในความเป็นผู้นำ ผู้ที่เข้ามาเป็นผู้นำระดับนี้เพียงระดับเดียว อาจเป็นได้แค่นาย (boss) แต่ไม่มีทางได้เป็นผู้นำ (leader) เขาอาจมีลูกน้องมากมาย แต่ไม่มีทีมงาน ผู้นำระดับนี้จะใช้กฎ ระเบียบ นโยบาย และผังการแบ่งส่วนงานในการควบคุมลูกน้อง ส่วนลูกน้องก็จะเชื่อฟังผู้นำระดับนี้เพียงภายในขอบเขตอำนาจที่ผู้นำมีอยู่เท่านั้น บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถหรือความมานะพากเพียรใดๆ ก็สามารถมาเป็นผู้นำระดับนี้ได้ถ้ามีผู้อุปถัมภ์ ที่จริงแล้วการเป็นผู้นำโดยตำแหน่งก็ไม่ผิดอะไรถ้าผู้นั้นอาศัยโอกาสการได้ขึ้นเป็นผู้นำเป็นจุดเริ่มที่จะพัฒนาให้เติบโตขึ้นเป็นผู้นำระดับต่อไป แต่หากมัวยินดีอิ่มเอิบอยู่กับตำแหน่งและคอยแต่อาศัยเส้นสายหรือให้สินบนตอบแทนแก่ผู้ติดตาม เวลาในการเป็นผู้นำโดยตำแหน่งก็คงอยู่ได้ไม่นานนัก
ผู้นำระดับที่หนึ่งมักพบปัญหาการทำงานในงานอาสาสมัคร เช่น ผู้นำชมรม ผู้นำชุมชน เพราะลำพังตำแหน่ง ไม่มีอิทธิพลอะไรที่จะทำให้ใครอาสามาเป็นผู้ตามหรือเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือ พวกเขารู้ดีว่า ผู้นำโดยตำแหน่งในกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่พวกเขาได้ จึงมักมีการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้นำในกิจกรรมอาสาสมัครอยู่บ่อยครั้ง
ผู้นำระดับที่หนึ่งที่ไม่สนใจที่จะพัฒนาตนให้ก้าวพ้นไปจากระดับนี้ มักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการปกป้องตำแหน่งของตนด้วยการเล่นการเมืองไปวันๆ ผู้นำระดับนี้ไม่มีบารมีหรืออิทธิพลที่แท้จริงใดๆ กับลูกน้อง อยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง และเมื่อไม่มีผู้ตามที่แท้จริง ผู้รู้ทั้งหลายจึงมีความเห็นว่า ไม่สมควรใช้คำว่า “ผู้นำ” กับบุคคลที่ต้องการหยุดสถานะของตนไว้เพียงแค่ผู้นำระดับที่หนึ่ง
ระดับที่สอง: ผู้นำโดยอาศัยความสัมพันธ์ (Permission)
การเปลี่ยนสถานะจากผู้นำโดยตำแหน่งมาเป็นผู้นำโดยอาศัยความสัมพันธ์ นับเป็นก้าวแรกในการเข้าสู่ภาวะความเป็นผู้นำ ความเป็นผู้นำเป็นเรื่องของอิทธิพลที่ผู้นั้นมีต่อคนอื่น เมื่อบุคคลได้เรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ผู้นำโดยอาศัยความสัมพันธ์ ทุกสิ่งจะดูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลูกน้องทั้งหลายจะไม่ได้ปฏิบัติตามผู้นำเพียงเพราะนั่นเป็นคำสั่ง แต่เป็นเพราะความต้องการที่จะทำตามด้วยความเต็มใจ เป็นการยินยอมพร้อมใจให้บุคคลนั้นๆ เป็นผู้นำของตน เป็นอิทธิพลที่เกิดจากความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพราะตำแหน่ง เมื่อใดที่บุคคลรู้สึกพอใจ ได้รับการใส่ใจ รู้สึกเป็นพวก เห็นคุณค่าในตนเอง พวกเขาจะเริ่มให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งกับผู้นำและเพื่อนร่วมงาน บรรยากาศการทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแท้จริง ผู้นำระดับที่สองจึงเป็นผู้นำด้วยความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพราะตำแหน่ง และแม้จะไม่มีตำแหน่งก็สามารถเป็นผู้นำในระดับนี้ได้ ความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรทำให้เกิดพลังและความไว้วางใจซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความสำเร็จของทีมงาน
