วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

17 Principles of Success [Napoleon Hill]


หลัก 17 ประการสู่ความสำเร็จ

          ในปี ค.ศ. 1908 Napoleon Hill ได้สัมภาษณ์ Andrew Carnegie หนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลและรวยมากที่สุดคนหนึ่งในวงการธุรกิจสมัยนั้น จากการสัมภาษณ์ Carnegie ได้มอบหมายเชิงท้าทายให้ Napoleon Hill ทำวิจัยและสัมภาษณ์บุคคลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด 500 คนในยุคนั้น เพื่อให้ได้คำตอบว่า อะไรคือหลักของความสำเร็จ

14 Steps for Quality Improvement [Crosby]

 


การปรับปรุงคุณภาพ 14 ขั้นตอน

          การปรับปรุงคุณภาพเป็นงานที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติซึ่งอาจไปกระทบความรู้สึกเคยชินของผู้คน และยังมีเรื่องที่ต้องทำมากมายจนไม่รู้แน่ชัดว่ามีอะไรติองทำบ้าง และควรเริ่มที่ใดก่อน คุณภาพไม่ได้จำกัดอยู่แค่ที่ตัวสินค้าหรือบริการ แต่อยู่ในทุกส่วนของงานที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งซื้อ การออกบิลเรียกเก็บเงินลูกค้า การตอบสนองความต้องการหรือปัญหาของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงดูจะมากมายจนไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวจะบานปลายและกลายเป็นการกระทบกระทั่ง เว้นเสียแต่ว่าจะมีกรอบการทำงานที่เป็นระบบมาใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

10 Types of Innovation [Doblin]


นวัตกรรม 10 ประเภท

          บริษัททั้งหลายที่อยู่ในตลาดการแข่งขัน จำเป็นต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่านวัตกรรมเพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งในตลาดได้ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทำได้หลายวิธี แต่การเลือกวิธีที่เหมาะสมกับบริษัทและทรัพยากรที่มีอยู่ ได้มากที่สุด ถือเป็นหัวใจของความสำเร็จ นวัตกรรมเป็นพลังขับดันของธุรกิจ หากบริษัทไม่ได้มีการสร้างสรรค์สิ่งใดใหม่ขึ้นมา ผลที่เกิดขึ้นกับบริษัท อย่างดีที่สุดก็คือ การย่ำอยู่กับที่ ไม่พัฒนาไปไหน แต่ที่เลวร้ายที่สุดอาจถึงขั้นม้วนเสื่อ แม้ว่าคุณจะมีความคิดริเริ่มที่ดีอย่างไรในตอนเริ่มธุรกิจ คุณก็ยังจำเป็นต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ต้องตกเป็นผู้ล้าหลังคู่แข่งที่มีนวัตกรรม

12 Rules for Life [Peterson]


กฎ 12 ข้อในการดำเนินชีวิต

          12 Rules for Life: An Antidote to Chaos หรือ กฎ 12 ข้อในการดำเนินชีวิต เป็นชื่อหนังสือติดอันดับหนังสือขายดี เขียนโดย Jordan B. Peterson นักจิตวิทยาชาวแคนาดา และศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโตรอนโต้ เนื้อหามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจิตใจของตนด้วยการสร้างความรู้สึกมั่นใจในตนเอง ค้นหาคุณค่าในตนเอง เลือกคบคนที่จะไม่ดึงเราลงต่ำ ไม่นำคนไปเทียบกับคนอื่น ให้ความรักความเมตตากับผู้คนรอบข้าง รวมไปถึงการเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดี

14 Misconceptions About Leadership

 


ความเข้าใจผิด 14 ประการ
ในเรื่องภาวะผู้นำ

          ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เช่น ผู้นำคือผู้ที่มีความสามารถพิเศษกว่าคนทั่วไป อาจส่งผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ ผลในทางบวกคือ เกิดเป็นความศรัทธาและความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ ส่วนผลในทางลบคือ การวางมือ ปล่อยให้ผู้นำได้ใช้ความสามารถที่เป็นพิเศษนั้นดำเนินการไปเพียงลำพัง โดยทีมงานคอยแต่จะรับคำสั่งและความช่วยเหลือจากผู้นำ

