วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Problem Behaviors [Waldroop and Butler]


พฤติกรรม 6 ประการ
ที่เป็นปัญหากับทีมงาน

          คนเรา ถึงจะมีความรู้สามารถมากมายเพียงใด ก็อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่สร้างปัญหาให้กับคนอื่นได้โดยไม่ตั้งใจ เช่น จุกจิกในรายละเอียดต่างๆ มากเกินไป, กลัวคนอื่นทำไม่ได้อย่างใจจึงกวาดงานมาทำเองจนล้น, หรือต้องการให้งานมีความสำคัญจึงปั่นงานธรรมดาๆ ให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตโดยไม่จำเป็น พฤติกรรมดังกล่าวอาจมาจากความหวังดีของเจ้าของพฤติกรรมที่ต้องการให้งานสมบูรณ์ถูกต้องด้วยมาตรฐานสูงสุดโดยไม่ทันได้นึกถึงผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ผู้บริหารและผู้นำ (ต่อไปจะใช้คำว่าผู้นำอย่างเดียวเพื่อความกระชับของเนื้อหา) จะต้องสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเหล่านี้และเข้าจัดการแก้ไขทันทีก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาของทีมงานหรือขององค์กร

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Principles of Influence [Cialdini]


หลัก 6 ประการที่มีอิทธิพลให้รู้สึกคล้อยตาม

          Dr. Robert Cialdini เป็นนักจิตวิทยาที่พยายามทำความเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ เขาใช้เวลาเกือบสามปีในการทำวิจัยเชิงจิตวิทยาโครงการฝึกอบรมนักขายและนักการตลาดเพื่อให้รู้ว่าบุคคลในงานอาชีพดังกล่าวทำให้ผู้อื่นยอมรับข้อเสนอของพวกเขาได้อย่างไร ผลงานวิจัยถูกนำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Influence: The Psychology of Persuasion (1984) ซึ่งได้ใช้เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์จิตวิทยาสังคมที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจซื้อต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน Cialdini เชื่อว่า มีหลักทั่วไป 6 ประการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ได้แก่

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Emotional Leadership Styles [Goleman]


ภาวะผู้นำ 6 รูปแบบที่ส่งผลต่อ
อารมณ์ความรู้สึกของทีมงาน

          เชื่อว่าหลายท่านที่อ่านบทความนี้คงมีผู้นำที่ชื่นชมอยู่ในใจบ้างไม่มากก็น้อย ความรู้สึกชื่นชมที่ว่านี้ น่าจะไม่ใช่มาจากฐานะตำแหน่งของผู้นำ แต่มาจากการที่ผู้นำนั้นสามารถใช้ภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาส สร้างบรรยากาศความกระตือรือร้นให้ทีมงานอยากทะยานออกไปปฏิบัติภารกิจในความรับผิดชอบให้สำเร็จโดยเร็ว มีความสุขในการทำงาน ภูมิใจที่ได้แสดงความคิดเห็นและเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานซึ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในทางตรงข้าม ก็อาจมีผู้อ่านหลายท่านมีความรู้สึกด้านลบกับผู้นำซึ่งแม้จะมีการแสดงออกที่นุ่มนวลเปิดกว้าง แต่ทีมงานกลับเต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง หรือไม่พอใจผู้นำที่ชอบแต่สั่งๆ ในเวลาที่ควรรับฟังความคิดเห็นของทีมงาน หรือผู้นำที่ไม่ยอมตัดสินใจในเวลาที่ควรใช้ความเด็ดขาด

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Change Approaches [Kotter and Schlesinger]


6 แนวทางในการบริหาร
การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

          การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี คู่แข่งรายใหม่ กฎระเบียบทางราชการ ล้วนเป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่การจะปรับเปลี่ยนเช่นว่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ เพราะในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมจะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบอยู่บ้างไม่มากก็น้อย และเป็นธรรมดาอยู่เองที่บุคคลเหล่านี้จะออกมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรือต่อรองให้การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลกระทบเชิงลบต่อตนน้อยที่สุด

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

6 Categories of Intervention [Heron]

 


การให้ความช่วยเหลือแนะนำ
ใน 6 รูปแบบ [Heron]

          ในการทำงาน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหน้าที่หรือธุรกิจอุตสาหกรรมประเภทใด ล้วนมีโอกาสได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือคำแนะนำจากคุณในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง การให้ความช่วยเหลือของคุณอาจจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของพวกเขาและยังมีผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การมีเทคนิคการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้รับ จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ทั้งต่อความสำเร็จของงานและการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal skill)

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563

5-Step Strategy Model [Lafley and Martin]