วิธีที่สามารถนำมาใช้เพื่อการขึ้นเป็นผู้นำระดับนี้คือ
o ให้ความสนใจสมาชิกทีมงานเป็นรายบุคคล เขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นเพียงพนักงานในองค์กร แต่เขายังมีบ้าน มีครอบครัว มีปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแล และมีบุคลิกภาพต่างๆ ที่ผู้นำควรให้ความสนใจ
o สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้สมาชิก ด้วยการสังเกตว่าสมาชิกผู้นั้นมีจุดแข็งในเรื่องอะไร และเมื่อใดที่เขานำจุดแข็งนั้นมาใช้กับทีมงาน ก็ช่วยเสริมเติมให้จุดแข็งนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น
o มีความรักความจริงใจกับผู้ตาม เมื่อผู้นำให้เกียรติและปฏิบัติกับผู้ตามอย่างมีคุณค่า ก็จะเกิดอิทธิพลเชิงบวกขึ้นในความรู้สึกของผู้ตาม เป็นความไว้วางใจซึ่งมักจะตามมาด้วยความเคารพยำเกรง เกิดบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีไม่ว่าสังคมนั้นจะเป็นสังคมในที่ทำงาน สังคมกีฬา หรือกิจกรรมอาสาสมัคร
แม้ว่าการมีความสัมพันธ์ที่ดีจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นผู้นำระดับที่สอง แต่หากผู้นำไม่สามารถสร้างผลงานให้เกิดขึ้นได้ ความเป็นผู้นำก็คงอยู่แค่เพียงระดับที่สอง คือเป็นผู้นำที่สร้างบรรยากาศที่ดีในสถานที่ทำงานเท่านั้น ผู้นำจึงควรอาศัยคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้เป็นรากฐานในการพัฒนาตนขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สามที่สร้างสรรค์ผลงานให้กับองค์กรและส่วนรวมต่อไป
ผู้นำระดับที่สาม: ผู้นำที่มีผลงาน (Production)
ผลงาน คือปัจจัยที่แยกความแตกต่างระหว่างผู้นำระดับที่หนึ่งและสองออกจากระดับที่สาม ผู้นำที่ดีจะต้องมีผลงานที่วัดได้ซึ่งสร้างคุณประโยชน์สำคัญให้กับองค์กร ไม่ใช่ด้วยการทำสำเร็จด้วยตัวผู้นำเพียงผู้เดียว แต่ต้องช่วยให้ทีมงานสามารถสร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำและทีมงาน ช่วยให้ผู้นำสามารถแจกแจงวิสัยทัศน์ของตนโดยได้รับการโต้แย้งน้อยลง
ในการสร้างผลงาน ผู้นำจะต้องจัดลำดับความสำคัญและช่วยผู้ตามหรือสมาชิกทีมงานเลือกภารกิจที่มีความสำคัญ ตามความเห็นของ Maxwell ผู้นำและทีมงานควรใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจดังนี้
o 80% ของเวลา ใช้ไปกับจุดแข็งที่มี
o 15% ของเวลา ใช้ไปในการเรียนรู้
o 5% ของเวลา ใช้ไปกับงานที่ที่อาจไม่ถึงกับเป็นจุดแข็งของทีมงาน
o ไม่ใช้เวลาใดๆ ไปกับงานที่เป็นจุดอ่อนของทีมงาน
ผู้นำระดับที่สี่: พัฒนาบุคคลให้ขึ้นเป็นผู้นำ (People Development)
John C. Maxwell ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำ ได้อธิบายการพัฒนาภาวะผู้นำไว้ ในหนังสือของเขาชื่อ Developing the Leader Within You และได้ขยายความเพิ่มเติมในหนังสือชื่อ The 5 Levels of Leadership โดยชี้ให้เห็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตั้งแต่ระดับที่หนึ่งซึ่งเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง ผู้ตามจำใจต้องปฏิบัติตามเพียงเพื่อจะได้ไม่ต้องรับโทษ ไปจนถึงผู้นำระดับที่ห้าซึ่งผู้ตามปฏิบัติตามด้วยความรักและความศรัทธาโดยไม่คำนึงว่าผู้นำจะมีตำแหน่งหรือไม่ Maxwell อธิบายเหตุผลที่ทุกองค์กรล้วนต้องการมีผู้นำระดับที่ห้า และแนวทางที่จะพัฒนาขึ้นเป็นผู้นำในระดับนั้น