14 Principles of Management [Fayol]


หลักการบริหาร 14 ประการของ Fayol

          เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การผลิตสินค้าได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรแทนแรงคน และเปลี่ยนแหล่งกำเนิดสินค้า จากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการศึกษาและพัฒนาความรู้เรื่องการบริหาร แทบไม่มีเครื่องมือ, model, หรือวิธีการบริหารอะไรให้ผู้บริหารได้ใช้เลย แม้ว่าเมื่อสิ้นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จะมีการสร้างหลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เช่น หลักการบริหารของ Taylor ก็เป็นเพียงการหาวิธีการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าครั้งละมากๆ แต่ขาดหลักที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร Henry Fayol (1841-1925) นับเป็นคนแรกที่ได้วางรากฐานการบริหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การสังเกตและการวิเคราะห์ประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารอยู่นานหลายปี และนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็น หลักการบริหาร 14 ประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

10 Common Communication Mistakes

 

ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ในการสื่อสาร

          การสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินและความยั่งยืนทางธุรกิจ Peter Drucker บิดาการบริหารสมัยใหม่เคยกล่าวว่า 60% ของปัญหาทางการบริหาร เป็นผลมาจากการสื่อสารที่ไม่ดี

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

360 Degree Feedback and Evaluation


ข้อมูลป้อนกลับและการประเมินผล
แบบ 360 องศา

          ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา คุณอาจมีประเด็นหรือหัวข้อที่จะใช้ในการประเมินอยู่ในมือ และมั่นใจว่าหัวข้อเหล่านั้นสามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานของลูกน้องคุณได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ทำกันแบบเดิมซึ่งมีผู้ประเมินเพียงคนเดียวในลักษณะจากบนลงล่าง แม้หัวข้อการประเมินจะครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด ก็อาจให้ภาพที่ไม่ครบถ้วน ส่วนที่ขาดหายไปคือ ข้อเท็จจริงที่อาจถูกบิดเบือนไปด้วยมุมมองส่วนตัวและอคติที่มีอยู่ในใจของผู้ประเมิน แต่ด้วยการประเมินแบบ 360 องศา คุณจะได้รับข้อมูลจากผู้ประเมินคนอื่นๆ ที่มาช่วยเติมภาพในส่วนที่ขาดหายหรือที่ถูกบิดเบือนไป ข้อมูลจากมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลาย จะปะติดปะต่อกันเป็นภาพที่สมบูรณ์ ผู้ประเมินคนหนึ่งอาจให้มุมมองที่คับแคบหรือมีอคติ แต่ผู้ประเมินอื่นๆ อาจให้ภาพที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่า การประเมินด้วยวิธีนี้จึงไม่เพียงให้ภาพที่ชัดเจนว่าควรพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของพนักงานในเรื่องใด แต่ยังช่วยให้เกิดการทำงานเป็นทีม การประจบประแจงเจ้านายจะไม่มีผลใดๆ หากข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินของคนอื่นๆ ชี้ว่าพนักงานผู้นี้ขี้โอ่ ไม่ให้ความร่วมมือ เอาเปรียบ และชอบเอาการเมืองมาใช้ในการทำงาน

70-20-10 Rule

 

กฎ 70-20-10

กฎ 70-20-10 คืออะไร มีที่มาอย่างไร
          กฎ 70-20-10 เป็น Model เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา บางครั้งเขียนว่า 70:20:10 หรือ 70/20/10 เป็น model ที่แตกวิธีการเรียนรู้ของบุคคลออกเป็นส่วนๆ สัดส่วนของกฎ 70-20-10 ได้มาจากการสำรวจสอบถามผู้บริหารระดับสูงประมาณ 200 คนว่าพวกเขาเรียนรู้หรือได้ความรู้ในการทำงานมาอย่างไร วัตถุประสงค์ของการสำรวจ เพื่อชี้ให้เห็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้นมีวิธีการพัฒนาความรู้ความสามารถของพวกเขามาอย่างไร

