การจะนำกระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมมาใช้ได้นั้น องค์กรต้องมีความพร้อมรในสามประการนี้ ได้แก่
1. พนักงานต้องมีความเชื่อว่าผู้บริหารเอาจริงในเรื่องความปลอดภัย
1. พนักงานต้องมีความเชื่อว่าผู้บริหารเอาจริงในเรื่องความปลอดภัย
2. ผู้บริหารต้องแสดงออกถึงความเอาจริงดังกล่าวด้วยการทำให้เห็นว่าได้จัดเตรียมหรือพร้อมที่จะให้อุปกรณ์เครื่องมือที่ช่วยในการทำงาน
3. พนักงานมีความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือกับผู้บริหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
3. พนักงานมีความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือกับผู้บริหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
1) สร้างแบบสำรวจพฤติกรรมที่มีผลอย่างสำคัญต่อความปลอดภัย
2) ออกแบบกระบวนการที่พนักงานสามารถทำการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยของเพื่อนร่วมงาน
3) พัฒนากระบวนการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาสร้างเป็นแผนปฏิบัติการ
o นิยามความหมายของพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมาย
o วิธีการจัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมเพื่อให้สามารถบันทึกพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายเมื่อเกิดขึ้น
o มาตรการแทรกแซงที่จะนำมาใช้พัฒนาพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมความปลอดภัย
o การจัดทำแผนภูมิรายงานความก้าวหน้า
o การให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิผล
กระบวนการความปลอดภัยไม่ได้นำมาใช้แทนกระบวนการความปลอดภัยปัจจุบันที่องค์กรมีอยู่ แต่จะใช้เสริมมาตรการที่มีอยู่เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและเพื่อช่วยรวบรวมข้อมูลซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถจัดลำดับความสำคัญของสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยได้ชัดเจนขึ้น แม้ว่ากระบวนการนี้จะใช้ชื่อว่า “ความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องแต่เฉพาะเรื่องพฤติกรรมเพราะมาตรการนี้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาจัดหาหรือบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายไปพร้อมๆ กับการสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย บ่อยครั้งที่เครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายเป็นสาเหตุของความเสี่ยงเสียเอง การสังเกตของทีมงานในกรบวนการความปลอดภัยจะให้ข้อมูลที่งานวิศวกรรมหรือซ่อมบำรุงสามารถนำไปใช้แก้ไขอันตรายหรือความเสี่ยงที่มีอยู่ได้
พนักงานที่ยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของกระบวนการความปลอดภัยเชิงพฤติกรรมอาจมองกระบวนการนี้ว่าเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารใช้สอดแนมการทำงานของพนักงาน ความเข้าใจผิดเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ ผู้บริหารจะต้องพยายามให้กระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานทำงานกันอย่างปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็จะต้องจัดการแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายที่อาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยไปในเวลากัน ภาวะผู้นำของผู้บริหารและหัวหน้างานทั้งหลายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยสร้างความไว้วางใจและแก้ความรู้สึกที่ไม่ดีดังกล่าวได้ ผู้บริหารและหัวหน้างานนอกจากจะต้องให้การสนับสนุนการดำเนินการตามแผนงานที่ทีมงาน (design team) ได้เสนอไว้แล้ว ก็ยังควรเข้าร่วมในการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการทำงานเช่นเดียวกับพนักงานอื่นๆ ด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องซึ่งขอแนะนำให้อ่านประกอบ
- 6 Problem Behaviors [Waldroop and Butler]
- Behavioral Assessment
- Behavioral Change Model
- Behavioral Theory of the Firm
- Situation-Behavior-Impact Feedback Tool
- Theory of Planned Behavior
- การพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัย ควรเปลี่ยนเจตคติก่อน หรือเปลี่ยนพฤติกรรมก่อน
--------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น