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ ได้แก่
ระดับที่หนึ่ง: ผู้นำโดยตำแหน่ง (Position)
เป็นระดับต่ำสุดในความเป็นผู้นำ ผู้ที่เข้ามาเป็นผู้นำระดับนี้เพียงระดับเดียว อาจเป็นได้แค่นาย (boss) แต่ไม่มีทางได้เป็นผู้นำ (leader) เขาอาจมีลูกน้องมากมาย แต่ไม่มีทีมงาน ผู้นำระดับนี้จะใช้กฎ ระเบียบ นโยบาย และผังการแบ่งส่วนงานในการควบคุมลูกน้อง ส่วนลูกน้องก็จะเชื่อฟังผู้นำระดับนี้เพียงภายในขอบเขตอำนาจที่ผู้นำมีอยู่เท่านั้น บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถหรือความมานะพากเพียรใดๆ ก็สามารถมาเป็นผู้นำระดับนี้ได้ถ้ามีผู้อุปถัมภ์ ที่จริงแล้วการเป็นผู้นำโดยตำแหน่งก็ไม่ผิดอะไรถ้าผู้นั้นอาศัยโอกาสการได้ขึ้นเป็นผู้นำเป็นจุดเริ่มที่จะพัฒนาให้เติบโตขึ้นเป็นผู้นำระดับต่อไป แต่หากมัวยินดีอิ่มเอิบอยู่กับตำแหน่งและคอยแต่อาศัยเส้นสายหรือให้สินบนตอบแทนแก่ผู้ติดตาม เวลาในการเป็นผู้นำโดยตำแหน่งก็คงอยู่ได้ไม่นานนัก
ผู้นำระดับที่หนึ่งมักพบปัญหาการทำงานในงานอาสาสมัคร เช่น ผู้นำชมรม ผู้นำชุมชน เพราะลำพังตำแหน่ง ไม่มีอิทธิพลอะไรที่จะทำให้ใครอาสามาเป็นผู้ตามหรือเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือ พวกเขารู้ดีว่า ผู้นำโดยตำแหน่งในกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่พวกเขาได้ จึงมักมีการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้นำในกิจกรรมอาสาสมัครอยู่บ่อยครั้ง
ผู้นำระดับที่หนึ่งที่ไม่สนใจที่จะพัฒนาตนให้ก้าวพ้นไปจากระดับนี้ มักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการปกป้องตำแหน่งของตนด้วยการเล่นการเมืองไปวันๆ ผู้นำระดับนี้ไม่มีบารมีหรืออิทธิพลที่แท้จริงใดๆ กับลูกน้อง อยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง และเมื่อไม่มีผู้ตามที่แท้จริง ผู้รู้ทั้งหลายจึงมีความเห็นว่า ไม่สมควรใช้คำว่า “ผู้นำ” กับบุคคลที่ต้องการหยุดสถานะของตนไว้เพียงแค่ผู้นำระดับที่หนึ่ง
ระดับที่สอง: ผู้นำโดยอาศัยความสัมพันธ์ (Permission)
การเปลี่ยนสถานะจากผู้นำโดยตำแหน่งมาเป็นผู้นำโดยอาศัยความสัมพันธ์ นับเป็นก้าวแรกในการเข้าสู่ภาวะความเป็นผู้นำ ความเป็นผู้นำเป็นเรื่องของอิทธิพลที่ผู้นั้นมีต่อคนอื่น เมื่อบุคคลได้เรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ผู้นำโดยอาศัยความสัมพันธ์ ทุกสิ่งจะดูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลูกน้องทั้งหลายจะไม่ได้ปฏิบัติตามผู้นำเพียงเพราะนั่นเป็นคำสั่ง แต่เป็นเพราะความต้องการที่จะทำตามด้วยความเต็มใจ เป็นการยินยอมพร้อมใจให้บุคคลนั้นๆ เป็นผู้นำของตน เป็นอิทธิพลที่เกิดจากความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพราะตำแหน่ง เมื่อใดที่บุคคลรู้สึกพอใจ ได้รับการใส่ใจ รู้สึกเป็นพวก เห็นคุณค่าในตนเอง พวกเขาจะเริ่มให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งกับผู้นำและเพื่อนร่วมงาน บรรยากาศการทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแท้จริง ผู้นำระดับที่สองจึงเป็นผู้นำด้วยความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพราะตำแหน่ง และแม้จะไม่มีตำแหน่งก็สามารถเป็นผู้นำในระดับนี้ได้ ความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรทำให้เกิดพลังและความไว้วางใจซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความสำเร็จของทีมงาน