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

10 Common Strategy Mistakes


ความผิดพลาดพื้นฐาน 10 ประการ
ในการจัดการกลยุทธ์

          กลยุทธ์ เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินงาน และเป็นที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขัน ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ คือผู้ที่วางกลยุทธ์ได้เหมาะสมกับสภาพปัญหา สภาพแวดล้อม ทรัพยากร และสามารถดำเนินกลยุทธ์นั้นได้อย่างไม่ผิดพลาด กลยุทธ์และการดำเนินกลยุทธ์จึงเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ แต่แม้จะเข้าใจในความสำคัญของกลยุทธ์เพียงใด ก็มีผู้บริหารจำนวนไม่มากนักที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกลยุทธ์

14 Steps for Quality Improvement [Philip Crosby]

 


การปรับปรุงคุณภาพ 14 ขั้นตอน

          การปรับปรุงคุณภาพเป็นงานที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติซึ่งอาจไปกระทบความรู้สึกเคยชินของผู้คน และยังมีเรื่องที่ต้องทำมากมายจนไม่รู้แน่ชัดว่ามีอะไรติองทำบ้าง และควรเริ่มที่ใดก่อน คุณภาพไม่ได้จำกัดอยู่แค่ที่ตัวสินค้าหรือบริการ แต่อยู่ในทุกส่วนของงานที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งซื้อ การออกบิลเรียกเก็บเงินลูกค้า การตอบสนองความต้องการหรือปัญหาของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงดูจะมากมายจนไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวจะบานปลายและกลายเป็นการกระทบกระทั่ง เว้นเสียแต่ว่าจะมีกรอบการทำงานที่เป็นระบบมาใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

3D Leadership Model [Reddin]


ประสิทธิผลของผู้นำใน 3 มิติ

          ภาวะผู้นำ 3 มิติ (3D Leadership Model) หรือ Three-Dimensional Grid เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการนำรูปแบบการบริหารไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นผลงานของ Bill Reddin ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมการบริหารชาวอังกฤษผู้พัฒนาแนวคิดเรื่อง Situational Demands ซึ่งกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้บริหารหรือผู้นำที่ควรมีหรือควรเป็นในสถานการณ์ที่กำหนด แม้ผู้นำแต่ละคนจะมีรูปแบบการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแต่ก็ไม่ควรยึดติดอยู่กับรูปแบบนั้น ควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่จึงจะสามารถสร้างความสำเร็จที่แท้จริงได้

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

9-Box Grid for Talent Management

 


ตาราง 9 ช่อง
เพื่อการบริหารและพัฒนาพนักงาน


          ตาราง 9 ช่อง (9 box grid) คือเครื่องมือทางการบริหารชนิดหนึ่งที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในงานทรัพยากรมนุษย์เพื่อช่วยในการพัฒนาและวางแผนสืบทอดตำแหน่งของบุคคลากร (development and succession planning) ในองค์กร โดยจะพิจารณาทั้งผลการปฏิบัติงานปัจจุบัน และศักยภาพการพัฒนาในอนาคตไปพร้อมกัน องค์กรทั้งหลายใช้เครื่องมือนี้ในการค้นหาผู้นำในอนาคตและพนักงานศักยภาพสูงตามแผนสืบทอดตำแหน่งงาน