การสร้างกลยุทธ์ด้วยการตอบชุดคำถาม 5 ข้อ

          กลยุทธ์ธุรกิจแตกต่างจากการวางแผนธุรกิจโดยทั่วไปตรงที่ กลยุทธ์มุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ส่วนแผนธุรกิจมุ่งทำเป้าหมายของกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ความสำเร็จของธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจการผูกขาดที่มีอยู่เพียงรายเดียวในตลาดหรือเป็นธุรกิจที่มีสินค้าบริการที่ดีที่สุดในโลก สินค้าบริการที่พบเห็นได้ทั่วไปก็สามารถสร้างความสำเร็จในทางธุรกิจได้ ขอเพียงมีกลยุทธ์ที่สร้างความเป็นต่อ (edge) เหนือคู่แข่งและนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า จะพัฒนากลยุทธ์ที่ว่านี้ขึ้นมาได้อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

5S System


ระบบ 5ส เครื่องมือเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          5S หรือ 5ส คือระบบการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการทำพื้นที่ทำงานให้สะอาด ไม่รกไปด้วยข้าวของที่ไม่ได้ใช้ มีความปลอดภัย มีความเป็นระเบียบ เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีคุณภาพทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพื่อให้บุคคลทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่เสียเวลาไปกับการค้นหา, เคลื่อนไหวร่างกายในการหยิบจับสิ่งของเครื่องใช้ในการทำงาน, หรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ระบบ 5ส เหมาะกับการผลิตที่เน้นไม่ให้เกิดความสูญเปล่า (lean manufacturing) ควบคุมด้วยการมองเห็น (visual control) และเป็นพื้นฐานเริ่มแรกในการสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

5E Instructional Model



5 ลำดับขั้นการเรียนการสอน
ที่ควรนำมาใช้ปฏิบัติ

          รูปแบบการสอนแบบ 5E เป็นกลยุทธ์การสอนที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างทั้งความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และปูทางให้กับการพัฒนาทักษะโดยใช้การตั้งคำถาม (inquiry) เป็นพื้นฐานในการให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้หรือฝึกฝน มาทดลองปฏิบัติหรือแสวงหาคำตอบ เกิดเป็นการเรียนรู้จากความเข้าใจที่ผู้เรียนค่อยๆ สร้างสมขึ้นมา โดยผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยแนะนำแก้ไขและเสริมต่อในส่วนที่จำเป็น ต่างจากการสอนแบบเดิมที่ใช้การป้อนความรู้จากผู้สอนเป็นหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

5 Whys



การค้นหาสาเหตุปัญหาด้วยการตั้งคำถาม "ทำไม" 5 ครั้ง

          ปัญหาที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่ามี อาจเกิดขึ้นกับบุคคล ทีมงาน หรือกระบวนการทำงานได้ทุกเมื่อ บ่อยครั้งที่สิ่งซึ่งเราคิดว่าเป็นตัวปัญหา กลับเป็นเพียงอาการภายนอกที่คลุมปัญหาที่แท้จริงไว้ภายในเปรียบเหมือนการไอซึ่งไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นเพียงอาการของไข้หรือหลอดลมอักเสบ การแก้ปัญหาตามอาการที่เกิดขึ้น อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและสะดวก แต่หากการแก้ไขนั้นไม่ได้แก้ที่สาเหตุ ปัญหานั้นก็อาจจะหวนกลับมาเกิดซ้ำได้อีก

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

5 Stages of Grief [Ross and Kessler]


5 ลำดับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
ต่อความสูญเสียในชีวิต

          Elisabeth Kubler-Ross นักจิตวิทยาชาวสวิส-อเมริกัน และ David Kessler ได้นำเสนอแนวคิดที่ว่า ผู้ป่วยหนักที่ใกล้จะเสียชีวิต และผู้ที่สูญเสียบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก จะมีสภาระอารมณ์ที่สับสนและเปลี่ยนแปลงไปเป็นห้าลำดับ เริ่มตั้งแต่การปฏิเสธไม่ยอมรับกับเรื่องที่เกิดขึ้น, ความโกรธเพื่อระบายความอัดอั้น, การต่อรองเพื่อแลกกับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น, ความสิ้นหวัง ท้อแท้, และการยอมรับความเป็นจริงของชีวิต แม้สภาวะทางอารมณ์ทั้งห้านี้จะอ่านพบได้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นทฤษฎี ในทางจิตวิทยามองแนวคิดนี้ว่าอาจมีคุณค่าอยู่บ้างในอดีต แต่ค่อนข้างจะล้าสมัยสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ในปัจจุบัน