วิธีที่สามารถนำมาใช้เพื่อการขึ้นเป็นผู้นำระดับนี้คือ
o ให้ความสนใจสมาชิกทีมงานเป็นรายบุคคล เขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นเพียงพนักงานในองค์กร แต่เขายังมีบ้าน มีครอบครัว มีปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแล และมีบุคลิกภาพต่างๆ ที่ผู้นำควรให้ความสนใจ
o สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้สมาชิก ด้วยการสังเกตว่าสมาชิกผู้นั้นมีจุดแข็งในเรื่องอะไร และเมื่อใดที่เขานำจุดแข็งนั้นมาใช้กับทีมงาน ก็ช่วยเสริมเติมให้จุดแข็งนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น
o มีความรักความจริงใจกับผู้ตาม เมื่อผู้นำให้เกียรติและปฏิบัติกับผู้ตามอย่างมีคุณค่า ก็จะเกิดอิทธิพลเชิงบวกขึ้นในความรู้สึกของผู้ตาม เป็นความไว้วางใจซึ่งมักจะตามมาด้วยความเคารพยำเกรง เกิดบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีไม่ว่าสังคมนั้นจะเป็นสังคมในที่ทำงาน สังคมกีฬา หรือกิจกรรมอาสาสมัคร
แม้ว่าการมีความสัมพันธ์ที่ดีจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นผู้นำระดับที่สอง แต่หากผู้นำไม่สามารถสร้างผลงานให้เกิดขึ้นได้ ความเป็นผู้นำก็คงอยู่แค่เพียงระดับที่สอง คือเป็นผู้นำที่สร้างบรรยากาศที่ดีในสถานที่ทำงานเท่านั้น ผู้นำจึงควรอาศัยคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้เป็นรากฐานในการพัฒนาตนขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สามที่สร้างสรรค์ผลงานให้กับองค์กรและส่วนรวมต่อไป
ผู้นำระดับที่สาม: ผู้นำที่มีผลงาน (Production)
ผลงาน คือปัจจัยที่แยกความแตกต่างระหว่างผู้นำระดับที่หนึ่งและสองออกจากระดับที่สาม ผู้นำที่ดีจะต้องมีผลงานที่วัดได้ซึ่งสร้างคุณประโยชน์สำคัญให้กับองค์กร ไม่ใช่ด้วยการทำสำเร็จด้วยตัวผู้นำเพียงผู้เดียว แต่ต้องช่วยให้ทีมงานสามารถสร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำและทีมงาน ช่วยให้ผู้นำสามารถแจกแจงวิสัยทัศน์ของตนโดยได้รับการโต้แย้งน้อยลง
ในการสร้างผลงาน ผู้นำจะต้องจัดลำดับความสำคัญและช่วยผู้ตามหรือสมาชิกทีมงานเลือกภารกิจที่มีความสำคัญ ตามความเห็นของ Maxwell ผู้นำและทีมงานควรใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจดังนี้
o 80% ของเวลา ใช้ไปกับจุดแข็งที่มี
o 15% ของเวลา ใช้ไปในการเรียนรู้
o 5% ของเวลา ใช้ไปกับงานที่ที่อาจไม่ถึงกับเป็นจุดแข็งของทีมงาน
o ไม่ใช้เวลาใดๆ ไปกับงานที่เป็นจุดอ่อนของทีมงาน
สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องในขั้นนี้
คือ เป้าหมายองผู้นำ 5 ระดับ ไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาผู้นำจากระดับหนึ่งไปเป็นผู้นำอีกระดับหนึ่ง
แต่เป็นการที่ผู้นำทั้ง 5 ระดับมีส่วนสร้างเสริมซึ่งกันและกัน
ผู้นำระดับที่สามจึงยังจำเป็นที่จะต้องสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่เป็นปัจจัยสำคัญของความเป็นผู้นำระดับที่สองไว้
การมีผลงานเพื่อกลายเป็นผู้นำระดับที่สามจะทำให้สำเร็จได้ดีขึ้นและง่ายขึ้นเมื่อผู้นำมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ตาม