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

9 Levels of Learning [Gagne]


ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอน

          Robert M. Gagne (1916 – 2002) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 1940 ระหว่างทำงานให้กับกองทัพอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง Gagne ได้วางรากฐานการสอนที่ดี (good instruction) และมาได้รับชื่อเสียงมากที่สุดจากหนังสือชื่อ The Conditions of Learning (1965) ในหนังสือดังกล่าว เขาได้กล่าวถึงสภาพจิตใจ (mental condition) ของผู้เรียนว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ลำดับการเรียนรู้ 9 ขั้นตอนของ Gagne เป็นข้อแนะนำที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ทุกประเภท แต่ที่ Gagne เน้นเป็นพิเศษในหนังสือของเขา คือการให้การฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งวิทยากรหรือผู้สอนสามารถใช้เป็น checklist ตรวจความพร้อมและการเตรียมการของตนก่อนเริ่มการฝึกอบรมหรือการสอน แต่ละขั้นจะเน้นรูปแบบการสื่อสารที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สามารถเก็บความรู้และทักษะที่เรียนรู้ (retain) ไว้กับตัวได้นานขึ้น และยังสามารถนำไปประยุกต์กับ Bloom Taxonomy เพื่อออกแบบการสอนที่น่าสนใจต่อการติดตามและการเรียนรู้ได้อีกด้วย

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

8-Step Change Model [Kotter]


 กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ใน 8 ขั้นตอน

          การปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง มักได้รับการต่อต้านจากผู้เกี่ยวข้อง แม้ทุกฝ่ายจะเข้าใจดีว่าการปรับตัวเป็นปัจจัยสำคัญต่อความยั่งยืนทางธุรกิจ แต่เมื่อใดที่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเข้ามากระทบสถานภาพที่เป็นอยู่ของตน การต่อต้านก็จะเกิดขึ้น จากผลการวิจัยที่ทำโดย Harvard Business Review พบว่ามากกว่า 60% ของความพยายามที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ต้องประสบความล้มเหลว

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

8 Ways to Improve Self-Regulation


แนวปฏิบัติ 8 ประการในการกำกับควบคุมตนเอง

          ในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิต เราทุกคนล้วนมีทางเลือกว่าจะรับมือกับมันอย่างไร อาจเป็นในเชิงบวกหรือในเชิงลบ แต่ถึงจะรู้อยู่แก่ใจว่า การรับมือหรือตอบโต้ในเชิงลบจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เราก็มักจะตอบโต้สถานการณ์ที่กดดันด้วยพฤติกรรมในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นการแผดเสียง การแสดงอาการโกรธจนหน้าแดงตัวสั่น บางครั้งถึงขั้นขว้างปาข้าวของหรือด่าทอด้วยคำหยาบคาย สาเหตุก็เพราะ พื้นฐานจิตใจของบุคคลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนามักจะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นฐานของความคิด เมื่ออารมณ์เข้าครอบงำการใช้เหตุผล สิ่งที่เป็นพื้นฐานของความคิดเหล่านั้นจึงถูกปลดปล่อยออกมา มากน้อยตามแรงกดดัน กว่าจะรู้สึกตัวหรือสงบสติอารมณ์ได้ พฤติกรรมทั้งหลายที่แสดงออกไปก็ส่งผลเสียทั้งต่อตนเอง บุคคลที่เกี่ยวข้อง และองค์กร ผลเสียที่ว่านั้นจะมีผลกระทบรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่าหากผู้นั้นอยู่ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กร

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564

8 Disciplines of Problem Solving

 

วินัยปฏิบัติ 8 ประการ
เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

          เรามักพบปัญหาในการทำงานทุกประเภท บางครั้งก็เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจนทำลายชื่อเสียงที่สั่งสมมาของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการลงอย่างน่าเสียดาย แนวทางการแก้ปัญหารูปแบบหนึ่งซึ่งผู้ดูแลงานด้านคุณภาพนิยมนำมาใช้กัน คือ วินัยปฏิบัติ 8 ประการเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน (8D หรือ 8 Disciplines) ซึ่งเน้นการทำงานเป็นทีม มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อค้นหา แก้ไข และกำจัดปัญหาที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

8 Dimensions of Quality [Garvin]

 


