วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3C Model [Ohmae]


ปัจจัยหลักสามประการในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด 

          3C Model คือ รูปแบบการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1982 โดย Kenichi Ohmae นักทฤษฎีองค์กรและนักกลยุทธ์ธุรกิจที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น เป็นรูปแบบธุรกิจที่มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยหลัก 3 ประการแห่งความสำเร็จ คือ ลูกค้า (Customer), องค์กร (Corporation), และ คู่แข่ง (Competitor) ปัจจัยทั้งสามนี้ต้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุลในรูปสามเหลี่ยมกลยุทธ์ จึงจะเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3 Levels of Strategy

       

กลยุทธ์ 3 ระดับในองค์กร

          ธุรกิจทุกประเภทย่อมต้องมีการแข่งขัน กลยุทธ์จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจและเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจหนึ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าธุรกิจอื่น ต่อให้คุณมีความคิดดีๆ ในการดำเนินธุรกิจและมีสินค้าที่น่าจะได้รับความนิยมเป็นอย่างดี แต่หากปราศจากกลยุทธ์เสียแล้ว ความคิดและสินค้าที่ดีเหล่านั้นก็อาจไม่สามารถสร้างความสำเร็จให้กับคุณได้ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายที่คุณก็คงพอจะนึกชื่อออกมาได้มากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ชั้นยอดทั้งสิ้น ความสำเร็จของบุคคลไม่ใช่สิ่งที่ได้มาด้วยความบังเอิญ ดังนั้นหากคุณประสงค์จะประสบความสำเร็จ คุณจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำในการทำธุรกิจ

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3 Levels of Leadership Model [James Scouller]


การใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ 

          ผู้ที่เคยอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้เรื่อง “การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำใน 5 ระดับ” (5 Levels of Leadership) ของ John C. Maxwell อาจเกิดคำถามหรือความสับสนขึ้นในใจว่า ตกลง ภาวะผู้นำมี 3 หรือ 5 ระดับกันแน่ จึงขอทบทวนเพื่อป้องกันความสับสนไว้ ณ ที่นี้ว่า 5 Levels of Leadership ของ John C. Maxwell เป็นการแบ่งผู้นำตามระดับ การพัฒนาภาวะผู้นำ คือ เริ่มจากผู้นำระดับหนึ่ง “ผู้นำโดยตำแหน่ง” ซึ่งยังไม่ถือว่ามีการพัฒนาอะไรเพราะใครก็ตามที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ก็จะมีสถานะความเป็นหัวหน้า หรือผู้นำโดยตำแหน่ง ที่ลูกน้องจะต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว ต่อเมื่อพัฒนาไปถึงผู้นำระดับห้า จึงถือว่าเป็นผู้นำที่ได้รับการจดจำและเป็นสุดยอดของความเป็นผู้นำ ส่วนการใช้ภาวะผู้นำในสามระดับ (3 Levels of Leadership Model) ของ James Scouller เป็นเรื่อง การนำภาวะผู้นำไปใช้ในระดับที่แตกต่างกัน สามระดับ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563

3 Horizons of Growth [McKinsey]


การพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าใน 3 ช่วงเวลา
          
          Steve Coley ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์ของ McKinsey’s Chicago Office และคณะ ได้เสนอกรอบความคิดทางการบริหารที่เรียกว่า McKinsey’s Three Horizons of Growth ในหนังสือชื่อ “The Alchemy of Growth” สาระสำคัญของเนื้อหา คือการแบ่งช่วงเวลา (horizon) ของการพัฒนาธุรกิจออกเป็นสามช่วง แต่ละช่วง มีกิจกรรมหรือโครงการที่บริษัทจะต้องบริหารจัดการเพื่อรักษาความมั่นคงของธุรกิจในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็อาศัยความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันสร้างโอกาสการเติบโตก้าวหน้าของธุรกิจในอนาคตไปพร้อมกัน กิจกรรมหรือโครงการที่อยู่ในแต่ละช่วงเวลาจะต้องใช้การประเมินผลหรือตัวชี้วัดความสำเร็จที่แตกต่างกัน เพราะหากคุณนำแนวคิดของโครงการใหม่ที่อยู่ระหว่างการปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง มาเปรียบเทียบกับโครงการที่มีความมั่นคงและมีกำไรแล้ว โครงการใหม่ของคุณก็คงไม่มีโอกาสได้เกิดหรือประสบความสำเร็จได้เลย