ไม่ใช่ขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สามแล้วก็มุ่งแต่จะสร้างผลงานเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่โดยละทิ้งความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิม
ผู้นำอาจเป็นผู้นำระดับที่สาม สี่ ห้า ได้โดยไม่มีตำแหน่ง แต่โอกาสเช่นนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกทีมงาน
จุดอ่อนที่สำคัญของความเป็นผู้นำระดับที่สามคือ เมื่อผู้นำระดับที่สามผู้นั้นแยกตัวไปหรือพ้นสภาพความเป็นผู้นำของทีมงาน ผลงานที่สร้างไว้มักจะลดลงเพราะผู้ตาม ร่วมสร้างผลงานด้วยพื้นฐานความสัมพันธ์และความศรัทธาที่มีในตัวบุคคล คือกับผู้นำนั้น ไม่ใช่กับใครก็ได้ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำหรือเข้ามาแทนผู้นำคนก่อนที่พ้นสภาพไปจึงจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานเป็นภารกิจแรก และหากสามารถพัฒนาผู้ตามหรือสมาชิกทีมงานให้สร้างผลงานได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องรอการชี้นำจากผู้นำได้ ผู้นั้นก็จะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่ต่อไปได้
จุดอ่อนที่สำคัญของความเป็นผู้นำระดับที่สามคือ เมื่อผู้นำระดับที่สามผู้นั้นแยกตัวไปหรือพ้นสภาพความเป็นผู้นำของทีมงาน ผลงานที่สร้างไว้มักจะลดลงเพราะผู้ตาม ร่วมสร้างผลงานด้วยพื้นฐานความสัมพันธ์และความศรัทธาที่มีในตัวบุคคล คือกับผู้นำนั้น ไม่ใช่กับใครก็ได้ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำหรือเข้ามาแทนผู้นำคนก่อนที่พ้นสภาพไปจึงจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานเป็นภารกิจแรก และหากสามารถพัฒนาผู้ตามหรือสมาชิกทีมงานให้สร้างผลงานได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องรอการชี้นำจากผู้นำได้ ผู้นั้นก็จะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่ต่อไปได้
ผู้นำระดับที่สี่: พัฒนาบุคคลให้ขึ้นเป็นผู้นำ (People Development)
ผู้นำระดับที่สามจะเน้นที่ผลิตภาพของบุคคลและองค์กร ตัวชี้วัดว่าผู้นำมีความสามารถหรือไม่ จึงดูที่ความสามารถในการสร้างทีมงานหรือองค์กรที่มีผลผลิต แต่การจะเป็นผู้นำที่สร้างองค์กรให้กลายเป็นองค์กรชั้นนำซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำระดับที่สี่ ตัวชี้วัดจะเปลี่ยนมาดูที่ความสามารถในการเปลี่ยนตัวเองจากผู้ผลิต (producer) มาเป็นผู้พัฒนา (developer) ทั้งนี้เพราะบุคลากรคือสินทรัพย์ที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร การพัฒนาบุคคลากรจึงเป็นการสร้างผู้ผลิตให้เพิ่มมากขึ้นในองค์กร และเมื่อองค์กรมีผู้ผลิตมากขึ้น ก็ย่อมสามารถสร้างสรรค์ผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้นกว่าการอาศัยหรือพึ่งพิงแต่ผู้นำและทีมงานที่มีอยู่เดิม
ผู้นำระดับที่สี่จะใช้เวลา พลัง งบประมาณ และสติปัญญา ไปในการพัฒนาผู้อื่นให้ขึ้นเป็นผู้นำ เปลี่ยนจุดมุ่งเน้นของตนจากการให้ทีมงานสร้างผลผลิตจำนวนมากๆ มาเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลเหล่านั้น โดยผู้นำจะใช้เวลาของตนเพียง 20% ในการสร้างผลผลิต และใช้เวลา 80% ไปในการพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำ
นี่คือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างผู้นำระดับที่สามและผู้นำระดับที่สี่ ในขณะที่ผู้นำระดับที่สามใช้เวลาเกือบทั้งหมดของตนไปในการสร้างสรรค์ผลงานโดยอาศัยการสนับสนุนจากผู้ตาม แต่ผู้นำระดับที่สี่จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปในการพัฒนาผู้ตามให้ขึ้นมาเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนสามารถขึ้นเป็นผู้นำรุ่นต่อไปได้ ผู้นำระดับที่สี่จึงควรมุ่งเน้นไปในการพัฒนาบุคคลที่มีศักยภาพสูงสุดซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงส่วนบนสุด 20% ของสมาชิกทีมงาน ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่ คือ การมีใจกว้างพอที่จะสนับสนุนผู้อื่นให้เจริญก้าวหน้าโดยไม่คิดถึงตนเอง หรือไม่กลัวว่าลูกน้องจะขึ้นมาวัดรอยเท้าและแทนที่ตน
บุคคลที่ได้รับเลือกพัฒนาให้ขึ้นเป็นผู้นำ ควรมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้นำ คือ มุ่งที่ความสำเร็จของภารกิจ ไม่ใช่สนใจแต่ความเจริญก้าวหน้าของตนเอง และไม่ใช่เมื่อได้เป็นผู้นำแล้วจะหยิบจับอะไรไม่เป็น ได้แต่สั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติ หากเป็นเช่นนั้น องค์กรก็จะได้ผู้นำเพิ่มขึ้นหนึ่งคนและเสียผู้มีความสามารถในการปฏิบัติงานไปหนึ่งคน ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่องค์กร การพัฒนาบุคคลขึ้นเป็นผู้นำจึงเป็นการพัฒนาสมาชิกทีมงานให้เติบโตขึ้นทั้งความสามารถและจิตใจ บุคคลที่ได้รับการพัฒนาและได้รับโอกาสจากผู้นำระดับที่สี่ จะรู้สึกได้ว่าผู้นำนั้นไม่ใช่คิดแต่จะใช้พวกเขาเพื่อความสำเร็จของงานหรือเพื่อความก้าวหน้าของตัวผู้นำเอง การยอมรับด้วยใจนี้อาจส่งผลเป็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องยาวนานแม้จะจบภารกิจหรือทีมงานได้ถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม
ผู้นำระดับที่ห้า: ผู้นำที่ได้รับความเคารพอย่างสูงสุด (Pinnacle)
เป็นระดับสูงสุดในความเป็นผู้นำและเป็นระดับที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำที่แท้จริง มีผู้นำเพียงไม่กี่คนที่สามารถขึ้นถึงผู้นำระดับนี้ เพราะนอกเหนือจากความสามารถในการเป็นผู้นำทั้งสี่ระดับแรกแล้ว ผู้นำระดับที่ห้ายังต้องมีทักษะและความสามารถในการพัฒนาผู้อื่นให้ขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่ได้ด้วย ผู้ที่ขึ้นเป็นผู้นำระดับที่ห้าจะต้องทำหน้าที่และบทบาทความเป็นผู้นำที่ดีต่อเนื่องยาวนานจนสร้างตำนานความเป็นผู้นำให้กับองค์กรที่ตนทำงานอยู่ ได้รับการยกย่องกล่าวขานแม้จะพ้นไปจากองค์กรแล้ว สามารถสร้างผู้นำให้ไปสร้างผู้นำรุ่นต่อๆ ไปเหมือนคลื่นลูกหลังที่ไล่ตามคลื่นลูกแรกอย่างไม่มีหยุดนิ่ง
ผู้นำระดับที่ห้าจะมีความโดดเด่นจากคนอื่นๆ ที่นำความสำเร็จไปในทุกที่ ทำให้องค์กรทั้งองค์กรมีความสำเร็จสูงขึ้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ทุกคนในองค์กร ผู้นำส่วนใหญ่ กว่าจะขึ้นได้ถึงผู้นำระดับที่ห้าก็มักจะเป็นในช่วงท้ายๆ ในอาชีพการงาน ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่เป็นระดับที่จะหยุดพักเพื่อชื่นชมความสำเร็จของตน แต่กลับเป็นระดับที่ผู้นำสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรได้มากที่สุดในชีวิตการทำงาน ผู้นำระดับที่ห้าจึงควรใช้โอกาสนี้ให้เกิดคุณประโยชน์แก่องค์กรด้วยการสร้างผู้นำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จัดการกับสิ่งท้าทายต่างๆ และใช้ความสามารถของตนสร้างความแตกต่างให้เหนือกว่าองค์กรอื่นๆ ในอุตสาหกรรม