คุณสมบัติ 8 ประการของสินค้าและบริการ
ที่มีคุณภาพ

          ความพยายามในการกำหนดนิยามของ "สินค้าบริการที่มีคุณภาพ” ให้ชัดเจนว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ได้กระทำต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน นิยามที่ได้รับการยอมรับทั่วไปของคำว่า สินค้าที่มีคุณภาพ คือ สินค้าที่เป็นไปตามความคาดหมายของลูกค้า แม้จะพอเข้าใจได้เพราะเป็นการเน้นไปที่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจซื้อ แต่จุดอ่อนของคำนิยามนี้คือ เป็นการมองที่ผล จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าคาดหมายอะไร David A. Garvin ศาสตราจารย์แห่ง Harvard Business School ได้แสดงความเห็นไว้ในบทความชื่อ Competing on the Eight Dimensions of Quality ในวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1987 เน้นความสำคัญที่ฝ่ายบริหารของธุรกิจสหรัฐจะต้องมีมุมมองใหม่เกี่ยวกับการบริหารคุณภาพเชิงกลยุทธ์ กล่าวคือ ต้องเข้าใจว่าลูกค้าคิดอย่างไรเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าบริการแล้วใช้ความคิดนั้นเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ วิธีการคือ จะต้องแตกคุณภาพออกมาเป็นส่วน ๆ ที่สามารถเข้าใจและบริหารจัดการได้ แล้วจึงมากำหนดนิยามว่าแต่ละตลาดที่จะเข้าไปแข่งขันนั้นต้องการคุณภาพแบบใด

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

8 Common Goal Setting Mistakes


ความผิดพลาดพื้นฐาน 8 ประการในการกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคล

          บุคคลย่อมมีเป้าหมาย (personal goal) ในการดำเนินชีวิตของตน อาจเป็นปณิธานที่เก็บซ่อนไว้ในใจแต่ผู้เดียว, อาจเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเตือนตน, หรืออาจบอกคนใกล้ชิดให้เป็นพยานรับรู้ความตั้งใจดังกล่าว เป้าหมายเป็นทั้งเครื่องชี้ทิศทางและแรงจูงใจที่ผลักดันให้บุคคลยอมอดทนฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่มุ่งหวัง ส่วนเป้าหมายที่ไม่เคยพบความสำเร็จแม้จะได้ใช้ความพยายามไปมากมายเพียงใด ก็อาจเป็นสิ่งที่สร้างความผิดหวังให้กับชีวิตจนไม่อยากอยู่ร่วมในสังคมอีกต่อไป การกำหนดเป้าหมายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งความสำเร็จหรือล้มเหลว และเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องเรียนรู้ว่า อะไรคือความผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอยู่ในเป้าหมายของเรา

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

8 Causes of Conflicts [Bell and Hart]


สาเหตุ 8 ประการของความเครียดและความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน

          คำว่าสถานที่ทำงาน (workplace) มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นสถานที่ที่บุคคลทั้งหลายเข้ามาเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จ สร้างความก้าวหน้าให้กับบุคคล คณะบุคคล และองค์กร ไม่ใช่ที่ที่ใครจะมาสร้างความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร หรือแม้แต่กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ในทางปฏิบัติ ความขัดแย้งในที่ทำงานกลับเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปทุกแห่ง ส่งผลโดยตรงต่อความเครียดและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทำร้ายกันด้วยกำลังหรือคำพูด ขัดขวางการทำงานหรือกลั่นแกล้งผู้ที่ตนไม่พอใจ นักจิตวิทยาสองท่าน คือ Art Bell และ Brett Hart ได้ศึกษาความขัดแย้งและความเครียดในสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาโดยได้เขียนบทความหลายบทความในช่วงระหว่างปีค.ศ. 2000-2002 เกี่ยวกับมูลเหตุความขัดแย้งในสถานที่ทำงาน ทั้งสองท่านมีความเห็นพ้องกันว่า การแก้ปัญหาความเครียดและความขัดแย้ง ต้องแก้ที่สาเหตุหรือต้นเหตุจึงจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดและความขัดแย้ง การไปแก้ที่ตัวความขัดแย้งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุซึ่งมักไม่เกิดผล และที่สำคัญ เป็นการสายเกินไปเพราะได้ปล่อยให้ความเครียดหรือความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

7S Model [McKinsey]

 


องค์ประกอบภายในองค์กร
ซึ่งต้องทำให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน

          องค์กรทุกประเภทจำเป็นต้องปรับบทบาทและกลยุทธ์ของตนให้รับกับการผันผวนของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนแปลงจะส่งผลดีต่อองค์กรได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารขององค์กรรู้ว่าควรจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องใด อย่างไร จึงจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทั้งระดับบริหารและปฏิบัติ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

7 Types of Waste


ความสูญเปล่า 7 ประเภท
ในกระบวนการผลิต

          ความสูญเปล่า (Waste) ในบทความนี้หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรไปโดยไม่เกิดประโยชน์หรือคุณค่าใด ๆ แก่ผู้บริโภค เป็นค่าใช้จ่ายที่รวมอยู่ในต้นทุนของสินค้า ส่งผลให้กำไรของผู้ผลิตลดลงหรือราคาสินค้าสูงขึ้น โดยปกติแล้ว ไม่มีลูกค้าคนใดอยากจ่ายเงินให้กับความรู้สึกว่าสินค้านี้แพงเกินกว่าประโยชน์ที่ได้รับ การกำจัดความสูญเปล่าจึงช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนและปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น การลดหรือการกำจัดความสูญเปล่าจัดเป็นสาระสำคัญของการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Lean management) ซึ่งบริษัท Toyota ได้พัฒนาและนำมาใช้ปฏิบัติจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

7 Transformations of Leadership [Rooke and Torbert]


การปรับเปลี่ยนสู่สุดยอดความเป็นผู้นำ
ใน 7 ระดับ

          นักจิตวิทยาการบริหารสมัยใหม่ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้นำคนหนึ่งต่างจากผู้นำอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะบุคลิกภาพหรือรูปแบบการบริหาร แต่เป็นแนวคิดที่ต่างกันในการประเมินสภาพแวดล้อมและตอบสนองสิ่งท้าทาย David Rooke ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร และ William R. Torbert ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมในองค์กร ได้ร่วมกันเขียนบทความเรื่อง Seven Transformations of Leadership ลงพิมพ์ใน Harvard Business Review ฉบับเดือนเมษายน 2005 โดยไม่ได้เน้นปรัชญาภาวะผู้นำแบบใดเป็นการเฉพาะ แต่เน้นที่แนวคิดและพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ Rooke และ Torbert มั่นใจว่า การทำความเข้าใจและปรับปรุงแก้ไขแนวคิดของบุคคล จะช่วยเพิ่มทั้งความสามารถในการเป็นผู้นำและความสามารถโดยรวมขององค์กร