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ เป็นเส้นทางที่ผู้นำทุกคนควรจะต้องฝ่าฟัน เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกทีมงานเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิสัยทัศน์ของตน ไปจนถึงการให้คำแนะนำ (coach) บุคคลเหล่านั้นให้กลายเป็นผู้นำที่สามารถให้คำแนะนำผู้อื่นให้เติบโตขึ้นเป็นผู้นำในรุ่นต่อๆ ไป เป็นการทำงานเป็นทีมที่มีการสร้าง พัฒนา เก็บรักษา และส่งต่อ เพื่อการสร้าง พัฒนา ... ต่อเนื่องต่อไป การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ 5 ระดับนี้จึงเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถสร้างความเติบโตก้าวหน้าที่ยั่งยืนให้กับองค์กรได้ในระยะยาว
สำหรับผู้นำระดับที่ห้า (Level 5 Leadership) เป็นระดับการพัฒนาที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ผู้เขียนจึงได้แยกเขียนผู้นำระดับที่ห้า เป็นเอกเทศต่างหากอีกบทความหนึ่ง
บทความที่เกี่ยวข้องซึ่งขอแนะนำให้อ่านประกอบ
ผู้นำระดับที่สี่จะใช้เวลา พลัง งบประมาณ และสติปัญญา ไปในการพัฒนาผู้อื่นให้ขึ้นเป็นผู้นำ เปลี่ยนจุดมุ่งเน้นของตนจากการให้ทีมงานสร้างผลผลิตจำนวนมากๆ มาเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลเหล่านั้น โดยผู้นำจะใช้เวลาของตนเพียง 20% ในการสร้างผลผลิต และใช้เวลา 80% ไปในการพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำ
นี่คือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างผู้นำระดับที่สามและผู้นำระดับที่สี่ ในขณะที่ผู้นำระดับที่สามใช้เวลาเกือบทั้งหมดของตนไปในการสร้างสรรค์ผลงานโดยอาศัยการสนับสนุนจากผู้ตาม แต่ผู้นำระดับที่สี่จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปในการพัฒนาผู้ตามให้ขึ้นมาเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนสามารถขึ้นเป็นผู้นำรุ่นต่อไปได้ ผู้นำระดับที่สี่จึงควรมุ่งเน้นไปในการพัฒนาบุคคลที่มีศักยภาพสูงสุดซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงส่วนบนสุด 20% ของสมาชิกทีมงาน ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่ คือ การมีใจกว้างพอที่จะสนับสนุนผู้อื่นให้เจริญก้าวหน้าโดยไม่คิดถึงตนเอง หรือไม่กลัวว่าลูกน้องจะขึ้นมาวัดรอยเท้าและแทนที่ตน
บุคคลที่ได้รับเลือกพัฒนาให้ขึ้นเป็นผู้นำ ควรมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้นำ คือ มุ่งที่ความสำเร็จของภารกิจ ไม่ใช่สนใจแต่ความเจริญก้าวหน้าของตนเอง และไม่ใช่เมื่อได้เป็นผู้นำแล้วจะหยิบจับอะไรไม่เป็น ได้แต่สั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติ หากเป็นเช่นนั้น องค์กรก็จะได้ผู้นำเพิ่มขึ้นหนึ่งคนและเสียผู้มีความสามารถในการปฏิบัติงานไปหนึ่งคน ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่องค์กร การพัฒนาบุคคลขึ้นเป็นผู้นำจึงเป็นการพัฒนาสมาชิกทีมงานให้เติบโตขึ้นทั้งความสามารถและจิตใจ บุคคลที่ได้รับการพัฒนาและได้รับโอกาสจากผู้นำระดับที่สี่ จะรู้สึกได้ว่าผู้นำนั้นไม่ใช่คิดแต่จะใช้พวกเขาเพื่อความสำเร็จของงานหรือเพื่อความก้าวหน้าของตัวผู้นำเอง การยอมรับด้วยใจนี้อาจส่งผลเป็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องยาวนานแม้จะจบภารกิจหรือทีมงานได้ถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม
ผู้นำระดับที่ห้า: ผู้นำที่ได้รับความเคารพอย่างสูงสุด (Pinnacle)
เป็นระดับสูงสุดในความเป็นผู้นำและเป็นระดับที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำที่แท้จริง มีผู้นำเพียงไม่กี่คนที่สามารถขึ้นถึงผู้นำระดับนี้ เพราะนอกเหนือจากความสามารถในการเป็นผู้นำทั้งสี่ระดับแรกแล้ว ผู้นำระดับที่ห้ายังต้องมีทักษะและความสามารถในการพัฒนาผู้อื่นให้ขึ้นเป็นผู้นำระดับที่สี่ได้ด้วย ผู้ที่ขึ้นเป็นผู้นำระดับที่ห้าจะต้องทำหน้าที่และบทบาทความเป็นผู้นำที่ดีต่อเนื่องยาวนานจนสร้างตำนานความเป็นผู้นำให้กับองค์กรที่ตนทำงานอยู่ ได้รับการยกย่องกล่าวขานแม้จะพ้นไปจากองค์กรแล้ว สามารถสร้างผู้นำให้ไปสร้างผู้นำรุ่นต่อๆ ไปเหมือนคลื่นลูกหลังที่ไล่ตามคลื่นลูกแรกอย่างไม่มีหยุดนิ่ง
ผู้นำระดับที่ห้าจะมีความโดดเด่นจากคนอื่นๆ ที่นำความสำเร็จไปในทุกที่ ทำให้องค์กรทั้งองค์กรมีความสำเร็จสูงขึ้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ทุกคนในองค์กร ผู้นำส่วนใหญ่ กว่าจะขึ้นได้ถึงผู้นำระดับที่ห้าก็มักจะเป็นในช่วงท้ายๆ ในอาชีพการงาน ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่เป็นระดับที่จะหยุดพักเพื่อชื่นชมความสำเร็จของตน แต่กลับเป็นระดับที่ผู้นำสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรได้มากที่สุดในชีวิตการทำงาน ผู้นำระดับที่ห้าจึงควรใช้โอกาสนี้ให้เกิดคุณประโยชน์แก่องค์กรด้วยการสร้างผู้นำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จัดการกับสิ่งท้าทายต่างๆ และใช้ความสามารถของตนสร้างความแตกต่างให้เหนือกว่าองค์กรอื่นๆ ในอุตสาหกรรม
การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ เป็นเส้นทางที่ผู้นำทุกคนควรจะต้องฝ่าฟัน เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกทีมงานเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิสัยทัศน์ของตน ไปจนถึงการให้คำแนะนำ (coach) บุคคลเหล่านั้นให้กลายเป็นผู้นำที่สามารถให้คำแนะนำผู้อื่นให้เติบโตขึ้นเป็นผู้นำในรุ่นต่อๆ ไป เป็นการทำงานเป็นทีมที่มีการสร้าง พัฒนา เก็บรักษา และส่งต่อ เพื่อการสร้าง พัฒนา ... ต่อเนื่องต่อไป การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ 5 ระดับนี้จึงเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถสร้างความเติบโตก้าวหน้าที่ยั่งยืนให้กับองค์กรได้ในระยะยาว
สำหรับผู้นำระดับที่ห้า (Level 5 Leadership) เป็นระดับการพัฒนาที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ผู้เขียนจึงได้แยกเขียนผู้นำระดับที่ห้า เป็นเอกเทศต่างหากอีกบทความหนึ่ง
บทความที่เกี่ยวข้องซึ่งขอแนะนำให้อ่านประกอบ
- 3 Levels of Leadership Model [James Scouller]
- 4 Factors Theory of Leadership
- 5 Key Team Performance Factors
- 7 Transformations of Leadership
- 14 Misconceptions About Leadership
- Building Great Work Relationship
- Level 5 Leadership
- Objectives and Key Results (OKR)
- Perceptual Positions
- ผ่าทฤษฎีผู้นำ
---------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น