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564

7 Surprises for New CEOs [Michael Porter]

ความประหลาดใจ 7 เรื่องที่ CEO ป้ายแดง
ไม่ได้คาดคิดมาก่อน

          CEO ป้ายแดงที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งมักไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใดเขาจึงไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่สร้างความสำเร็จให้กับองค์กรได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้ง ๆ ที่เขาก็เป็นผู้บริหารสูงสุดที่ต้องรับผิดชอบกับสิ่งเหล่านั้น และทั้ง ๆ ที่เขามีอำนาจมากกว่าใครในองค์กรแต่ทำไมกลับไม่สามารถใช้มันได้อย่างเสรี พวกเขาเคยคิดว่าเมื่อไต่เต้าขึ้นสู่ความสำเร็จสูงสุดในหน้าที่การงานแล้ว จะนำประสบการณ์ที่สะสมมาทั้งชีวิตมาใช้ให้เต็มที่ แต่ก็ต้องประหลาดใจเมื่อได้พบว่างานและบทบาทของ CEO แตกต่างและซับซ้อนไปกว่าที่เขาเคยนึกไว้โดยสิ้นเชิง สาเหตุของข้อจำกัดเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ CEO มีเรื่องมากมายให้ต้องทำทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลและเวลาไม่พอ อีกส่วนหนึ่งมาจากการเข้ารับบทบาทใหม่ที่ไม่คุ้นเคยและลักษณะของงานที่เปลี่ยนไป มีความขัดแย้งในตัว (paradox) เช่น ยิ่งมีอำนาจมากก็ยิ่งใช้ยาก หรือมีประสบการณ์มากแต่ไม่มีอันไหนเลยที่มีประโยชน์ต่อตำแหน่ง CEO

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

7 Steps to Turn Your Dreams into Goals and Achieve Them



  การทำความใฝ่ฝันให้เป็นจริงใน 7 ขั้นตอน

          คนเรามักมีความใฝ่ฝันที่จะทำบางสิ่งซึ่งมีความหมายในชีวิตของตนให้สำเร็จ เช่น อยากเขียนหนังสือที่มีคนอ่านจำนวนมาก, เล่นเครื่องดนตรีที่ชื่นชอบเป็นพิเศษให้เก่งจนออกงานได้, ทำธุรกิจของตนเองให้มั่นคงมีกำไร, หรือประสบความสำเร็จถึงจุดสูงสุดในชีวิตการทำงาน แต่ความคิดฝันเหล่านั้น คิดอย่างไรก็คงจะอยู่อย่างนั้นไปจนกว่าจะเริ่มลงมือทำ เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไม่เริ่มที่จะทำอะไรก็มาจากการถอดใจและดูถูกตนเองตั้งแต่แรกว่าทำไปก็ไม่มีทางสำเร็จ โทษโชคชะตาฟ้าดินว่าไม่ประทานพรสวรรค์มาให้เหมือนคนอื่น วัน ๆ ได้แต่นั่งถอนใจ หงุดหงิดหัวเสีย ปล่อยตัวให้จมอยู่กับความสิ้นหวังและด่าทอโทษทุกสิ่งที่เกิดกับตนว่าเป็นชะตากรรมที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งก็มีความไฝ่ฝันที่จะเป็นโน่นเป็นนี่หรือทำโน่นทำนี่เช่นกัน แม้จะไม่ค่อยมั่นใจในความสำเร็จมากนัก แต่แทนที่จะงอมืองอเท้า พวกเขากลับเลือกที่จะรับผิดชอบชีวิตของตนเอง ไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตา

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

7 Signs of Ethical Collapse [Jennings]


 สัญญาณเจ็ดประการที่ชี้ความบกพร่อง
ทางจริยธรรมขององค์กร
          
          การล้มละลายและปิดกิจการของบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Enron, WorldCom, Tyco, Arthur Anderson, Health South ฯลฯ ได้เปิดประเด็นคำถามต่อผู้คนมากมายว่า ก่อนวันนั้นจะมาถึง มีสัญญาณบอกเหตุอะไรให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลายได้ทราบก่อนหรือไม่ว่า ความวิบัติกำลังจะเกิดขึ้นกับองค์กร ความสงสัยใครรู้นี้ชักนำให้ Marianne M. Jennings ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านจริยธรรมธุรกิจ Arizona State University ทำการศึกษาค้นคว้าหาสัญญาณบอกเหตุดังกล่าวโดยมีข้อสมมุติฐานว่าสาเหตุสำคัญมาจากความเสื่อมโทรมด้านจริยธรรมในการบริหาร Jenningsได้ทำ presentation ปัญหาด้านจริยธรรมของบริษัท เช่น General Electric, Merrill Lynch, AT&T, Arthur Anderson, United Health Group เมื่อครั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านการบริหารที่ W.P. Carey School of Business เมื่อปี ค.ศ. 2001 และนำจ้อสังเกตเหล่านั้นมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ The Seven Signs of Ethical Collapse (2006) ในหนังสือเล่มนี้ Jennings ได้ระบุพฤติกรรม 7 ประการที่เป็นความเสื่อมด้านจริยธรรมภายในองค์กรซึ่งเป็นทั้งมูลเหตุและสัญญาณบอกเหตุที่สำคัญของความล่มสลายทางธุรกิจ วัตถุประสงค์หลักของหนังสือ เพื่อให้ผู้บริหาร พนักงาน นักวิเคราะห์ และนักลงทุน ได้นำไปใช้สังเกตและประเมินความเสื่อมโทรมทางจริยธรรมในการทำงานซึ่งหากปล่อยให้ดำเนินต่อไปอย่างไร้การควบคุม ย่อมส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

7 Habits of Highly Effective People [Stephen Covey]

 


อุปนิสัย 7 ประการของผู้ประสบความสำเร็จ

          Stephen R. Covey เขียนหนังสือชื่อ 7 Habits of Highly Effective People (1989) หรือ อุปนิสัย 7 ประการของผู้ประสบความสำเร็จด้วยความเชื่อว่า ความคิดเห็นที่เรามีต่อสิ่งใด ล้วนเป็นผลมาจากการรับรู้ (perception) ของเราที่มีต่อสิ่งนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นกับตัวเรา จะต้องเปลี่ยนที่การรับรู้ของเราเอง การที่บุคคลจะมีการรับรู้ที่ถูกต้องจะต้องฝึกฝนการค้นพบและควบคุมตนเอง ทำงานร่วมกับคนอื่นแบบเป็นทีมงานที่ชนะด้วยกันทุกฝ่าย และพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นนิสัย หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มียอดขายตั้งแต่จัดพิมพ์ครั้งแรกถึง 25 ล้านเล่ม

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

7 Domains Model [Mullins]

คำถาม 7 หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน
โอกาสความสำเร็จทางธุรกิจ

          John Mullins ศาสตราจารย์ประจำ Entrepreneurship Faculty, London Business School เป็นผู้พัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า The Seven Domains Model และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ The New Business Road Test (2003) แนะนำให้ผู้ประกอบการทดสอบโอกาสความสำเร็จของธุรกิจเริ่มต้น (startup) รวมถึงการออกสินค้าหรือโครงการใหม่ ด้วยการตอบคำถามซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดและอุตสาหกรรมทั้งระดับมหภาค จุลภาค รวมถึงความพร้อมของผู้บริหารและทีมงานในการบริหารและแก้ไขปัญหา รวมทั้งหมด 7 หัวข้อ (domain) การตอบคำถามเหล่านี้ จะต้องตอบอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริง ในกรณีที่คุณพบว่าไม่มีหรือไม่รู้ข้อมูลในเรื่องใด นั่นคือเครื่องชี้ว่าคุณต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนั้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจโดยใช้เพียงอุปาทานความเชื่อส่วนตัว ความผิดพลาดในจุดเริ่มต้นอาจส่งผลต่อความล้มเหลวผิดพลาดได้ทั้งธุรกิจ

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564

7 Deadly Diseases of Management [Deming]


ปัญหา 7 ประการที่เป็นอุปสรรค
กีดขวางความสำเร็จขององค์กร

          William Edwards Deming นักสถิติและที่ปรึกษาด้านการบริหาร ผู้ได้รับการยกย่องเป็นกูรูด้านการบริหารงานคุณภาพ ได้เขียนแนวคิดที่สำคัญไว้สามเรื่อง คือ “14 Points for Management” เพื่อเสนอปรัชญาการบริหารงานคุณภาพตามหลักสถิติ, Plan-Do-Check-Act เพื่อเสนอวงจรการบริหารงานคุณภาพ, และ “7 Deadly Diseases of Management” เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาร้ายแรงเจ็ดประการซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จขององค์กร